เมนู

ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา



[418] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เรา
พึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้น
เราปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทางจมูก
และทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทาง
จมูกและทางหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมี
กำลัง พึงรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่นฉันใด อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลม
อัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูกและทางหูแล้ว ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน.
ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่จะได้ย่อ
หย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้ แต่กายที่เราเริ่ม
ตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั่นแลเจาะแทงเรา
อยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้.
[419] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึง
เพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้นเรา
มีปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทางปากทางจมูกและ
ทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ. ทั้งทางปากทางจมูก
ทางหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้อง. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือน
นายโคฆาฏ หรือลูกมือนายโคฆาฏ ที่เป็นคนฉลาด พึงเชือดพื้นอุทรด้วยมีด
สำหรับเชือดโคอันคม ฉันใด. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ
ทางปากทางจมูกและทางหู ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้องฉัน
นั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อน
ไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้ง

ไว้ ย่อมไม่สงบ เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัค
คิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่
ได้.
[420] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เรา
พึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้นเราปริ-
วิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทางจมูกและทางหู
อยู่ ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกาย. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมี
กำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษที่ถอยกำลังกว่าคนเดียวเข้าที่แขนข้างละ
คน ลนย่างรมไว้ที่หลุมอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิง ฉันใด.

[421] อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทาง
จมูกและทางหู ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกายฉันนั้น. อัคคิเวส
สนะ ก็แต่ความเพียรที่เราเริ่มตั้งไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิ
ได้, สติที่เราได้ตั้งไว้จะฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อม
ไม่สงบ, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวส
สนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตเราตั้งอยู่
ได้
[422] อัคคิเวสสนะ ยังไม่ทันไรสิ เทวดาทั้งหลาย ได้เห็นเราแล้วพา
กันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะโคดมทำกาละเสียแล้ว เทวดาบางพวกกล่าว
อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่ได้ทำกาละก่อน, แต่จะทำกาละ. เทวดา
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละแล้วหรือ กำลังทำกาละก็
ไม่ใช่ ด้วยว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ที่อยู่ก็อย่างนั้นเอง ดังนั้น
พระอรหันต์ย่อมมีวิหารธรรมเป็นอย่างนี้

[423] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึง
ปฏิบัติเสียด้วยประการทั้งปวงเถิด อัคคิเวสสนะ ครั้งนั้น เทพยดาทั้งหลาย
ได้เข้ามาใกล้เราแล้ว กล่าวคำท้วงว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติเพื่อ
ตัดอาหารเสียด้วยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านพึงปฏิบัติ เพื่อจะตัดอาหารเสีย
ด้วยประการทั้งปวงให้ได้ เราทั้งหลายจะแทรกโอชะ อันเป็นทิพย์ลงตามขุม
ขนทั้งหลายของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น. อัคคิเวส
สนะ เรานั้น ได้มีปริวิตกเรื่องนี้ว่า เราเองพึงปฏิญญาการบริโภคด้วยประ-
การทั้งปวงไว้เอง และเทวดาเหล่านี้ จะพึงแทรกโอชะลงตามขุมขนของ
เรา และเราจะพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น อันนั้นก็จะพึงเป็นเท็จแก่เรา
ไป อัคคิเวสสนะ เรานั้นแล ได้บอกห้ามเทวดาเหล่านั้นเสียว่า "อย่าเลย"
ดังนี้.
[424] อัคคิเวสสนะ เรานั้นแลได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า กระนั้น
เราพึงบริโภคอาหารให้น้อยลงๆ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง
เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เยื่อถั่วดำบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง. อัคคิเวสสนะ ครั้นเราบริโภค
อาหารให้น้อยลงดังนั้น เท่าฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพู
บ้าง เยื่อถั่วดำบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง กายเราก็ถึงความเป็นขอดเป็นเกลียวยิ่ง
นัก. อังคาพยพน้อยใหญ่ ของเราย่อมเป็นประหนึ่งเถาวัลย์ที่มีข้อมาก 80
ข้อ หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำฉะนั้น, เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่าง
เดียว, ก้นกบแห่งเราแฟบเข้า มีอาการสัณฐานเหมือนกีบเท้าอูฐฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. กระดูกสันหลังแห่งเราผุดขึ้น
ระกะ ราวกะเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนา ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.
เปรียบซี่โครงแห่งเรานูนเป็นร่อง ๆ ดังกลอนในศาลาเก่าชำรุดทรุดโทรม
ฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. เปรียบเหมือนดวงตาแห่ง

เราปรากฏกลมลึกเข้าในกระบอกตา ดูประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำ
อันลึกฉะนั้น ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. หนังศีรษะบนศีรษะ
แห่งเราสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้งไป ประหนึ่งผลน้ำเต้าขม ที่บุคคลตัดมาแต่ยัง
สด ถูกลมและแดดก็เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่าง
เดียว. อัคคิเวสสนะ เราเอง คิดว่าจะคลำหนังท้อง ก็จับถึงกระดูกสันหลัง
ตลอดไป, เราคิดว่าจะคลำกระดูกสันหลัง ก็จับถึงหนังท้อง, อัคคิเวส
สนะ หนังท้องของเราเหี่ยวแห้ง จนติดกระดูกสันหลัง ก็เพราะโทษที่อาหาร
น้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ เรานั้นแลคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
ก็ซวนเซล้มอยู่ที่นั้นเอง, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวส
สนะ เรานั้นแล เมื่อจะให้กายนี้ มีความสบายบ้าง จึงนวดไปตามตัว ด้วยฝ่า
มือ, อัคคิเวสสนะ เมื่อเรานวดไปตามตัวด้วยฝ่ามือนั้น ขนทั้งหลายที่มีราก
เน่าก็ร่วงตกจากกาย, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวส
สนะ ยังไม่ทันไร มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้ว จึงกล่าวว่า พระสมณโคดมดำ
ไป. มนุษย์บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม จะว่าดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็
ไม่ใช่ พระสมณโคดมมีพระฉวีพร้อยไปเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ผิวพรรณของ
เราบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพียงนั้นมาถูกกำจัดออกไปเสียแล้ว ก็เพราะโทษที่มี
อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.
[425] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกว่า ในสมนะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เสวยทุกขเวทนาเจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่
เพียงนี้ ไม่ได้ยิ่งไปกว่านี้แล้ว. กาลในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง จักเสวยทุกขเวทนาเจ็บปวดกล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียง
นี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. ในกาลบัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนา เจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียง
นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ก็แต่เรา ไม่ได้บรรลุญาณทัสสนะวิเศษ เพื่อเป็นอริยบุคคล
อุตตริมนุสธรรม ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ พึงมีทางอื่นเพื่อตรัสรู้.
อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกว่า ก็เรายังจำได้ว่า ในงานของพระบิดา เราได้
นั่งแล้ว ณ ร่มเงาต้นหว้าเป็นที่ร่มเย็น ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้ว
จากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจารปิติและสุข อันเกิดแต่
วิเวกอยู่ ทางนี้พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้. อัคคิเวสสนะ เรานั้น ได้มีความรู้สึกอัน
แล่นไป ตามสติว่า นี่แล หนทางแห่งการตรัสรู้. อัคคิเวสสนะ เรานั้น
ได้ปริวิตกว่า เราจะกลัวความสุข ซึ่งเป็นความสุขนอกจากกามทั้ง
หลาย นอกจากอกุศลธรรมแลหรือ. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกต่อ
ไปว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขซึ่งเป็นสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศล
ธรรมเช่นนั้นเลย.
[426] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกเรื่องนี้อีกว่า การบรรลุถึง
ความสุขด้วยกายอันถึงความลำบาก กระทำได้มิใช่ง่าย, ถ้ากระไรเราพึง
กลืนกินอาหารที่หยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด. อัคคิเวสสนะ เราจึง
กลืนกินอาหารที่อาบัติ คือข้าวสุกและขนมสด. อัคคิเวสสนะ โดยสมัยนั้น
แล ภิกษุทั้งหลาย 5 รูป เป็นผู้บำรุงอยู่ ด้วยตั้งใจว่า พระสมณโคดม จัก
บรรลุถึงธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. อัคคิเวสสนะ ตั้งแต่เรา
ได้กลืนกินอาหารหยาบ มีข้าวสุกและขนมสดแล้ว ภิกษุทั้ง 5 รูปเหล่า
นั้น ก็พากันหน่ายเรา หลีกไปเสีย ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดม เป็นคนมัก
มาก คลายจากความเพียร เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากไปเสียแล้ว.

[427] อัคคิเวสสนะ เรานั้นครั้นกลืนกินอาหารหยาบ พาให้มีกำลัง
ขึ้นแล้ว ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว ได้สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้ง

หลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่.
อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิต เข้า
ฌานที่สอง อันยังใจให้ผ่องใส ณ ภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
เข้าฌานที่สาม เข้าฌานที่สี่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิต ตั้งอยู่ได้. เรานั้น เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ถึงความไม่
หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์ที่
อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน. เรานั้นได้ตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน
ได้หลายประการ. คือ ตามระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง ฯลฯ เราตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วใน
ภพก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทสด้วยประการ
ฉะนี้ ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชาที่หนึ่ง กำจัดอวิชชาเสียได้
วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ แสงสวางก็เกิดขึ้น สมกับเมื่อเป็นบุคคล
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อน มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ฉะนั้น
อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิตเรา
ตั้งอยู่.

[428] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตควรแก่การงานตั้งอยู่ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อม
ไปเพื่อญาณในจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นมีจักษุทิพย์ หมดจด
วิเศษล่วงจักษุของมนุษย์ แลเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลว
ทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะงาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัด
สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงตามกรรมอย่างไรว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้หนอ ประ

กอบด้วยกายทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริต
กล่าวติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอำนาจ
มิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกไป ได้เข้าถึงอบายในทุคคติ วินิบาต นรก
แล้ว ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วยวจี
สุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
สมาทานกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตก ตายไป ได้เข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว เรามีจักษุทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงจักษุของ
มนุษย์แลเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลวทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะ
งาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัดสัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึง
ตามกรรมอย่างนี้. นี้เป็นวิชาที่ 2 ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชา
ที่ 2 กำจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ แสงสว่าง
ก็เกิดขึ้น สมกับเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อนมีตนส่งไป
แล้วแลอยู่ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่.
[429] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนั้นแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. เราได้รู้ชัดตาม
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาดำเนินถึง
ความดับทุกข์ ได้รู้ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะทั้งหลาย นี้เหตุให้อาสวะทั้ง
หลายเกิดขึ้น นี้ความดับอาสวะทั้งหลาย นี้ปฏิปทาดำเนินถึงความดับอาสวะ
ทั้งหลาย. เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ ทั้งจากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณหยั่งรู้
ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นอีก

เพื่อความเป็นเช่นนี้ไม่มี ดังนี้. อัคคิเวสสนะ วิชาที่สาม เราได้บรรลุใน
ยามที่สุดแห่งราตรี กำจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมือเสีย
ได้ แสงสว่างก็เกิดขึ้น สมกับที่เป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน
ส่งไปแล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้.
[430] อัคคิเวสสนะ เราแลเป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยยังจำ
ได้คนหนึ่งๆ ย่อมสำคัญเราอย่างนี้โดยแท้ว่า พระสมณโคดม ปรารภเราที
เดียวแสดงธรรม ดังนี้. อัคคิเวสสนะ ข้อนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนี้ ตถาคตย่อม
แสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ด้วยอาการอันชอบแท้ ในที่สุดเพียง
เพื่อให้รู้แจ้งเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ในที่สุดคาถานั้นๆ เรานั้นยังจิตอันเป็นภาย
ในอย่างเดียว ให้ตั้งพร้อมอยู่ ในสงบ ให้ตั้งมั่น ทำสมาธิเป็นธรรมมีอารมณ์
เป็นอันเดียวผุดขึ้นในสมาธินิมิต ที่เราอยู่ตลอดกัปเป็นนิจ
ส. นี่คำของพระโคดม ควรเชื่อได้ สมเป็นคำของพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้านั้น. พระโคดมทรงจำได้อยู่หรือ เรื่องทรงบรรทมหลับกลาง
วัน.
พ. เราจำได้อยู่ อัคคิเวสสนะ เมื่อเดือนท้ายฤดูคิมหะ เรากลับจาก
บิณฑบาตแล้ว ภายหลังภัตรให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็น 4 ชั้น ลงแล้ว มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ หยั่งลงสู่ความหลับ โดยข้างขวา.
ส. พระโคดม สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ก็ติเตียนข้อนั้นได้ในเพราะ
อยู่ด้วยความลุ่มหลง.
พ. อัคคิเวสสนะ บุคคลจะเป็นผู้หลงหรือไม่เป็นผู้หลง ด้วยอาการเพียง
เท่านั้นก็หาไม่. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ว่าบุคคลจะเป็นผู้หลง หรือไม่เป็นผู้
หลง ด้วยอาการใด ท่านจงฟังอาการนั้น ทำไว้ในใจให้ดีเถิด. เรา

จักกล่าว สัจจกนิคันถบุตร ได้รับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น
พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว.

ตรัสความเป็นผู้หลงและไม่หลง



[431] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า "อัคคิเวส-
สนะ ก็บุคคลเป็นคนหลงนั้นอย่างไร อัคคิเวสสนะ อาสวะ เหล่าใดอันระคน
ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย
มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อันใครๆ ยังละเสียไม่ได้
แล้ว เรากล่าวว่าผู้นั้นเป็นคนหลง อัคคิเวสสนะ ด้วยว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นคน
หลง ก็เพราะยังละอาสวะทั้งหลายเสียไม่ได้. อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใด
อันระคนด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรน
ทุราย มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปอันใครๆ ละเสียได้
แล้ว เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่หลง อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใดอันระคน
ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย
มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทำใหม่
มูลรากอันขาด ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจของตาล ทำไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อ
ไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดอันขาดเสีย
แล้ว ไม่ควรเพื่อจะงอกขึ้นได้อีกฉันใด อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใด อันระคน
ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย มีทุกข์
เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะ ต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทำให้มีมูลราก
อันขาด ทำไม่ให้มีที่ตั้งอยู่ได้ดุจของตาล ทำไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป
เป็นธรรมดา เหมือนกันฉะนั้นแล.