เมนู

6.มหาสัจจกสูตร


สัจจกนิคันถบุตรทูลถามปัญหา



[405] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
(เรือนยอดกว้างใหญ่) ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี. ก็แล สมัยนั้น ตอนเช้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตรและจีวร มีพระพุทธประสงค์จะเสด็จ
เข้าไปทรงบาตร ณ กรุงเวสาลี. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตร เมื่อเดินเที่ยว
ไปมาอยู่ ่ ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ถึงกูฏาคารศาลา. พระอานนท์ได้เห็นสัจจก
นิคันถบุตรกำลังมาแต่ไกลก่อน ครั้นเห็นแล้ว จึงได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้เป็นคนพอใจนั่งสนทนา
ด้วยลัทธินั้นๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้าปัญญา มหาชนสมมติว่า เป็นคน
มีความรู้ดี มาอยู่ ณ บัดนี้. พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้แล ใคร่จะ
ติเตียนพระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์, พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า โปรดประทับนั่งสักครู่ เพื่อทรงอนุเคราะห์ จะเป็นการดี พระผู้
มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูไว้. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถ
บุตร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า, ครั้นเข้าไปถึงแล้วได้บันเทิง,
ปราศรัยแต่ล้วนถ้อยคำที่น่าบันเทิง น่าระลึกกับด้วยพระผู้มีพระภาค
เจ้า นั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง
[406] ครั้นสัจจกนิคันถบุตรนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่พระโคดมสมณพราหมณ์พวก
หนึ่งประกอบเพียรแต่กายภาวนาอยู่, แต่ไม่ประกอบจิตตภาวนา พระ
โคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาอันเกิดในสรีระ.

พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้ว เมื่อบุคคลที่ทุกขเวทนาเกิดในสรีระ. ถูกต้อง
แล้ว ชื่อว่าการเมื่อยขาบ้างก็จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้าง จักแตกไป, โลหิตที่ร้อน
บ้าง จักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระโคดม จิตนี้ย่อม
เนื่องด้วยกาย, เป็นไปด้วยอำนาจของกาย ของบุคคลนั้นแล. ข้อนั้น เพราะ
อะไร เพราะยังไม่ได้อบรม. มีอยู่ พระโคดม ส่วนว่า สมณะและพราหมณ์
พวกหนึ่ง ประกอบความเพียรทางจิตตภาวนาอยู่ แต่ไม่ประกอบกายภาวนา.
พระโคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาทาง
จิตและเจตสิก. พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้ว เมื่อบุคคล ที่ทุกขเวทนาเป็นไปใน
จิตถูกต้องแล้ว ชื่อว่า การเมื่อยขา จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้าง จักแตกไป,
โลหิตที่ร้อนบ้าง จักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระ
โคดม กายนี้เนื่องด้วยจิต เป็นไปด้วยอำนาจของจิตของบุคคลนั้นแล. ข้อ
นั้น เพราะเหตุอะไร เพราะกายยังไม่ได้อบรม. พระโคดม ความสำคัญ
ของข้าพเจ้านั้น มีอยู่อย่างนี้ว่า "เหล่าสาวกของพระโคดม คงจะประกอบ
เพียรแต่จิตตภาวนาอยู่ ไม่ประกอบกายภาวนา อย่างแน่นอน"
[407] พ. ก็กายภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากะไร
ส. พระโคดม ก็ท่านผู้มีชื่อเหล่านี้ คือชื่อนันทะเป็นวัจฉโคตร ชื่อกีสะ
เป็นสังกิจจโคตร ชื่อมักขลิเกิดในโรงโค 1, ล้วนถือเพศเปลือย ไร้มารยาท
เลียมือ, ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลร้องว่ามานี่เจ้าข้า...หยุดก่อนเจ้าข้า,
ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลตรงเข้ามาให้...ที่บุคคลเจาะจงให้..ที่บุคคลนิมนต์,
ท่านเหล่านั้น ไม่รับภัตตาหารแต่ปากหม้อ...แต่ก้นกะทะ...ที่ยืนคร่อม
ประตูให้...ที่ยืนคร่อมท่อนไม้ให้...ที่ยืนคร่อมสากให้...เมื่อชนทั้งสองกำลัง
บริโภคอยู่...ของหญิงมีครรภ์...ของแม่ลูกอ่อนกำลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่...ของ
หญิงไปสู่ชายชู้แล้ว, ไม่รับภัตตาหารทั้งหลายที่เรี่ยไร ไม่รับภัตตาหารในที่

สุนัข มีสุนัขปรากฏ...ในที่แมลงวันตอมเป็นหมู่ ไม่รับปลา...เนื้อ, ไม่ดื่ม
สุรา...เมรัย...น้ำเจือด้วยแกลบ (น้ำอุ) คือ ท่านเหล่านั้น รับเรือนเดียว บริโภคคำ
เดียวบ้าง, รับสองเรือน บริโภคสองคำบ้าง ฯลฯ รับเจ็ดเรือน บริโภคเจ็ดคำ
บ้าง. ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยถาดใบเดียวบ้าง, ด้วยถาดสองใบบ้าง, ฯลฯ
...เจ็ดใบบ้าง, นำอาหารมาวัน 1 บ้าง, ...2 วันบ้าง ฯลฯ 7 วันบ้าง,
ท่านประกอบความเพียรด้วยการบริโภคตามวาระ สิ้นกาลประมาณกึ่งเดือน
บ้าง อยู่ด้วยประการดังนี้.
พ. อัคคิเวสสนะ ก็ท่านเหล่านั้น ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการบริโภค
ภัตตาหาร เพียงเท่านั้นหรือ
ส. ข้อนี้ หามิได้เลย, พระโคดม บางคราว ท่านก็ขบฉันของควรขบ
ฉันที่ประณีตๆ ฉันโภชนะที่ประณีต ๆ ลิ้มของลิ้มที่ประณีต ๆ ดื่มน้ำควรดื่ม
ที่ประณีตๆ ท่านเหล่านั้น ชื่อว่ายังกายนี้ให้ถือเอากำลัง ชื่อว่า ให้เติบโต
ให้เกิดไขมัน.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านเหล่านั้น ละการทำสิ่งที่ยากมีในก่อนเสีย
แล้ว ทำให้อิ่มหนำสำราญในภายหลัง ความเจริญแลความเสื่อมย่อมมีแก่กาย
นี้อย่างนี้.

ว่าด้วยกายภาวนา และจิตตภาวนา



[408] อัคคิเวสสนะ ก็จิตตภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากระไรเล่า
สัจจกนิคันถบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามในจิตตภาวนาแล้ว
ไม่สามารถจะกราบทูลได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธพจน์
นี้ กะสัจจกนิคันถบุตรว่า "อัคคิเวสสนะ ถึงกายภาวนาใด มีอยู่แต่ก่อน
ที่ท่านได้เจริญแล้ว แม้กายภาวนานั้น ไม่เป็นธรรม ในอริยวินัย อัคคิเวส