เมนู

อรรถกถามหาสัจจกสูตร


มหาสัจจกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย 3 บทว่า เอกํ สมยํ 1 เตน โข ปน สมเยน 1
ปุพฺพณฺหสมยํ 1
ท่านกล่าวเป็นสมัยหนึ่ง. ก็เวลาพวกภิกษุทำการปฏิบัติ
ตน ล้างหน้า ถือบาตรและจีวรไหว้พระเจดีย์แล้ว ยืนอยู่ในโรงวิตกว่าเรา
จักเข้าไปบ้านไหน. สมัยเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าแดง 2
ชั้น รัดประคต ทรงจีวรบังสุกุล เฉวียงบ่า เสด็จจากพระคันธกุฏี อันหมู่ภิกษุ
ห้อมล้อม ประทับยืนที่มุขพระคันธกุฏี. สัจจกนิคันถบุตร หมายเอาข้อนั้น
แล้ว จึงกล่าวว่า เอกํ สมยํ เตน โข ปน สมเยน ปุพฺพณฺหสนยํ ดังนี้. บท
ว่า ปวิสิตุกาโม ได้แก่ ตกลงพระทัยอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปบิณฑบาต.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ถามว่า สัจจกนิคันถบุตรเข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบ
ว่า โดยอัธยาศัยเพื่อโต้วาทะ ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า คราวก่อนเราเพราะไม่ได้เป็นบัณฑิตจึงพาเอาเวสาลีบริษัททั้งสิ้น ไปยัง
สำนักของพระสมณโคดม จึงเป็นผู้เก้อในท่ามกลางบริษัท แต่คราวนี้ เราไม่
ทำอย่างนั้น ไปผู้เดียว จักโต้วาทะ ถ้าเราจักสามารถให้พระสมณโคดมแพ้
ได้ จักแสดงลัทธิของตนแล้ว กระทำการชนะ ถ้าพระสมณโคดมจักชนะ
ใครๆ จักไม่รู้ เหมือนฟ้อนรำในที่มืด จึงถือเอาปัญหาคนเปลือยเข้าไปหาโดย
อัธยาศัยแห่งวาทะนี้.
บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่า อาศัยความกรุณาแก่สัจจกนิคันถ
บุตร. ได้ยินว่า พระเถระได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประ-
ทับนั่งพักสักครู่ เขาจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าและจักได้การฟังธรรม การ
เฝ้าพระพุทธเจ้าและการฟังธรรมจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่

เขาตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น พระเถระทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว พับจีวรบังสุกุลเป็น 4 ชั้น ปูลาด จึงได้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาค-
เจ้าจงประทับนั่งเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดว่า อานนท์กล่าว
เหตุ จึงประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย. บทว่า ภควนฺตํ เอตทโวจ ความ
ว่า นิครนถ์ ห่อปัญหาอันเป็นสาระ ถือเอามาวางเลี่ยงไปข้างๆ. กราบทูลคำ
เป็นต้นนั้นว่า โภ โคตม. บทว่า ผุสนฺติ หิ โภ โคตม ความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ย่อมถูกต้อง คือย่อมได้ คือประสบทุกขเวทนา อันเกิดในสรีระ
กาย.บทว่า อุรุกฺขมฺโภ ความว่า ความขัดขา อธิบายว่า ขาแข็งที่ทื่อ ในที่นี้
ด้วยอรรถว่า ทำให้งงงวย จึงทำเป็นคำอนาคตว่า ภวิสฺสติ.บทว่า กายนฺวยํ
โหติ
คือ จิตไปตามกาย คือเป็นไปตามอำนาจกาย. ส่วน วิปัสสนา
เรียกว่า กายภาวนา คนถึงความฟุ้งซ่านทั้งกายและจิต ย่อมไม่มี นิครนถ์
กล่าวถึงที่ไม่มี ไม่เป็นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ สมถะเรียกว่า จิตภาวนา
ดังนี้ก็มี ความว่า ความขัดขาเป็นต้นของบุคคลที่ประกอบด้วยสมาธิย่อม
ไม่มี นิครนถ์ กล่าวเฉพาะสิ่งที่ไม่เป็นนี้ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในอรรถกถา
ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลกล่าวว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังกล่าวคำเป็นต้น
ว่า ชื่อ ความขัดขาก็จักมี ซึ่งเป็นคำอนาคต ไม่ถูกฉันใด ความหมายก็ไม่ถูก
ฉันนั้น นิครนถ์กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็น. บทว่า โน กายภาวนํ เขากล่าว
หมายเอาการปฏิบัติตนให้ลำบากมีการทำความเพียร 5 ประการเป็น
ต้น. นี้ชื่อกายภาวนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ถามว่า ก็นิครนถ์นั้น
เห็นอะไร จึงได้กล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น มายังที่
พักตอนกลางวัน ก็แลสมัยนั้น พวกภิกษุเก็บบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปเพื่อ
หลีกเร้นในที่พักกลางคืนและกลางวันของตนๆ เขาเห็นพวกภิกษุเหล่านั้นหลีก
เร้น สำคัญว่า พวกภิกษุเหล่านั้น หมั่นประกอบเพียงจิตตภาวนา แต่กายภาวนา
ไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย้อนถามนิครนถ์นั้น จึง
ตรัสถามว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ กายภาวนาท่านฟังมาแล้วอย่างไร. นิครนถ์
นั้น เมื่อจะกล่าวกายภาวนานั้นให้พิสดาร จึงทูลคำเป็นต้นว่า คือท่านนันทะ
ผู้วัจฉโคตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺโท เป็นชื่อของเขา บทว่า วจฺโฉ
เป็นโคตร. บทว่า กีโส เป็นชื่อ บทว่า สุกิจฺโจ เป็นโคตร. ท่านมักขลิโค
สาลมาในหนหลังแล้วแล. บทว่า เอเต ได้แก่ ชน 3 คนเหล่านั้น ได้ยิน
ว่า ชนเหล่านั้นได้บรรลุที่สุดแห่งตบะอันเศร้าหมอง บทว่า อุฬารานิ คือ
โภชนะอันประณีตๆ. บทว่า คาเหนฺติ นาม ชื่อว่า ย่อมให้ร่างกายได้กำ
ลัง. บทว่า พฺรูเหนฺติ คือให้เจริญ. บทว่า เมเทนฺติ คือทำให้เกิดมันข้น. บท
ว่า ปุริมํ ปหาย ได้แก่ เลิกการทำความลำบากอย่างก่อน. บทว่า ปุจฺฉา
อุปจินนฺติ
ความว่า ให้อิ่มหนำคือให้เจริญด้วยของควรเคี้ยวอันประณีตเป็น
ต้น. บทว่า อาจยาปจโย โหติ คือ ความเจริญ และความเสื่อมย่อมปรากฏ
เพียงแต่ความเจริญและความเสื่อม กายนี้ก็มีความเจริญตามกาล ความเสื่อม
ตามกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า กายภาวนา ไม่ปรากฏ
ตรัสถามจิตตภาวนา ตรัสถามว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ จิตตภาวนา ท่านฟังมา
แล้วอย่างไร. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่า ไม่อาจทูลให้สมบูรณ์ได้ เหมือน
พาลปุถุชน. บทว่า กุโต ปน ตฺวํ ความว่า ท่านผู้ใดไม่รู้ความเจริญของร่าง
กาย ที่อ่อนกำลัง เป็นส่วนหยาบอย่างนี้ ท่านผู้นั้น จักรู้จิตตภาวนาอัน
ละเอียดสุขุมได้แต่ที่ไหนเล่า. ส่วนในที่นี้ พระโจทนาลยเถระคิดว่า บทนั้น
ชื่อพระพุทธพจน์ก็หามิได้ วางพัดวีชนีหลีกไป. ย่อมาพระมหาสิวเถระอ้าง
พระพุทธพจน์นั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญบ้าง ความเสื่อม
บ้าง ปฏิสนธิบ้าง จุติบ้าง ของกายอันเป็นมหาภูต 4 นี้ จักปรากฏ พระเถระ
ฟังคำนั้นแล้ว กำหนดว่า ควรกล่าวว่า เมื่อกำหนดกายเป็นส่วนหยาบ
วิปัสสนาที่เกิดก็เป็นส่วนหยาบดังนี้. บทว่า สุขสาราคี คือ ผู้ประกอบด้วย

ความยินดีด้วยความสุข บทว่า สุขาย เวทนาย นิโรธา อุปฺปชฺชติ ทุกฺขา
เวทนา
คือ ย่อมเกิดในลำดับ สำเร็จแล้วในคัมภีร์ปัฏฐาน เพราะทุกขเวทนา
นั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่สุขและทุกข์ แต่เพราะเมื่อสุขเวทนายังไม่ดับ ทุกข
เวทนาก็ไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐติ ความว่า
ให้เวทนาสิ้นไป ยึดถือไว้. บทว่า อุภโต ปกฺขํ ความว่า เป็น 2 ฝ่ายอย่างนี้คือ
สุขฝ่ายหนึ่ง ทุกข์ฝ่ายหนึ่ง. วินิจฉัยในบทนี้ว่า อุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิตฺตสฺส
ดังต่อไปนี้ กายภาวนา เป็นวิปัสสนา จิตตภาวนาเป็นสมาธิ ส่วนวิปัสสนา
เป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์ สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ใกล้ต่อสุข. อย่าง
ไร จริงอยู่ เมื่อพระโยคาวจรนั่งเริ่มวิปัสสนา เมื่อระยะกาลผ่านไปนาน
จิตของท่านย่อมเดือดร้อน ดิ้นรน ย่อมปรากฏเหมือนไฟที่ลุกโพลงในที่
นั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ เหมือนเกลียวความร้อนตั้งขึ้นแต่ศีรษะ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ วิปัสสนาเป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์. ก็เมื่อทุกข์ทางกายหรือ
ทางจิตเกิดแล้ว ทุกข์ในขณะสมาบัติของท่านผู้ข่มทุกข์นั้นเข้าสมาบัติ ย่อม
ปราศจากทุกข์ หยั่งลงสู่สุขไม่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ สมาธิ จึงเป็นข้าศึกต่อทุกข์
ใกล้ต่อสุข. วิปัสสนา เป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์ ฉันใด สมาธิหาเป็นฉัน
นั้นไม่. สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ ใกล้ต่อสุขฉันใด ส่วนวิปัสสนาหาเป็นฉันนั้น
ไม่. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิาตฺตสฺส. บทว่า
อาสชฺช อุปนีย ได้แก่ เกี่ยวข้องและนำเข้าไปสู่คุณ. บทว่า ตํ วต เม ได้
แก่ จิตของเรานั้นหนอ. บทว่า กิญฺหิ โน สิยา อคฺคิเวสฺสน ความว่า ดูก่อนอัคคิ
เวสสนะ อะไรจักไม่มี อะไรจักมี ท่านอย่าสำคัญอย่างนี้ สุขเวทนาก็ดี
ทุกขเวทนาก็ดี ย่อมเกิดแก่เรา แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะไม่ให้ครอบงำ
จิต.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีประสงค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนา
เป็นที่มาแห่งความเลื่อมใสอย่างสูง เพื่อประกาศเนื้อความนั้น แก่นิครนถ์

นั้น จึงทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งแต่ต้นในบทว่า อิธ ฯเปฯ ปธานาย
นั้น นี้ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตรหนหลัง.
ส่วนความต่างกันดังนี้คือ การนั่งบนโพธิบัลลังก์นั้นเป็นการกระทำที่ทำได้
ยากในข้อนี้. บทว่า อลฺลกฏฐํ คือไม้มะเดื่อสด. บทว่า สเสฺนหํ คือมียาง
เหมือนน้ำนม. บทว่า กาเมหิ คือจากวัตถุกาม. บทว่า อวูปกฏฺฐา คือไม่
หลีกออก. กิเลสกาม ในบทเป็นต้นว่า กามฉนฺโท พึงทราบว่าฉันทะด้วย
อำนาจทำความพอใจ สิเนทะ ด้วยอำนาจทำความเยื่อใย มุจฺฉา ด้วยอำนาจทำ
ความสยบ ปิปาสา ด้วยอำนาจทำความกระหาย ปริฬาห ด้วยอำนาจการ
ตามเผา. บทว่า โอปกฺกมิกา คือ เกิดเพราะความเพียร. บทว่า ญาณาย
ทสฺสนาย อนุตฺตราย สมฺโพธาย
ทั้งหมด เป็นไวพจน์โลกุตตรมรรค.
ก็ มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออก
จากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่
แช่ไว้ในน้ำ การไม่บรรลุโลกุตตรมรรค ด้วยเวทนาอันเกิดเพราะความ
เพียร ของบุคคลที่มีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟไฟก็ไม่
เกิด. การไม่บรรลุโลกุตตรมรรคของบุคคลเหล่านั้น เว้นจากเวทนาอันเกิด
เพราะความเพียรเหมือนไม่สีไม้สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด แม้อุปมาข้อที่ 2 พึงทราบโดย
นัยนี้แล. ส่วนความต่างกันดังนี้คือ ข้อแรกเป็นอุปมาของการบวชพร้อมกับ
บุตรและภรรยา ข้อหลัง เป็นอุปมาของการบวชของพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรม. บทว่า โกลาปํ ในอุปมาข้อที่สาม ได้แก่ ผักที่ไม่มียาง บทว่า ถเล
นิกฺขิตฺตํ
คือที่เขาวางไว้บนภูเขา หรือบนพื้นดิน ก็มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อ
นี้ดังนี้คือ ก็บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียก
ชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ การบรรลุโล-
กุตตรมรรคด้วยเวทนา แม้เกิดเพราะความเพียร มีการนั่งในกลางแจ้งเป็นต้น
ของบุคคลมีกิเลสกาม ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟ ไฟก็เกิด การบรรลุ

โลกุตตรมรรค ด้วยสุขาปฏิปทาเว้นจากเวทนาอันเกิดเพราะความ
เพียร เหมือนเกิดไฟด้วยเพียงการสีกับกิ่งต้นไม้อื่น. อุปมานี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงนำมาเพื่อประโยชน์แก่องค์. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทุกกรกิริยา
ของพระองค์ จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺหํ เป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงทำทุกกรกิริยาแล้ว ไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้หรือ ทรงทำก็
ตามไม่ทำก็ตาม สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้. ถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น
ทรงทำเพราะเหตุไร ตอบว่า เราจักแสดงความพยายามของตนแก่
โลกพร้อมทั้งเทวโลก และคุณคือความย่ำยีด้วยความเพียรนั้น จักให้เรายินดี
ได้. จริงอยู่ กษัตริย์ประทับนั่งบนปราสาท แม้ทรงได้รับราชสมบัติสืบต่อ
ตามพระราชประเพณี ไม่ทรงยินดีอย่างนั้น ราชสมบัติที่พาเอาหมู่พลไป
ประหารข้าศึก 2 - 3 คน ทำลายข้าศึกได้มา โสมนัสอันมีกำลังย่อมเกิด
แก่พระองค์ผู้ได้เสวยสิริราชสมบัติอย่างนั้น ทรงแลดูบริษัท ทรงรำลึกถึง
ความพยายามของตนแล้ว ทรงดำริต่อว่า เราทำกรรมนั้น ในที่โน้น แทง
อย่างนี้ ประหารอย่างนี้ ซึ่งข้าศึกโน้นและโน้น จึงได้เสวยสิริราชสมบัติ
นี้ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงดำริว่า เราจักแสดง
ความพยายามแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ความพยายามนั้นจักให้เรายิน
ดี ให้เกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทำทุกกรกิริยาอีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อจะ
ทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดในภายหลัง ก็ได้ทรงกระทำเหมือนกัน หมู่ชนผู้
เกิดในภายหลังจักสำคัญความเพียรที่ควรทำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังทรงบำเพ็ญพระบารมีตลอด 4 อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ทรงตั้งความ
เพียร บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ จะป่วยกล่าวไปใย ถึงพวกเราเล่า เมื่อเป็น
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า หมู่ชนจักกระทำที่สุดแห่งชาติ
ชรา และมรณะได้ เร็วพลัน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิด
ภายหลัง จึงได้ทรงกระทำเหมือนกัน. บทว่า ทนฺเตหิ ทนฺตมาธาย ได้แก่

กดพระทนต์บนด้วยพระทนต์ล่าง บทว่า จตสา จิตฺตํ ได้แก่ ข่มอกุศล
จิต ด้วยกุศลจิต. บทว่า อภินิคฺคณฺเหยฺยํ คือ พึงข่ม. บทว่า อภินิปฺปีเฬยฺยํ
คือพึงบีบคั้น. บทว่า อภินิสนฺตาเปยฺยํ ความว่า พึงทำให้เดือดร้อนแล้วทำ
ลาย ย่ำยีด้วยความเพียร. บทว่า สารทฺโธ คือมีกายกระวนกระวาย. บท
ว่า ปธานาภิตุนฺนสฺส ความว่า มีสติอันความเพียรเสียดแทงคือแทงแล้ว.
บทว่า อปฺปาณกํ คือไม่มีลมหายใจ. บทว่า กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ กระบอกสูบ
ช่างทอง. บทว่า สีสเวทนา โหนฺติ ความว่า เวทนาเกิดแต่ศีรษะมีกำลัง
ถูกลมอู้ออกไปจากไหนไม่ได้. บทว่า สีสเปฬํ ทเทยฺย ได้แก่ พึงรัดที่ศีรษะ
บทว่า เทวตา ความว่า เทวดาสถิตอยู่ในที่สุดจงกรมของพระโพธิ-
สัตว์ และใกล้บริเวณบรรณศาลา. ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อความเร่าร้อนใน
พระวรกายอันมีประมาณยิ่งของพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น หมดสติ พระองค์ประ-
ทับนั่งล้มบนที่จงกรม. เทวดาเห็นพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่าพระโพธิ-
สัตว์ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พวกเทวดาเหล่านั้น จึงไป กราบทูลต่อพระเจ้าสุท-
โธทนมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว. พระเจ้า
สุทโธทนมหาราชตรัสว่า บุตรของเรา เป็นพระพุทธเจ้า จึงทำกาละ ยังไม่
เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่ทำกาล เทวดา. จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ล้มไป
อยู่บนพื้นที่ทำความเพียรสิ้นพระชนม์ชีพเสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.
เราไม่เชื่อ การสิ้นพระชนม์จะไม่มีแก่โอรสของเรา เพราะยังไม่บรรลุโพธิ-
ญาณ. ในเวลาต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป
เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุท
โธทนมหาราชทรงรับบาตรนำเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ถวายข้าวต้มและของขบ
เคี้ยวทูลเรื่องนั้น ในเวลาระหว่างภัตรว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
เวลาพระองค์ทรงทำความเพียร เทวดามาบอกว่า ดูก่อนมหาราช โอรสของ
พระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนมหา

บพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ข้าแต่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่เชื่อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนมหาบพิตร บัดนี้
พระองค์ทรงเห็นอัศจรรย์ตั้งแต่ถือพระสุบิน ยังจักเชื่อหรือ แม้อาตมาเป็น.
พระพุทธเจ้า แม้มหาบพิตรก็ทรงเป็นพระพุทธบิดา ส่วนในกาลก่อน เมื่อ
ญาณของอาตมายังไม่แก่กล้า บำเพ็ญโพธิจริยาอยู่ ไปแล้ว เพื่อศึกษาศิลปะ
แม้ในเวลาเป็นธรรมบาลกุมาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมหาธรรมปาล
ชาดก เพราะความอุบัติขึ้นแห่งเรื่องนี้ว่า ชนทั้งหลายนำกระดูกแพะมาแสดง
ว่า ธรรมปาลกุมารบุตรของท่าน ทำกาละแล้ว นี้กระดูกของเขาดังนี้. ดู
ก่อนมหาบพิตร แม้ในกาลนั้น พระองค์ได้ตรัสว่า ชื่อว่า ความตายใน
ระหว่างของบุตรเราย่อมไม่มี เราไม่เชื่อดังนี้.
บทว่า มา โข ตฺวํ มาริส ได้แก่ พวกเทวดาผู้รักใคร่มากราบทูล
ไดยินว่า โวหารน่ารัก น่าชอบใจของพวกเทวดาคือมาริส. บทว่า อชชฺชิตํ
คือ ไม่ใช่โภชนะ. บทว่า หลนฺติ วทามิ คือ เรากล่าวว่า พอละ อธิบายว่า
เราห้ามอย่างนี้ว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ด้วยบทนี้ เราจักยังอัตตภาพให้เป็น
ไปได้. บทว่า องฺคุรจฺฉวี คือ มีพระฉวีพร้อย. บทว่า เอตาวปรมํ ความ
ว่า ประมาณนั้น เป็นอย่างยิ่ง คือสูงสุดแห่งเวทนาเหล่านั้น. บทว่า ปิตุ
สกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯ เปฯ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตา
ความว่า ได้ยิน
ว่า ในวันนั้น ชื่อว่าเป็นวันวัปปมงคลของพระราชา พระราชาทั้งหลายจัด
ของควรเคี้ยวของกินเป็นอเนกประการ ล้างถนนพระนครให้สะอาดตั้งหม้อ
เต็มด้วยน้ำ ให้ยกธงแผ่นผ้าเป็นต้นขึ้น ประดับไปทั่วพระนคร เหมือนเทพ
วิมาน ทาสและกรรมกรเป็นต้นทั้งปวงนุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับด้วยของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในราชตระกูลในราชพิธี เขาประกอบคันไถพัน
หนึ่ง แต่ในวันนั้นราชบุรุษประกอบคันไถ 800 หย่อนหนึ่ง คันไถทั้งหมด
พร้อมทั้งเชือกผูกโคหนุ่มหุ้มด้วยเงิน เหมือนรถของชานุโสณิพราหมณ์

คันไถของพระราชามีพู่ห้อยย้อยหุ้มด้วยทองสุกปลั่ง เขาของโคหนุ่มก็ดี เชือก
และปฏักก็ดี หุ้มด้วยทองคำ พระราชาเสด็จออกไปด้วยบริวารใหญ่ รับเอา
โอรสไปด้วย ในที่ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ ได้มีต้นหว้าต้น
หนึ่ง มีใบหนาทึบ มีร่มเงาร่มรื่นภายใต้ต้นหว้านั้น พระราชารับสั่งให้ปูที่
บรรทมของกุมาร ข้างบนคาดเพดานขจิตด้วยดาวทอง ล้อมด้วยกำแพงม่าน
ตั้งอารักขา ทรงเครื่องสรรพาลังการ แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จ
ไปสู่พระราชพิธีแรกนาขวัญ ณ ที่นั้น พระราชาทรงถือคันไถทอง พวกอำ
มาตย์ถือคันไถเงิน 800 หย่อนหนึ่ง ชาวนาถือคันไถที่เหลือ. เขาเหล่า
นั้น ถือคันไถเหล่านั้นไถไปทางโน้นทางนี้. ส่วนพระราชา เสด็จจากข้างนี้
ไปข้างโน้นหรือจากข้างโน้นมาสู่ข้างนี้. ในที่นี้เป็นมหาสมบัติ พระพี่เลี้ยงนั่ง
ล้อมพระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักเห็นสมบัติของพระราชา จึงพากันออก
ไปนอกม่าน พระโพธิสัตว์ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใครๆ จึงรีบลุกขึ้น
นั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก ยังปฐมฌานให้เกิด. พระพี่เลี้ยงมัว
เที่ยวไปในระหว่างโรงอาหารช้าไปหน่อยหนึ่ง เงาของต้นไม้อื่น ก็คล้อย
ไป แต่เงาของต้นไม้นั้น ยังตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระพี่เลี้ยงคิดว่า พระราช
บุตรอยู่ลำพังพระองค์เดียว รีบยกม่านขึ้นเข้าไปภายในเห็นพระโพธิสัตว์ประ
ทับนั่งขัดสมาธิบนที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว จึงไปกราบทูลพระ
ราชาว่า ข้าแต่พระองค์ พระกุมารประทับอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่นคล้อยไป
เงาต้นหว้าเป็นปริมณฑลอยู่ พระราชาเสด็จไปโดยเร็ว ทรงเห็นปาฏิหาริย์
ทรงไหว้พระโอรสด้วยพระดำรัสว่า นี้เป็นการไหว้ลูกเป็นครั้งที่สอง. บทว่า
ปิตุ สกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯเปฯ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตา นี้ ท่านกล่าว
หมายเอาคำนี้. บทว่า สิยา นุ โข เอโส มคฺโค โพธาย ความว่า อานาปาน
สติปฐมฌานนี้ จะพึงเป็นทางเพื่อประโยชน์การตรัสรู้หนอ.บทว่า สตานุสา-
ริวิญญาณํ
ความว่า วิญญาณที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งสติที่เกิด 1-2 ครั้ง

อย่างนี้ว่า การทำสิ่งทำได้ยากนี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปาน
สติปฐมฌานจักเป็นแน่ ชื่อว่า สาตานุสาริวิญญาณ. บทว่า ยํ ตํ สุขํ ได้
แก่ ความสุขในอานาปานสติปฐมฌาน. บทว่า ปจฺจปฏฺฐิตา โหนฺติ ความว่า
บำรุงด้วยการทำวัตรมีการกวาดบริเวณบรรณศาลาเป็นต้น. บทว่า พาหุลฺลิโก
คือมักมากในปัจจัย. บทว่า อาวฏฺโฏ พาหุลฺลาย ความว่า เป็นผู้ติด
ในรส เวียนมาเพื่อต้องการอาหารที่ประณีตเป็นต้น. บทว่า นิพฺพิชฺช ปกฺกมึสุ
พวกปัญจวัคคีย์เบื่อหน่าย หลีกไป โดยธรรมนิยาม อธิบายว่า ไปตาม
ธรรมดาเพื่อให้โอกาสแก่พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวกในกาลบรรลุพระสัมโพธิ
ญาณ และเมื่อไปก็ไม่ไปที่อื่น ได้ไปเมืองพาราณสีนั้นเอง. เมื่อปัญจวัคคีย์ไป
แล้ว พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวก ตลอดกึ่งเดือน ประทับนั่งอปราชิตบัล-
ลังก์ ณ โพธิมณฑล ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว. บทมีคำเป็นต้น
ว่า วิวิจฺเจร กาเมหิ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน ภยเภรวสูตร.

บทว่า อภิชานามิ โข ปนาหํ คือนี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง. ได้ยินว่า
นิครนถ์ คิดว่า เราทูลถามปัญหาข้อหนึ่งกะสมณโคดม พระสมณโคดมตรัสว่า
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เทวดาแม้อื่นอีกถามเรา ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เทวดาแม้อื่น
อีกถามเรา เมื่อไม่ทรงเห็นที่สุด ตรัสอย่างนั้น พระองค์มีความกริ้วหรือ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อัคคิเวสสนะ เมื่อตถาคต แสดง
ธรรมอยู่ในบริษัทหลายร้อย แม้คนหนึ่งที่จะกล่าวว่า พระสมณโคดม กริ้ว
แล้ว มิได้มี อนึ่ง ตถาคตแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เพื่อประโยชน์แก่การ
ตรัสรู้ เพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอด เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงเริ่มพระ
ธรรมเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภ คือหมายเอา. บทว่า
ยาวเทว คือเป็นคำกำหนดวิธีใช้ มีอธิบายว่า การยังบุคคลเหล่าอื่นให้รู้นั่น
แหละ เป็นการประกอบพระธรรมเทศนาของพระตถาคต เพราะฉะนั้น

พระตถาคตจึงมิได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดียว ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้
รู้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ตสฺมึ เยว
ปุริมสฺมึ
นี้ ไว้อย่างไร ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ คิดว่า พระสมณโคดม มีพระ
รูปงาม น่ารัก พระทนต์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน การสนทนาก็ไพเราะเห็น
จะเที่ยวยังบริษัทให้ยินดี. ส่วนเอกัคคตาจิตของพระสมณโคดมนั้น ไม่มี
แก่พระองค์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อทรงแสดง
ว่า ดูก่อน อัคคิเวสสนะ พระตถาคตเที่ยวยังบริษัทให้ยินดี พระตถาคตทรง
แสดงธรรมแก่บริษัททั่วจักรวาล พระตถาคตมีพระทัยไม่หดหู่ ไม่แปด
เปื้อน ประกอบเนืองๆ ซึ่งผลสมาบัติเป็นสุญญตะ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่
อย่างหนึ่ง ประมาณเท่านี้ดังนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ อารมณ์ อันเป็นภายใน
เท่านั้น บทว่า สนฺนิสีทามิ คือยังจิตให้สงบ. จริงอยู่ในขณะใด บริษัทย่อมให้
สาธุการ ในขณะนั้น พระตถาคตทรงกำหนดส่วนเบื้องต้น ทรงเข้าผลสมา
บัติ เมื่อเสียงกึกก้องแห่งสาธุการยังไม่ขาด ออกจากสมาบัติแสดงธรรม
อยู่ ตั้งแต่ที่พระองค์ทรงตั้งไว้แล้ว. ด้วยว่าการอยู่ในภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลายย่อมเป็นไปเร็วพลัน ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ในคราวหายใจเข้า ในคราว
หายใจออก. บทว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ ความว่า เราอยู่ด้วยผลสมาธิ อันเป็น
สุญญตะได้ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือแสดงว่า เราประคองจิตตั้งมั่นในสมาธิ
นิมิตนั้น.บทว่า โอกปฺปนิยเมตํ นั้น เป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ.
สัจจกะนั้น รับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้มีเอกัคคตาจิต บัดนี้
เมื่อจะนำปัญหาที่ตนซ่อนไว้ในพก มาทูลถาม จึงกล่าวว่า อภิชานาติ
ปน ภวํ โคตโม ทิวา สุปิตา
. เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่า สุนัขแม้กินอาหาร
ข้าวปายาสที่หุงด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสจนเต็มท้อง เห็นคูถแล้ว เคี้ยวกินไม่
ได้ ก็ไม่อาจเพื่อจะไป เมื่อเคี้ยวกินไม่ได้ ก็จะดมกลิ่นก่อนจึงไป ได้ยิน

ว่า เมื่อมันไม่ได้ดมกลิ่นไป ก็ปวดหัวฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ตั้งแต่การเสด็จออกมหา
ภิเนษกรมณ์ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เช่นกับสุนัขเห็นข้าวปายาสที่เขา
หุงด้วยน้ำนมล้วน ส่วนสัจจกะนั้นฟังพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้ ก็ไม่เกิดแม้
เพียงความเลื่อมใสในพระศาสดา เพราะฉะนั้น เมื่อเขาไม่ทูลถามปัญหาที่
ซ่อนไว้ในพกนำมา ก็ไม่อาจเพื่อจะไป จึงได้กล่าวอย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่น
นั้น เพราะถีนมิทธะ ที่พระขีณาสพทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค. ก็ความ
กระวนกระวายทางกายย่อมมีในอุปาทินนกรูปบ้าง ในอนุปาทินนกรูปบ้าง
จริงอย่างนั้น ดอกบัวขาวเป็นต้น แย้ม ในเวลาหนึ่ง ตูม ในเวลาหนึ่ง ในเวลา
เย็นใบไม้บางอย่างหุบ ในเวลาเช้าก็บาน. อุปาทินนกรูปเท่านั้น มีความกระ
วนกระวายก็ภวังคโสตที่เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย ท่านประสงค์ว่า
หลับในที่นี้ ภวังคโสตนั้น มีแก่พระขีณาสพ หมายเอาความหลับนั้น จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า อภิชานามหํ. บทว่า สมโมหวิหารสฺมึ วทนฺติ อาจารย์บาง
พวกกล่าวว่า สมฺโมหวิหาโร แปลว่าอยู่ด้วยความหลง. บทว่า อาสชฺช
อาสชฺช
คือ เสียดสีๆ บทว่า อุปนีเตหิ คือที่ตนนำมากล่าว บทว่า วจนป-
เถหิ
แปลว่า ถ้อยคำ. บทว่า อภินนฺทิตฺวา ความว่า ยินดีรับด้วยใจ อนุโมทนา
สรรเสริญด้วยถ้อยคำ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส 2 พระสูตรนี้ แก่
นิครนถ์นี้. พระสูตรต้นมีภาณวารเดียว พระสูตรนี้ มีภาณวารครึ่ง ถาม
ว่า นิครนถ์นี้ แม้ฟัง 2 ภาณวาร ครึ่งแล้ว ยังไม่บรรลุธรรมาภิสมัย ยัง
ไม่บวช ยังไม่ตั้งอยู่ในสรณะ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาค
เจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่เขาอีก ตอบว่า เพื่อเป็นวาสนาในอนาคต. จริง
อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า บัดนี้อุปนิสัยของนิครนถ์นี้ ยังไม่มี แต่เมื่อ
เราปรินิพพานล่วงไปได้ 200 ปี-เศษ ศาสนาจักประดิษฐานอยู่ตัมพปัณ-
ณิทวีป นิครนถ์นี้จักเกิดในเรือนมีสกุลในตัมพปัณณิทวีปนั้น บวชในเวลาถึง

พร้อมแล้ว เรียนพระไตรปิฎก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่า กาลพุทธรักขิต พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงเห็นเหตุนี้ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.
เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้น สัจจกะแม้นั้น
เคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอำมาตย์ สกุลหนึ่ง. ในบ้านสำหรับภิกขา
จารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชา
ได้เรียนพระไตรปิฎก คือ พระพุทธพจน์ บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมาก
แวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่า
เราจักท้วงสัทธิวิหารริก จึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฎกคือพระ
พุทธพจน์มาแล้ว ไม่ได้กระทำสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง
ไปสำนักพระเถระ ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทำคันถกรรมมาสำ
นักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปาก ไม่พูดด้วย กระผมมีโทษอะไร
หรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทำความสำคัญว่า ชื่อว่า
บรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธ
รักขิต. กระผมจะทำอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัด
ปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหาร กระทำสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ใน
โดยวาทขอพระอุปัชฌาย์กระทำอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัม
ภิทา เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมากเป็นบริวาร
อยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.
ก็ในกาลนั้น พระเจ้าติสสมหาราช ทรงรักษาอุโบสถกรรม ย่อมอยู่
ในที่เร้นของพระราชา ณ เจติยบรรพต ท่านได้ให้สัญญาแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐาก
ของพระเถระว่า เมื่อใดพระผู้เป็นเจ้าของเราจะแก้ปัญหา หรือกล่าว
ธรรม เมื่อนั้นท่านพึงให้สัญญาแก่เราด้วย. ในวันธัมมัสสวนะวันหนึ่ง แม้พระ

เถระอันหมู่ภิกษุแวดล้อม ขึ้นสู่ลานกัณฑกเจติยะ ไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงยืนอยู่
ที่โคนต้นไม้มะพลับดำ. ครั้นนั้นพระเถระถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ถามปัญ-
หากะท่านพุทธรักขิตนั้น ในกาลามสูตร. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
วันนี้เป็นวันธัมมัสสวนะ มิใช่หรือ. ภิกษุนั้น เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญวันนี้
เป็นวันธัมมัสสวนะขอรับ. พระเถระกล่าว ถ้าอย่างนั้น เธอจงนำเอาตั่ง
มา เราจักนั่งในที่นี้ แล้วจักกระทำการฟังธรรม. ลำดับนั้น พวกภิกษุจึงปูลาด
อาสนะที่โคนไม้ ถวายพระเถระนั้น. พระเถระกล่าวคาถาเบื้องต้นแล้ว
จึงเริ่มกาลามสูตร. ภิกษุหนุ่มผู้อุปัฏฐากพระเถระนั้น จึงให้สัญญาแก่พระราชา
พระราชาเสด็จไปถึง เมื่อคาถาเบื้องต้นยังไม่ทันจบ ก็ครั้นเสด็จถึงประ
ทับยืนท้ายบริษัทด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จักเลย ประทับยืนทรงธรรม
อยู่ตลอด 3 ยามแล้ว ได้ประทานสาธุการในเวลาพระเถระกล่าวว่า พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ดังนี้. พระเถระทราบแล้ว จึงถามว่า มหา
บพิตรพระองค์เสด็จมาแต่เมื่อไร. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเวลาใกล้จะ
จบคาถาเบื้องต้นนั่นแหละ. พระเถระ. มหาบพิตร พระองค์ทรงทำกรรมที่ทำ
ได้ยาก. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้ไม่ชื่อว่ากระทำสิ่งที่ทำได้ยาก
ความที่ข้าพเจ้าไม่ส่งใจไปในที่อื่น แม้ในบทหนึ่งตั้งแต่ที่พระผู้เป็นเจ้าเริ่ม
ธรรมกถา ได้ทำปฏิญาณว่า ชื่อว่า ความเป็นเจ้าของของเราจงอย่ามี แก่
ตัมพปัณณิทวีปในที่แม้เพียงจะทิ่มด้วยไม้ปฏัก ดังนี้.

ก็ในพระสูตรนี้ พระกาลพุทธรักขิต ได้แสดงพระพุทธคุณทั้ง
หลาย เพราะฉะนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระพุทธคุณ
มีประมาณเท่านี้หรือ หรือว่า อย่างอื่นยังมีอยู่อีก. พระเถระ.
มหาบพิตร พระพุทธคุณที่ยังไม่ได้กล่าวมีมากว่าที่อาตมากล่าวประมาณมิ
ได้. พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงอุปมา. พระเถระ. มหาบพิตร ข้าว

สาลีที่ยังเหลือมีมากกว่ารวงข้าวสาลีรวงเดียว ในนาข้าวสาลี ประมาณพัน
กรีส ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้ว น้อยนัก ที่เหลือมีมากฉันนั้น พระราชา.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงทำอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร มหาคงคา
เต็มด้วยห้วงน้ำ บุคคลพึงเทใส่ในรูเข็ม น้ำที่เข้าไปในรูเข็มมีน้อย น้ำที่
เหลือมีมาก ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากฉันนั้น.
พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จงทำอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร ธรรมดา
ว่านกเล่นลมเที่ยวบินเล่นในอากาศในโลกนี้ สกุณชาติตัวเล็ก ๆ สถาน
มีปรบปีกของนกนั้น ในอากาศมีมาก หรืออากาศที่เหลือมีมาก. พระราชา.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอะไร โอกาสเป็นที่ปรบปีกของนกนั้น
น้อย ที่เหลือมีมาก พระเถระ. มหาบพิตรอย่างนั้นแหละ พระพุทธคุณที่
อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากไม่มีที่สุด ประมาณไม่ได้. พระราชา
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวดีแล้ว พระพุทธคุณ ไม่มีที่สุด ท่านอุปมาด้วย
อากาศไม่มีที่สุดนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าเลื่อมใส แต่ไม่อาจทำสักการะอันสม
ควรแก่พระผู้เป็นเจ้าได้. ข้าพเจ้าขอถวายราชสมบัติประกอบด้วยร้อยโยชน์
ในตัมพปัณณิทวีปนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้า นี้เป็นทุคตบรรณาการของ
ข้าพเจ้า พระเถระ. มหาบพิตร บรรณาการอันมหาบพิตรทรงเลื่อมใส กระทำ
แล้ว อาตมาขอถวายราชสมบัติที่ทรงถวายแก่อาตมาคืนแก่มหาบพิตร
ทั้งหมด ขอมหาบพิตรจงทรงปกครองแว่นแคว้นโดยธรรม โดยสม่ำเสมอเถิด
ดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาสัจจกสูตรที่ 6

7. จูฬตัณหาสังขยสูตร



[433] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา
ในวิหารบุพพารามใกล้นคราวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำ
เร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็น
พรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.

[434] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วย
ปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
แล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็
ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็น
ความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็น
ดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาด
หวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัด
ว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านั้น
แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วง