เมนู

เหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่
ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไป
เพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.
[157] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความ
รอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อม
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ย่อม
บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสใน
ศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสใน
ธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้
บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้นเรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่า
พอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้นเรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในพระธรรมวินัย
เห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นเป็น
ความเลื่อมใสในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำ
ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ อันท่านผู้รู้เองโดยชอบ ประกาศแล้ว.

ตัณหาเป็นเหตุเกิดอุปาทาน


[158] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน 4 เหล่านี้ มีอะไรเป็น
ต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อุปาทาน
4 เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มี
ตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มี
อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. ตัณหามีเวทนา
เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะ
เป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด. ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มี
สฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬาย-
ตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด. สฬายตนะมีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด
มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนามรูปนี้เล่า
มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด. นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด
มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ
นี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด. วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร
เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไร
เป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้ เพราะวิชชา
บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน. ย่อมไม่ถือมั่น
สีลัพพตุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ
ชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแล.
จบ จูฬสีหนาทสูตร ที่ 1

อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี



พรรณนามูลปัณณาสก์


ภาคที่ 2


พรรณนาสีหนาทวรรค



อรรกถาจุลลสีหนาทสูตร1


จุลลสีหนาทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
ก็เพราะจุลลสีหนาทสูตรนั้น มีการสรุปถึงความอุบัติของเรื่อง เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าแสดงการสรุปนั้นแล้ว จักทำการพรรณนาบทโดยไม่ตามลำดับ
แห่งจุลลสีหนาทสูตรนั้น. ก็เรื่องนี้ได้ยกขึ้นกล่าวในความอุบัติของเรื่องอะไร.
ในเรื่องที่เดียรถีย์คร่ำครวญ เพราะลาภสักการะเป็นปัจจัย. ได้ยินว่า ลาภ-
สักการะใหญ่ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยนัยที่กล่าวแล้วในธัม-
มทายาทสูตร.
ก็โลกสันนิวาสนี้มีประมาณ 4 ดำรงอยู่แล้วโดย 4 อย่าง ด้วยอำนาจ
แห่งบุคคลเหล่านี้คือ บุคคลผู้มีประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป มีประมาณใน
เสียง เลื่อมใสในเสียง มีประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้า-
หมอง มีประมาณในธรรม เสื่อมใสในธรรม. ข้อการทำให้ต่างกันของบุคคล
เหล่านั้นดังนี้. ก็บุคคลผู้มีประมาณในรูป เลื่อมใสในรูปเป็นไฉน บุคคลบาง
คนในโลกนี้เห็นความเจริญขึ้น หรือเห็นความเจริญเต็มที่ เห็นความบริบูรณ์
หรือเห็นทรวดทรง ถือประมาณในรูปนั้นแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น
บาลี. จูฬสีหนาทสุตฺตํ