เมนู

อรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตร



จูฬตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในข้อว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ
ปาสาเท
ได้แก่ปราสาทของมิคารมารดาในวิหาร ชื่อว่า บุพพาราม. ในข้อ
นั้น มีการพรรณนาความตามลำดับดังต่อไปนี้. -
ครั้งอดีตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปป์ มีอุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์พระผู้
มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระแล้ว ถวายทานแสนหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหมอบลงใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค
เจ้า ทำการปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้าเป็นอัคคอุปัฏฐายิกา
ของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ ดังนี้. เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนแห่งกัปป์แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนทวี
ในเรือนเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะในภัททิยนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย. ในเวลาคลอด พวกญาติได้ตั้งชื่อเขาว่าวิสา-
ขา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังภัททิยนคร นางวิสาขานั้นพร้อม
ด้วยเหล่าทาริกา 500 ได้ทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เป็นพระ
โสดาบันในการเห็นครั้งแรกทีเดียว. ในกาลอื่นอีกนางไปสู่เรือนของปุณณ-
วัฑฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ในที่นั้น มิคารเศรษฐีได้
ตั้งนางไว้ในตำแหน่งแห่งมารดา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคารมารดา.
ก็เมื่อนางจะไปสู่ตระกูลสามี บิดาของนางได้ให้ทำเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดา
ให้. เครื่องประดับนั้นประกอบไว้ด้วยเพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11
ทะนาน แก้วประพาฬ 22 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน เครื่องประดับ
นั้นสำเร็จแล้วด้วยรัตนะเหล่านี้ และด้วยรัตนะอื่นมีวรรณะ 7 ด้วยประการ
ฉะนี้. เครื่องประดับนั้นสวมศีรษะยาวพาดไปถึงหลังเท้า. ก็หญิงผู้มีกำลังถึง

ช้างพลาย 5 เชือก จึงสามารถประดับได้ ครั้นต่อมา นางได้เป็นอัคคอุปัฏฐา-
ยิกาของพระทศพล สละเครื่องประดับนั้นสร้างวิหารเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยทรัพย์ 9 โกฏิ ให้ทำปราสาทพื้นที่ประมาณหนึ่งกรีส. ประดับด้วยห้อง
พันหนึ่ง คือ ชั้นบนของปราสาทนั้น มี 500 ห้อง ชั้นล่างมี 500 ห้อง. นาง
วิสาขานั้นคิดว่า ปราสาทล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่งาม จึงให้สร้างเรือนทวิกูฏะ
500 จุลลปราสาท 500 ห้อง. ศาลาทีปฆระ 500 แวดล้อมปราสาท
ใหญ่นั้น ได้ทำการฉลองวิหาร 4 เดือน.
ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ในพระพุทธศาสดาของหญิงอื่นเหมือนนาง
วิสาขา ผู้ดำรงอยู่ในอัตตภาพแห่งมาตุคาม มิได้มี. ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ไว้
ในพระพุทธศาสนาของบุคคลอื่นเหมือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ตั้งอยู่ในอัตต
ภาพแห่งบุรุษ ก็ไม่มี. จริงอยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ 54 โกฏิ
สร้างมหาวิหารชื่อว่า เชตวัน เช่นกับมหาวิหารของอนุราธบุรี ในที่ส่วน
อันมีในทิศทักษิณแห่งพระนครสาวัตถี. นางวิสาขา สร้างวิหารชื่อว่า
บุพพาราม ในที่เช่นกับเทววิมานอันยอดเยี่ยม ในส่วนแห่งทิศปาจีน แห่งพระ
นครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่เพื่อ
อนุเคราะห์ตระกูลทั้งสองเหล่านี้ จึงได้ประทับอยู่ในปราสาททั้งสองเหล่านี้
เนืองนิตย์. คือว่า ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในพระเชตวัน พรรษา
หนึ่ง ประทับอยู่ในบุพพาราม. แต่ในสมัยนั้น ประทับอยู่ในบุพพาราม.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ดังนี้.
บทว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร. บทว่า สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความ
ว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ชื่อว่า น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
เพราะความที่ภิกษุนั้นมีจิตน้อมไปกระทำข้อปฏิบัตินั้นเป็นไปใน
อารมณ์นิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพทูล

ว่า ขอพระองค์จงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้มีอาสวะนั้น
แล้ว ด้วยข้อปฏิบัติโดยย่อที่น้อมไปเพื่อความสิ้นตัณหา. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺ-
โฐ
ความว่า ล่วงส่วนกล่าวคือสิ้นและเสื่อม ชื่อว่า อัจจันตนิฏฐะ เพราะ
มีความสำเร็จล่วงส่วนๆ อธิบายว่า สำเร็จล่วงส่วน คือสำเร็จเนืองๆ.บท
ว่า อจฺจนฺตโยคกฺเขมี ความว่า มีความปลอดโปร่งจากิเลสเป็นเครื่องประ
กอบล่วงส่วนเนื่องๆ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี ได้แก่ เป็นพรหมจารีเป็นนิตย์.
ชื่อว่า อัจจันตปริโยสาน โดยนัยก่อนเพราะมีจบลงล่วงส่วน. บทว่า เสฏฺ-
โฐ เทวมนุสฺสานํ
ได้แก่ ประเสริฐสุด คือ สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้ง
หลาย. อธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภิกษุเห็นปานนี้ย่อมเป็นผู้มีข้อปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร. ขอพระองค์
ตรัสบอกข้อปฏิบัติโดยย่อของภิกษุนั้นเร็วพลันเถิด. ถามว่า ก็เพราะเหตุ
ไร ท้าวสักกะจอมเทพนั้น จึงปรารถนาความรีบเร่งอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะ
ทรงประสงค์จะไปเล่นกีฬา. ได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น รับสั่งการเล่น
กีฬาในอุทยานแล้วให้มหาราชทั้ง 4 อารักขาใน 4 ทิศ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพ
แวดล้อมแล้ว เทวโลกทั้งสอง ทรงช้างเอราวัณกับนางฟ้อน 2 โกฏิครึ่ง
ประทับอยู่ที่ประอุทยาน กำหนดปัญหานี้ว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่
บุคคลพึงบรรลุของพระขีณาสพผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา โดยย่อมี
เท่าไรหนอ. ทีนั้น ท้าวเธอได้มีความดำริว่า ปัญหานี้เป็นไปกับด้วยศิริยิ่ง
นัก ถ้าเราไม่ได้เรียนเอาปัญหานี้แล้ว จักเข้าไปยังอุทยานไซร้ ถูกอารมณ์อัน
เป็นไปในทวารทั้ง 6 ย่ำยีแล้ว จักกำหนดปัญหานี้อีกไม่ได้ การเล่นกีฬาใน
อุทยานงดไว้ก่อนเถิด เราจะไปสำนักของพระศาสดาทูลถามปัญหานี้ เรา
เรียนปัญหานี้แล้ว จักเล่นกีฬาในอุทยานดังนี้ แล้วหายไปในที่คอแห่งช้าง
ได้ปรากฏในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท้าวมหาราชทั้ง 4 แม้เหล่านั้นก็
อารักขายืนอยู่ในที่ประทับตรงนั้นแหละ หมู่ทวยเทพผู้บำเรอก็ดี นางฟ้อนทั้ง


หลายก็ดี ช้างเอราวัณก็ดี นาคราชก็ดี ได้ยืนอยู่ที่ประตูทวารนั้นนั่นแหละ.
ท้าวสักกะจอมเทพนั้น เมื่อมีความปรารถนาโดยเร็ว เพื่อประสงค์จะเล่นกีฬา
ด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนั้น.
บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ 5 อายตนะ
12 ธาตุ 18 ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือ
ไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบได้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหา
และทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอา
ได้. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ 5 เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของ
เที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่า
นั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะ
ฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น. บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วย
ญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ได้
แก่ ย่อมกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า
ยํ กิญฺจิ เวทน ได้แก่ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย โดยที่
สุดแม้สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงการกำ
หนดอรูปธรรม อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเวทนาแก่ท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยบทนี้. ก็ถ้าว่า เวทนากัมมัฏฐานเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ได้ตรัสไว้ในหนหลังไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวไว้ในที่นี้. แต่ว่ากัมมัฏฐานนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น พึงทราบเวทนากัมมัฏฐาน
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐาน.
ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้พึงทราบว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนิจจานุ
ปัสสนา และอนิจจานุปัสสี. ในที่นี้มีอธิบายว่า ในบรรดาบทเหล่านั้น ได้แก่
เบญจขันธ์ ชื่อว่า อนิจจัง จริงอยู่ เบญจขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นของไม่
เที่ยง เพราะอรรถว่า มีความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไป. ความเห็นความรู้

เบญจขันธ์ทั้งหลาย โดยความสิ้น ไปเสื่อมไป ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา. บุคคล
ผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี. เพราะฉะนั้น บทว่า อนิจฺจา-
นุปสฺสี วิหรติ
ได้แก่ เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง.
ในบทว่า วิราคานุปสฺสี ได้แก่ วิราคะ 2 อย่างคือ ขยวิราคะ อัจจันต-
วิราคะ.. ในสองบทนั้น วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความสิ้น
ไป เสื่อมไป ชื่อว่า ขยะวิราคะ. ฝ่ายมรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพานอัน
เป็นอัจจันตวิราคะโดยวิราคะ ชื่อว่า วิราคานุปัสสนา บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
วิราคะทั้งสองนั้น ชื่อว่า วิราคานุปัสสี. บทว่า วิราคานุปสสฺสี ท่านกล่าว
หมายถึงบุคคลนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้ตามเห็นอยู่โดยความเป็นวิราคะ. แม้
ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้นิโรธก็มี 2 อย่าง
เหมือนกันคือ ขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ.
โวสัคคะ (การสละแล้ว) ท่านเรียกว่า การสละคืน ในบทว่า ปฏิ-
นิสฺสคฺคานุปสฺสี
นี้. ก็โวสสัคคะ มี 2 คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ปักขันทนโวส
สัคคะ. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะว่า
วิปัสสนานั้น ย่อมสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งตทังคะ.
มรรคชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ เพราะมรรคนั้นย่อมแล่นไปสู่นิพพานโดย
อารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การสละด้วยเหตุแม้ทั้งสอง คือเพราะการสละขันธ์ทั้ง
หลาย กิเลสทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทะและเพราะการแล่นไปใน
นิพพาน ฉะนั้นชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะอรรถว่าสละกิเลสทั้งหลาย
และขันธ์ทั้งหลาย นิโรธชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ เพราะอรรถว่า จิตย่อม
แล่นไปในนิพพานธาตุ. ทั้งสองนั้นย่อมเสมอกันในมรรค บุคคลผู้พรั่งพร้อม
ด้วยโวสสัคคะ. แม้ทั้งสองนั้นชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี เพราะความที่บุคคลนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็น โดยการสละคืนนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาคำที่กล่าวนั้น จึงตรัสว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี.

บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ ไม่ลูบ
คลำธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง อันถึงความเป็นสังขาร ด้วยอำนาจแห่งตัณหา
ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดถือ จึงไม่สะดุ้งเพราะความ
สะดุ้งด้วยตัณหาทั้งหลาย ย่อมดับไปเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้นจึงชื่อว่า ย่อมดับ
ด้วยการดับกิเลสเองทีเดียว. ปัจจเวกขณะของพระขีณาสพนั้นแหละ ท่าน
แสดงไว้ด้วย บทว่า ขีณา ชาติ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันท้าวสักกะ
จอมเทพทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพโดยย่อ
ทรงกระทำให้เบาพระทัยพร้อมตรัสตอบปัญหาโดยย่อเร็วพลัน ด้วยประการ
ฉะนี้.
บทว่า อวิทูเร นิสินฺโน โหติ ความว่า พระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ใน
กูฏาคารถัดไป. บทว่า อภิสเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อมด้วยญาณ อธิบาย
ว่า รู้แล้ว. มีอธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรู้ปัญหาแล้วจึงยินดีหรือ หรือ
ว่า ไม่รู้แล้วสั่นศีรษะ เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้มีความคิดอย่างนี้ได้ยิน
ว่า พระเถระไม่ได้ยินเสียงแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ได้ยินเสียง
อนุโมทนาของท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็น
อย่างนั้นๆ ดังนี้. นัยว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงอนุโมทนาด้วยเสียงอัน
ดัง. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงไม่ได้ยินเสียงพระผู้มีพระภาค
เจ้า. ตอบว่า เพราะยังบริษัทให้รู้. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง
แสดงธรรมอยู่ อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาล ย่อมได้ยินพระสุรเสียงเป็นอัน
เดียวกัน. แต่เลยที่สุดแห่งบริษัทแล้ว พระสุรเสียงจะไม่แผ่ไปในภายนอกแม้
สักองคุลี เพราะเหตุไร มธุรกถาเห็นปานนี้ จึงไม่มีประโยชน์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในห้องอันเป็นศิริ ในกูฏาคาร
อันสำเร็จแล้ว ด้วยแก้ว 7 ประการ บนปราสาทของมิคารมารดา กูฏาคาร
อันเป็นที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระ อยู่ข้างขวา ของพระมหาโมคคัลลานะ

เถระ อยู่ข้างซ้าย ไม่มีช่องว่างติดต่อในภายใน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่
ได้ยินเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินแต่เสียงของท้าวสักกะจอมเทพเท่า
นั้น.
บทว่า ปญฺจหิ ตุริยสเตหิ ได้แก่ ดนตรีประกอบด้วยองค์ 5 มีประ
มาณห้าร้อย. เครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้คือ อาตตํ กลองหุ้ม
หนังหน้าเดียว, วิตตํ คือตะโพน, อาตตวิตตํ คือ บัณเฑาะว์. สุสิรํ คือ ปี่หรือ
สังข์เป็นต้น และฆนํ คือ ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ดนตรีประกอบด้วยองค์ 5. ใน
เครื่องดนตรีเหล่านั้น ในบรรดากลองทั้งหลายมีกลองที่หุ้มหนังหน้า
เดียว ชื่อว่า อาตตะ.. กลองที่หุ้มหนังสองหน้า ชื่อว่า วิตตะ...กลองที่หุ้มด้วย
หนังทั้งหมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ชื่อว่า อาตตวิตตะ. เครื่องเป่ามีปี่เป็น
ต้น ชื่อว่า สุสิระ. ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ฆน.
บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมงฺคีภูโต เป็นคำไวพจน์
ของ สมปฺปิโตนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปริจาเรติ ได้แก่ เสวยอยู่ซึ่งสมบัติ ให้บำ
เรออินทรีย์ทั้งหลายจากสมาบัตินั้นๆ อธิบายว่า ประกอบด้วยดนตรีห้าร้อย
บำรุงบำเรออยู่ เสวยอยู่ซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวา ได้แก่ ให้หยุด
เสีย คือทำไม่ให้มีเสียงดนตรี. เหมือนอย่างว่า ในบัดนี้ พระราชาทั้งหลายผู้
มีศรัทธาทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง จึงตรัสว่า
พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้นมา พวกเธอทั้งหลายอย่าให้ขับร้อง อย่าประโคมดนตรี
อย่าฟ้อนรำ แล้วให้งดการแสดงเสีย ฉันใด แม้ท้าวสักกะทอดพระเนตร
เห็นพระเถระก็ได้กระทำ ฉันนั้น.
บทเห็นปานนี้ว่า จิรสฺสํ ข มาริส โมคฺคลฺลาน อิมํ ปริยายมกาสิ
เป็นคำร้องเรียกด้วยวาจาเป็นที่รักโดยปกติในโลก. จริงอยู่ชาวโลกเห็นผู้ที่มา
นานแล้วบ้าง ไม่เคยมาบ้าง มาในชาติของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ พากันถามเป็น
ต้นว่า ท่านมาจากไหนขอรับ มานานแล้วหรือ ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่าง

ไร ท่านหลงทางมาหรือเปล่า. แต่ท้าวสักกะ ก็ตรัสอย่างนี้กะท่านพระมหา
โมคคัลลานะเถระ เพราะเคยมาแล้ว. จริงอยู่ พระเถระย่อมเที่ยวจาริกไปใน
เทวโลกตลอดกาลทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยายมกาสิ แปล
ว่าได้กระทำวาระ. บทว่า ยทิทํ อิธาคมนาย มีอธิบายว่า วาระเพื่ออันมาใน
ที่นี้ อันใด ได้ทำวาระนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า อิทมาสนํ ปญฺญตฺตํ ความ
ว่า ท้าวสักกะปูบัลลังก์แก้วมณีโยชน์หนึ่ง จึงตรัสอย่างนี้ดังนี้.
บทใน พหุกิจฺจา พหุกรณียา นี้ ความว่า กิจทั้งหลายของชนเหล่าใด
มาก ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มีกิจมาก. บทว่า พหุกรณียา นี้ เป็นคำไวพจน์ของ
บทว่า พหุกิจฺจา นั้นนั่นเอง. บทว่า อุปฺเปว สเกน กรณีเยน ได้แก่ กรณียกิจ
ของตนนั่นแหละ. ก็กรณียกิจของสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของ
เทวดาทั้งหลายมีมาก จริงอยู่ คดีความตั้งแต่พื้นดินไป เพื่อต้องการต้นกัลป-
พฤกษ์ และมาตุคามเป็นต้น ย่อมตัดสินในสำนักของท้าวสักกะ เพราะ
ฉะนั้น เมื่อท้าวเธอกำหนดอยู่ จึงตรัสว่า มีกรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้น
ดาวดึงส์อีก ดังนี้. แท้จริง ธิดาและบุตรย่อมเกิดขึ้นที่ตักของเทวดาทั้งหลาย
หญิงผู้เป็นบาทบริจาริกาย่อมเกิดขึ้นในที่นอน ผู้ประดับตกแต่งเทวดาเหล่า
นั้น ก็เกิดแวดล้อมที่ตนของเทพธิดา ผู้ช่วยเหลือกิจการงานทั้งหลายเกิดขึ้น
ภายในวิมาน จึงไม่มีคดีความเพื่อต้องการสิ่งเหล่านั้น แต่ว่า มาตุคามเหล่านั้น
ใดย่อมเกิดขึ้นในระหว่างเขตแดน เขาไม่สามารถตัดสินว่า มาตุคามเหล่านั้น
เป็นสมบัติของเราหรือว่าของท่าน เมื่อจะทำคดีจึงทูลถามท้าวสักกะ
เทวราช. ท้าวสักกะเทวราชนั้นย่อมตรัสว่า วิมานของผู้ใดอยู่ใกล้กว่าก็เป็น
สมบัติของผู้นั้น. ถ้าว่า วิมานแม้ทั้งสองมีอยู่ในระหว่างเท่ากัน ท้าวสักกะก็จะ
ตรัสว่า ผู้ที่เกิดมานั้นยืนแลดูวิมานของผู้ใดก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าไม่แลดู
แม้สักวิมานเดียว เพื่อต้องการตัดการวิวาทของเทวดาทั้งหลายนั้น ก็กระทำ
มาตุคามนั้นให้เป็นสมบัติของพระองค์เอง. ท้าวสักกะจอมเทพตรัสคำว่า มี

กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ หมายเอาคำที่กล่าวแล้วนั้น อีก
อย่างหนึ่ง แม้กิจคือการเล่นในอุทยานเห็นปานนี้ก็เป็นกรณียกิจของท้าว
สักกะเหมือนกัน.
บทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนฺตรธายติ ความว่า คำใดที่ข้าพเจ้าฟัง
แล้ว คำนั้นหายไปแล้วเร็วพลัน เหมือนรูปไม่ปรากฏในที่มืด คือว่า ท้าว
สักกะจอมเทพนั้น ย่อมแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมกำหนดไม่ได้ถึง
การแก้ปัญหานั้น ด้วยบทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนุตรธายติ นี้. พระเถระ
พิจารณาอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท้าวสักกะนี้จักแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้กำ
หนดไม่ได้ ทราบว่า จะรักษาประโยชน์อันเป็นส่วนข้างตนไว้ ขึ้นชื่อว่า
พวกเทพย่อมเป็นผู้หลงลืม ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง 6 บีบคั้น
อยู่ ย่อมไม่รู้แม้ความที่ตนเป็นผู้บริโภคแล้วหรือยังไม่บริโภค ย่อมไม่รู้
แม้ความที่ตนเป็นผู้ดื่มแล้วหรือยังไม่ได้ดื่ม จักหลงลืมกิจอันตนกระทำแล้ว
ในที่นี้ ดังนี้.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ควรเคารพ ควรยกย่อง
ของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนั้น ด้วยเกรงกลัวพระเถระ
จะพึงคุกคามเราอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท้าวสักกะเรียนปัญหาในสำนักของบุคคลผู้
เลิศในโลกมาแล้ว บัดนี้ก็เข้าไปสู่ระหว่างนางฟ้อนรำทั้งหลาย ดังนี้. ก็ขึ้นชื่อ
ว่า ความพิศวงอย่างนี้ มีอยู่. ชื่อว่า ความพิศวง เห็นปานนี้ของพระอริยสาวก
ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น กำหนด
ไม่ได้สลัวด้วยความเป็นผู้หลงลืม. ถามว่า เพราะเหตุไร ในภายหลังจึงกำหนด
ได้เล่า. ตอบว่า เพราะพระเถระได้ยังความโสมนัส และความสังเวชให้เกิดแก่
ท้าวเธอแล้วนำควานมืดออกไป จึงกำหนดได้.
บัดนี้ ท้าวสักกะเพื่อจะบอกเหตุอันน่าพิศวงอย่างหนึ่งของตนในกาล
ก่อนแก่พระเถระ จึงตรัสคำว่า ภูตปุพพํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บท

ว่า สมุปพฺยฺฬโห แปลว่า ประชิดกันแล้ว คือเป็นกองทัพ. บทว่า อสุรา
ปรายึสุ
ได้แก่ พวกอสูรถึงความปราชัย. ถามว่า ก็พวกอสูรเหล่านั้น ถึง
ความปราชัยในกาลไร. ตอบว่า ในกาลที่ท้าวสักกะทรงอุบัติขึ้น.
ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพ เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม
ชื่อว่า มาฆะในบ้าน อจลคาม ในมคธรัฐ ในอัตตภาพถัดไป ความประพฤติ
ของเขาได้เหมือนความประพฤติของพระโพธิสัตว์. นายมฆะมาณพ
นั้นพาเอาบุรุษ 33 คนให้สร้างความดี. วันหนึ่งเขาใคร่ครวญด้วยปัญญา
ของตนแล้วขนขยะทั้งสองข้างในที่มหาชนประชุมกัน ในท่ามกลาง
บ้านออกไป ได้กระทำที่นั้นให้เป็นที่รื่นรมย์ ได้สร้างมณฑปในที่นั้นนั่นแหละ
อีก เมื่อกาลผ่านไปก็สร้างศาลาอีก เขาออกจากบ้านเที่ยวไปพร้อมกับ
สหายเหล่านั้น ได้กระทำที่อันไม่เสมอกันให้เสมอกัน มีประมาณคาวุตหนึ่ง
บ้าง ครึ่งโยชน์บ้าง สามคาวุตบ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง ชนทั้งหมดแม้เหล่า
นั้น มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน เมื่อจะสร้างสะพานในที่ควรสร้างสะพาน
สร้างมณฑปเป็นต้น ในที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณีและปลูก
ไม้ดอก ไม้กอเป็นต้น ได้กระทำบุญเป็นอันมาก. นายมฆะมาณพได้บำเพ็ญ
วัตตบท 7 ประการ ครั้นถึงแก่กรรมย่อมไปบังเกิดในภพดาวดึงส์พร้อมกับ
สหาย. ในกาลนั้น พวกอสูรอาศัยอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก. พวกอสูรเหล่านั้น
ทั้งหมดมีอายุและวรรณะเสมอเทพทั้งหลาย พวกเขาเห็นท้าวสักกะพร้อมทั้ง
บริษัทเพิ่งเกิดขึ้น จึงคิดว่า พวกเทวบุตรใหม่มาแล้ว จึงจัดแจงน้ำมหาปานะ
มาต้อนรับ. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาคือบอกอุบายแก่เทวบุตรทั้งหลายว่า
พวกเรากระทำกุศล แต่ไม่ได้กระทำกุศลทั่วไปร่วมกับชนเหล่าอื่น พวกท่าน
อย่าดื่มน้ำ คัณฑบาน จงทำเพียงดื่มเท่านั้นดังนี้. พวกเขาได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น พวกอสูรโง่พากันดื่มน้ำคัณฑบานเมาแล้วหลับไป. ท้าวสักกะให้
สัญญาแก่พวกเทพแล้วพากันจับเท้าพวกอสูรขว้างไปยังเชิงเขาสิเนรุ. เพราะ

ว่า พิภพของอสูรมีอยู่ ณ พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ มีประมาณเท่าดาวดึงส์
เทวโลกทีเดียว. พวกอสูรอยู่ในที่นั้น มีต้นไม้ของพวกอสูร ชื่อว่า จิตตปาฏลิ
(ต้นไม้ประจำอสูรพิภพ). พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมรู้ได้ในเวลาที่ต้นจิตตปาฏลิ
บานว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้ประจำภพดาวดึงส์ พวกเราถูกท้าวสักกะลวง
แล้ว. พวกเขากล่าว่า พวกท่านจงจับท้าวสักกะนั้น ดังนี้ แล้วคุ้มครองรักษา
เขาสิเนรุอยู่ ครั้นเมื่อฝนตกแล้ว ก็พากันขึ้นไปเหมือนตัวปลวกออก
ไปจากจอมปลวก. ในการรบกันนั้น บางคราวพวกเทพชนะ บางคราวพวก
อสูรชนะ. เมื่อใดพวกเทพชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกอสูรไปจนถึงหลัง
สมุทร. เมื่อใด พวกอสูรชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกเทพไปจนถึงชาน
ชาลา(คือนอกกำแพงเมือง).แต่ว่าในการรบนั้น พวกเทพชนะ .พวกเทพจึง
ตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. ท้าวสักกะยังพวกอสูรให้หนีไปแล้ว
จึงตั้งอารักขาไว้ในที่ 5 แห่ง. ได้ให้อารักขาอย่างนี้ ทรงตั้งรูปเหมือนพระอินทร์
มีมือถือวชิระ ณ เชิงชาน. อสูรทั้งหลายยกกันมาทีไร ก็เห็นรูปเปรียบ
พระอินทร์นั้น จึงพากันกลับแต่ที่นั้นนั่นแหละ. ด้วยสำคัญว่า ท้าวสักกะ.
ไม่ประมาทประทับยืนอยู่ดังนี้.
บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่อันท้าวสักกะนั้นชนะ
แล้ว. บทว่า ปริจาริกาโย แปลว่า นางอัปสรทั้งหลาย ได้แก่ นางผู้ทำกิจการ
งานทั้งหลาย มีการทำพวงดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า เวสฺสวโณ
จ มหาราช
ความว่า ได้ยินว่า ท้าวเวสสวัณนั้นเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้
คุ้นเคยมากของท้าวสักกะ. เพราะฉะนั้น จึงได้ไปกับท้าวสักกะ.
บทว่า ปุรกฺขตฺวา คือ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า ปวิสึสุ ความ
ว่า ก็เทพธิดาผู้บำเรอท้าวสักกะเหล่านั้น เข้าไปสู่ห้องแล้วปิดประตูไว้ครึ่ง
หนึ่ง ยืนแลดูอยู่. บทว่า อิทมฺปิ มาริส โมคฺคลฺลาน ปสฺส เวชยนฺตปา-
สาทสฺส รามเณยฺยกํ
ความว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอท่าน

จงดูสถานที่เป็นที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ คือว่า จงดูรูปสัตว์ร้าย
ที่เสาทอง เสาเงิน เสาแก้วมณี เสาแก้วประพาฬ เสาแก้วทับทิม เสาแก้ว
ลาย เสาแก้วมุกดา เสารัตนะ 7 ประการเป็นแท่งอันสำเร็จด้วยทองเป็น
ต้น ของเสาเหล่านั้นทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดง
สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์กระทำถ่องแถวแห่งเสาด้วยอาการอย่างนี้ให้เป็น
ต้น จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า ยถาตํ ปุพฺเพ กตปุญฺญสฺส อธิบายว่า สถานที่ของบุคคลผู้มี
บุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน พึงงามด้วยการตั้งไว้ซึ่งเครื่องอุปโภค ฉัน
ใด ของท้าวสักกะก็ย่อมงามฉันนั้นเหมือนกัน.บทว่า อติพาฬฺหํ โข อยํ
ยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ
ความว่า ท้าวสักกะนี้ มัวเมายิ่งนักด้วยปราสาท
ด้วยนักฟ้อนเป็นบริวาร ด้วยสมบัติ ด้วยยศของตน. บทว่า อิทฺธาภิสํขารํ
อภิสํขาเรติ
คือว่า ได้กระทำอิทธิ. อธิบายว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระเข้า
อาโปกสิณแล้วอธิฐานว่า ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาท จงเป็นน้ำ
แล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท. ปราสาทนั้น สั่นสะท้านหวั่นไหว
ไปมา เหมือนบาตรตั้งไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตรก็หวั่นไหว
ไปมา ตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น. วัตถุทั้งหลาย มีหลังเสาเขื่อน ช่อฟ้า จันทันเป็นต้นส่ง
เสียงดังกระกระ ราวกะเริ่มเพื่อจะตกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สํกมฺเปสิ สมฺปกมฺเปสิ สมฺปเวเธสิ ดังนี้.
บทว่า อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ มีความอัศจรรย์ไม่เคยมี เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า โอหนอ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา และมีความยินดี คือมีโสมนัส
ที่มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า สํวิคฺคํ ได้แก่ ตกใจกลัวแล้ว คือหวั่นไหว
แล้ว. บทว่า โลมหฏฐชาตํ ได้แก่ ขนชูชันขึ้น คือ มีสรีระสะพรั่งด้วยขนทั้ง
หลายตั้งขึ้นไปเบื้องบน เหมือนขอแขวนแก้วมณีที่เขาติดตั้งไว้ที่ฝาเรือน

ทอง. อนึ่ง ชื่อว่า ขนชูชันนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยโสมนัสบ้าง ด้วยโทมนัสบ้าง.
แต่ในที่นี้ เกิดขึ้นด้วยความโสมนัส. นัยว่า พระเถระได้ทำปาฏิหาริย์นั้น
เพื่อให้ท้าวสักกะเกิดความสังเวชด้วยความโสมนัสและความสลดใจ.เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบอรรถว่า พระมหาโมคคัลลานเถระนั้นรู้ว่าท้าวสักกะจอม
เทพนั้น มีความสลดจิตขนลุกแล้ว ด้วยความโสมนัสและความสลดใจ ดัง
นี้.
บทว่า อิธาหํ มาริส ความว่า บัดนี้ พระเถระยังโสมนัสและความ
สลดจิตของท้าวสักกะให้เกิดขึ้น ทำลายความมืดได้แล้ว เพราะฉะนั้น
กำหนดได้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า เอโส นุ เต มาริส โส ภควา สตฺถา ความว่า เมื่อนาง
เทพอัปสรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จไปไหน ท้าวสักกะ
ตรัสตอบว่า ไปสำนักของพระศาสนาของเรา พระองค์ตรัสอย่างนี้
ราวกะที่นั้นตั้งอยู่พื้นเดียวกันกับเทวโลกนี้. ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ พระสมณะนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสนาของพระองค์หรือ
หนอ. ในบทว่า สพฺรหฺมจารี เม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็น
บรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เป็นพระอัครสาวก แต่ท้าวสักกะเป็น
ผู้ครองเรือน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารีด้วยอำนาจ
แห่งมรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า
อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึง
อย่างนี้. พวกนางปริจาริกา ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์
ของพระศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่. บทว่า ญาตญฺญตรสฺส ความ
ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ปรากฏ จริงอยู่บรรดาผู้ที่ปรากฏมีชื่อเสียงทั้งหลาย ท้าวสัก-

กะเป็นผู้หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดเจนแล้ว พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ 7

8. มหาตัณหาสังขยสูตร


[440] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อสาติผู้
เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้
ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่น
แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น.
ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามก
เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหา
สาติภิกษุแล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ.
เธอตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่น
ไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง.
ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐิ
นั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่าง
นี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ
วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดย
ปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.