เมนู

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร


มหาสีหนาทสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ ดังนี้ :-
ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนคร
ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น . ได้ยินว่า พระนครนั้น ถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็น
นครเจริญไพศาลบ่อย ๆ. ในมหาสีหนาทสูตรนั้น มีการกล่าวตามลำดับดังนี้.
ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระครรภ์. พระนาง
ทรงทราบแล้ว ทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาได้พระราชทานเครื่อง
บริหารพระครรภ์. พระนางเมื่อทรงได้รับการบริหารโดยชอบ ก็เสด็จเข้าสู่
เรือนเป็นที่ทรงประสูติ ในกาลทรงมีพระครรภ์แก่. ในสมัยใกล้รุ่ง ผู้มีบุญ
ทั้งหลายก็ได้คลอดออกจากพระครรภ์. ก็พระนางนอกจากพระเทวีเหล่านั้น ทรง
ประสูติชิ้นเนื้อเป็นเช่นกับกลีบดอกชบาที่ไม่เหี่ยวแห้งในสมัยใกล้รุ่งนั้น. พระเทวี
เหล่าอื่นจากพระอัครมเหสีนั้น ทรงประสูติพระโอรสทั้งหลายเป็นเช่นกับ
พิมพ์ทอง. พระนางอัครมเหสีทรงรู้ว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงทรงดำริว่า ความอัปยศ
ของเรา พึงเกิดขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ดังนี้ เพราะความทรงกลัว
ต่อความอัปยศนั้น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นในภาชนะหนึ่ง ทรงปิด ทรงประทับ
ตราพระราชลัญจกร ทรงให้ทิ้งลงในกระแสน้ำคงคา. ครั้นเมื่อภาชนะนั้นสักว่า
มนุษย์ทิ้งแล้ว เทพดาทั้งหลายก็เตรียมการรักษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้จารึก
แผ่นทองคำด้วยชาดสีแดง ผูกไว้ในภาชนะนั้นว่า ราชโอรสของพระอัครมเหสี
แห่งพระเจ้าพาราณสี. แต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ถูกภัยทั้งหลายมีภัยแต่คลื่นเป็นต้น
เบียดเบียนเลย ได้ลอยไปตามกระแสน้ำคงคา. ก็โดยสมัยนั้น ยังมีดาบสตนหนึ่ง
อาศัยตระกูลผู้เลี้ยงโคอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. ดาบสนั้นลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่

ได้เห็นภาชนะนั้นลอยมา จึงจับยกขึ้นด้วยสำคัญว่าเป็นบังสุกุล. ลำดับนั้น
ได้เห็นแผ่นอักษรและรอยพระราชลัญจกรนั้นในภาชนะนั้นแล้ว แก้ออกดูเห็น
ชิ้นเนื้อนั้น. ดาบสนั้นครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า พึงเป็นครรภ์. แต่ทำไมครรภ์นั้น
จึงไม่เหม็นและไม่เน่าเล่า จึงนำมาสู่อาศรมตั้งไว้ในโอกาสอันหมดจด. ลำดับ
นั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เป็นสองส่วน. ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ในที่ดีกว่า.
โดยล่วงไปอีกกึ่งเดือนจากนั้น ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็แบ่งเป็นปมอย่างละห้าปม
เพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ. ลำดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือนจากนั้น
ชิ้นเนื้อหนึ่งเป็นเด็กชายเช่นกับพิมพ์ทอง ชิ้นหนึ่งเป็นเด็กหญิง. ดาบสได้เกิด
ความรักดุจบุตรในเด็กเหล่านั้น. น้ำนมได้เกิดแม้แต่หัวแม่มือของดาบสนั้น.
ก็จำเดิมแต่นั้น ได้น้ำนมเป็นภัต. ดาบสนั้น บริโภคภัตแล้ว หยอดน้ำนมใน
ปากของทารกทั้งหลาย. สถานที่ซึ่งดาบสเข้าไปทั้งหมด ปรากฏแก่ทารก
เหล่านั้น เหมือนอยู่ในภาชนะแก้วมณี. ทารกทั้งสองปราศจากฉวีอย่างนี้ .
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทารกเหล่านั้น มีฉวีเร้นลับกันและกันดุจเย็บตั้งไว้.
ด้วยประการฉะนี้ ทารกเหล่านั้นจึงปรากฏว่า ลิจฉวี เพราะความที่ทารก
เหล่านั้น ปราศจากผิว หรือมีผิวเร้นลับ . ดาบสเลี้ยงดูทารกทั้งหลาย เข้าไปสู่
บ้านในกลางวันเพื่อภิกษา. กลับมาเมื่อสายมาก. คนเลี้ยงโคทั้งหลายรู้ความ
กังวลนั้นของดาบสนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงดูทารกย่อม
เป็นกังวลแก่นักบวช ขอท่านจงให้ทารกเหล่านั้นแก่พวกผมเถิด พวกผมจัก
เลี้ยงดู. ท่านจงทำการงานของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีแล้ว. ในวันที่สอง
นายโคบาลทั้งหลายทำทางให้ราบเรียบ โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ยกธงผ้า
มีดุริยางค์บรรเลง มาสู่ทางอันไม่ราบเรียบ. ดาบสกล่าวว่า ทารกเป็นผู้มีบุญมาก
ท่านทั้งหลายจงให้เจริญด้วยความไม่ประมาท และครั้นให้เจริญแล้ว จงทำ
อาวาหวิวาหะแก่กันและกัน ท่านทั้งหลายต้องให้พระราชาทรงพอพระทัยด้วย

ปัญจโครส จับจองพื้นที่สร้างนคร อภิเษกกุมารในนครนั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้
ทารกทั้งหลาย. นายโคบาลเหล่านั้นรับว่า ดีละ นำทารกทั้งหลายไปเลี้ยงดู.
ทารกทั้งหลายอาศัยความเจริญ เล่นอยู่ก็ประหารเด็กนายโคบาลเหล่าอื่นด้วยมือ
บ้าง ด้วยเท้าบ้าง ในที่ทะเลาะกัน. ก็เด็กของนายโคบาลเหล่านั้นร้องไห้อยู่
ผู้อันบิดามารดาพูดว่า พวกเจ้าร้องไห้เพื่ออะไร จึงบอกว่า เด็กผู้ไม่มีบิดา
มารดาซึ่งดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ประหารพวกผมเหลือเกิน. แต่นั้นบิดามารดาของเด็ก
เหล่านั้น จึงกล่าวว่า เด็กสองคนนี้ ยังเด็กพวกอื่นให้พินาศ ให้ถึงความทุกข์
พวกเราไม่พึงสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ ควรไล่เด็กเหล่านี้ออกไปเสีย ดังนี้. ได้ยิน
ว่า จำเดิมแต่กาลนั้น ประเทศนั้น จึงเรียกว่า วัชชี. ลำดับนั้น นายโคบาล
ทั้งหลายยังพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ได้รับประเทศนั้นโดยปริมาณหนึ่งร้อย
โยชน์. และได้สร้างนครในประเทศนั้นแล้ว อภิเษกกุมาร ซึ่งมีอายุได้สิบหกปี
ให้เป็นพระราชา. ได้ให้พระราชานั้นทรงทำวิวาหะกับเด็กหญิงแม้นั้นแล้ว
ทำกติกาว่า พวกเราไม่พึงนำเด็กหญิงมาจากภายนอก ไม่พึงให้เด็กชายจาก
ตระกูลนี้แก่ใคร ดังนี้. ด้วยการอยู่ร่วมกันครั้งแรก เขาทั้งสองคนนั้นมีบุตร
แฝดสองคน คือ ธิดา 1 บุตร 1 โดยประการฉะนี้ จึงมีบุตรแฝดถึงสิบหกครั้ง.
ต่อแต่นั้น ทารกเหล่านั้นเจริญขึ้นตามลำดับ จึงขยายนครซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อ
เอาเป็นอารามอุทยานสถานที่อยู่ และบริวารสมบัติ ถึง 3 ครั้ง โดยห่างกัน
ครั้งละหนึ่งคาวุต. นครนั้นจึงมีชื่อว่า เวสาลี เพราะความเป็นนครที่มีความ
เจริญกว้างขวางบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิยํ ความว่า
ใกล้พระนครที่มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า พหินคเร ความว่า ในภายนอกแห่งพระนคร คือไม่ใช่
ภายในพระนครเหมือนอัมพปาลีวัน. ก็นี้คือ ราวป่าภายนอกพระนคร เหมือน
ชีวกัมพวัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในภายนอกพระนคร. บทว่า

อปรปุเร ความว่า ตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก คือ ในทิศตะวันตก. บทว่า
วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า ราวป่านั้นอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุต ในทิศ
ตะวันตกแห่งพระนคร. ในราวป่านั้น มนุษย์ทั้งหลายทำพระคันธกุฏิถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้อมพระคันธกุฏินั้น ตั้งที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน
ที่จงกรม ที่เร้น กุฏิ มณฑปเป็นต้น. ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับอยู่ในราวป่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในราวป่า
ด้านตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก. คำว่า สุนักขัตตะ นั้นเป็นชื่อของเขา
ก็สุนักขัตตะนั้นเรียกว่า ลิจฉวีบุตร เพราะความที่เขาเป็นบุตรของลิจฉวีทั้ง
หลาย. บทว่า อจิรปุกฺกนโต ความว่า สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์หลีกไปไม่
นาน. บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. กุศลกรรมบถ 10 ชื่อว่า
มนุษยธรรม ในบทนี้ว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา สุนักขัตตะไม่อาจเพื่อจะ
ปฏิเสธกุศลกรรมบถ 10 เหล่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่คำตำหนิ.
ด้วยว่า ในเมืองเวสาลี มนุษย์จำนวนมากเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย นับถือ
พระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ มนุษย์เหล่านั้น ครั้นเมื่อ
สุนักขัตตะกล่าวว่า แม้สักว่า กุศลกรรมบถสิบของพระสมณโคดมไม่มี ดังนี้
ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฆ่าสัตว์ในที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาของที่ไม่ได้ให้ในที่ไหน แล้วพึงกล่าวว่า ท่าน
ไม่รู้ประมาณของตน ท่านกินหินและก้อนกรวด ด้วยคิดว่าฟันทั้งหลายของ
เรามีหรือ ท่านพยายามเพื่อจะจับหางงู ท่านปรารถนาเพื่อจะเล่นพวงดอกไม้
ในฟันเลื่อย พวกเราจักยังฟันทั้งหลายของท่านให้หลุดร่วงจากปาก ดังนี้.
เขาไม่อาจเพื่อจะกล่าวอย่างนี้เพราะกลัวแต่การตำหนินั้น. ก็เขาเมื่อจะปฏิเสธ
การบรรลุคุณพิเศษนอกจากอุตตริมนุษยธรรมนั้น จึงกล่าวว่า ญาณทัสสนะ
พิเศษอันควรเป็นพระอริยเจ้านอกจากมนุษยธรรม ดังนี้. ในบทนั้น ชื่อว่า

อลมริยะ เพราะควรเพื่อรู้อริยะ อธิบายว่า อันสามารถเพื่อความเป็นพระอริย
เจ้า. ญาณทัสสนะนั้นเทียว ชื่อว่า ญาณทัสสนะวิเศษ ญาณทัสสนวิเสส
นั้นด้วย เป็นอันควรแก่พระอริยเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อลมริยญาณ.
ทัสสนวิเสส
ทิพยจักษุก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ปัจจเวกขณ
ญาณก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี เรียกว่า ญาณทัสสนะ. จริงอยู่ ทิพยจักษุ
ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมบรรลุญาณทัสสนะ.
ก็วิปัสสนาญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า นำไปเฉพาะ น้อมไป
เฉพาะซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. มรรค ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า
เขาเหล่านั้น ไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ผลญาณ
ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรแก่พระอริยเจ้า
นอกจากอุตริมนุษยธรรมนี้ อันเป็นการอยู่ผาสุก ได้บรรลุแล้วกระมัง.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้น
แก่เราแล้ว วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะของเราได้
เกิดขึ้นแล้ว อาฬารดาบส กาฬามโคตร ได้ถึงแก่กรรมแล้ว 7 วัน. ส่วน
โลกุตตรมรรค ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็สุนักขัตตะนั้นปฏิเสธโลกุตตรมรรค
แม้นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ห้ามอาจารย์ด้วยบทนี้ว่า ตกฺกปริยาหตํ.
นัยว่า เขามีปริวิตกอย่างนี้ ธรรมดาพระสมณโคดมทรงเข้าหาอาจารย์ทั้งหลาย
แล้ว ถือเอาลำดับธรรมอันละเอียดไม่มี ก็พระสมณโคดม ทรงแสดงธรรม
ยึดความตรึก คือ ทรงตรึก ทรงตรองแล้ว แสดงธรรมยึดความตรึกว่าจัก
เป็นอย่างนี้ จักมีอย่างนั้น ดังนี้. ย่อมรับรู้โลกิยปัญญาของพระสมณโคดมนั้น
ด้วยบทนี้ว่า วีมํสานุจริตํ. พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา. พระสมณ
โคดมนั้น ทรงยังพระวิมังสาอันเปรียบเหมือนอินทวิเชียร กล่าวคือปัญญานั้น

ให้เที่ยวไปข้างนั่นและข้างนี้ว่า จักเป็นไปอย่างนั้น จักเป็นไปอย่างนี้ ย่อม
ทรงแสดงธรรมคล้อยตามพระวิมังสา. ห้ามความที่พระสมณโคดมนั้น ทรง
ประจักษ์ในธรรมทั้งหลาย ด้วยบทนี้ว่า สยํ ปฏิภานํ. ก็สุนักขัตตะนั้นมีความ
คิดอย่างนี้ว่าวิปัสสนา หรือมรรค หรือผล อันเป็นลำดับแห่งธรรมอันละเอียด
ของพระสมณโคดมนั้น ชื่อว่า ประจักษ์ย่อมไม่มี ก็สมณโคดมนี้ ทรงได้
บริษัท วรรณ 4 ย่อมแวดล้อมพระองค์เหมือนพระจักรพรรดิ ก็ไรพระทนต์
ของพระองค์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน พวะสุรเสียงอ่อนหวาน พระวาจา
ไม่มีโทษ พระองค์ทรงถือเอาสิ่งที่ปรากฏแก่เทพแล้ว ตรัสพระดำรัสตาม
ไหวพริบของพระองค์ทรงยังมหาชนให้ยินดี. บทว่า ยสฺส จ ขฺวสฺส อตฺถาย
ธมฺโม เทสิโต
ความว่า ก็ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่
บุคคลใดแล. อย่างไร. คือ อสุภกรรมฐาน เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดราคะ
เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโทสะ ธรรม 5 ประการ เพื่อ
ประโยชน์แก่การกำจัดโมหะ อานาปานัสสติ เพื่อตัดวิตก. บทว่า โส นิยฺยาติ
ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย
ความว่า สุนักขัตตะแสดงว่า ธรรมนั้น
ย่อมนำออก คือ ไป เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์โดยชอบ คือ โดยเหตุ
โดยนัย โดยการณ์ แก่ผู้ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น คือ ยังประโยชน์นั้น
ให้สำเร็จ. แก่สุนักขัตตะไม่กล่าวถึงเนื้อความนี้นั้น ด้วยอัธยาศัยของตน.
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเครื่องไม่นำออกจาก
ทุกข์ ดังนี้. แต่ไม่สามารถจะกล่าวได้. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่การถูก
ตำหนิ. จริงอยู่ ในเมืองเวสาลี มีอุบาสกเป็นโสดาบัน สกทาคามีและอนาคามี
จำนวนมาก. อุบาสกเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะสุนักขัตตะ ท่านกล่าวว่า
ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ดังนี้
ผิว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ไซร้ เพราะเหตุไร ในนครนี้

อุบาสกเหล่านี้ เป็นโสดาบันประมาณเท่านี้ เป็นสกทาคามีประมาณเท่านี้ เป็น
อนาคามีประมาณเท่านี้เล่า. อุบาสกเหล่านั้น พึงกระทำการคัดค้าน โดยนัยที่
กล่าวแล้วในบทก่อน. สุนักขัตตะนั้น เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวว่า ธรรมนี้ไม่
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เพราะกลัวถูกตำหนินี้ จึงกล่าวว่า ธรรมของ
พระสมณโคดมนั้น ไม่เป็นโมฆะ ย่อมนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เหมือนท่อนไม้
ที่เขาทิ้งไว้โดยไม่ถูกเผา แต่พระสมณโคดมนั้น ไม่มีอะไรในภายในเลย ดังนี้.
บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า เมื่อ สุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ ในท่ามกลาง
บริษัทนั้น ๆ ในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลพราหมณ์และตระกูลเศรษฐีเป็นต้น
ในพระนครเวสาลี ท่านพระสารีบุตรได้ฟังคำพูดนั้นแล้ว ไม่คัดค้าน. เพราะ
เหตุไร. เพราะท่านมีความกรุณา. นัยว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดำริ
อย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้ กระเสือกกระสนด้วยอำนาจแห่งความโกรธ เหมือน
ไม้ไผ่ถูกเผา และเหมือนเกลือที่ถูกใส่ในเตาไฟ ก็สุนักขัตตะถูกเราคัดค้าน
แล้ว จักผูกความอาฆาตแม้ในเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนักขัตตะนั้น ก็จัดผูก
อาฆาตเป็นภาระอย่างยิ่ง ในชนทั้งสอง คือ ในพระตถาคตและในเรา เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่คัดค้านเพราะท่านมีความกรุณา. อนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั้น
มีความดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาการกล่าวตำหนิพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่น
กับโปรยโทษในพระจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ใครเล่าจักถือเอาถ้อยคำของสุนักขัตตะนี้
เขาเองนั้นแหละ ครั้นหมดน้ำลาย ปากแห้งแล้วจักงดการกล่าวตำหนิ เพราะ
ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คัดค้าน เพราะความกรุณานี้. บทว่า ปิณฺฑ-
ปาตปฏิกฺกนฺโต
ความว่า กลับจากการแสวงหาบิณฑบาตแล้ว. บทว่า
โกธโน คือ เป็นผู้ดุร้าย คือ เป็นผู้หยาบคาย. บทว่า โมฆปุริโส ความว่า
บุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค
และผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล

ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาด
อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ. บทว่า โกธา จ ปนสฺส
เอสา วาจา ภาสิตา
ความว่า ก็วาจาของสุนักขัตตะนั้นนั่นและ ได้กล่าว
แล้วด้วยความโกรธ.
ก็เพราะเหตุไร สุนักขัตตะนั้นจึงโกรธพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะใน
กาลก่อน สุนักขัตตะนี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงการบริกรรม
ทิพยจักษ . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่สุนักขัตตะนั้นแล้ว. สุนัก
ขัตตะนั้น ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เจริญอาโลกสัญญา เมื่อมองดูเทวโลก ก็ได้
เห็นเทพบุตรทั้งหลาย และเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งกำลังเสวยทิพยสมบัติในนันทน-
วัน จิตตลดาวัน ปารุสกวัน และมิสสกวัน เป็นผู้ประสงค์จะฟังเสียงของ
เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ที่ดำรงอยู่ในอัตภาพสมบัติเห็นปานนั้นว่า จักมี
เสียงอ่อนหวานอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วทูลถามการบริกรรม
ทิพยโสตธาตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า สุนักขัตตะนั้น ไม่มีอุปนิสัย
แห่งทิพยโสตธาตุ จึงไม่ตรัสบอกการบริกรรมแก่เขา. เพราะพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมไม่ตรัสบริกรรมแก่ผู้เว้นจากอุปนิสสัย. เขาได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค
เจ้าแล้ว คิดว่า เราได้ทูลถามการบริกรรมถึงทิพยจักษุครั้งแรกกะพระสมณโค-
ดม พระองค์ได้ตรัสแก่เราว่า ทิพยจักษุบริกรรมนั้น จงสำเร็จ หรือว่าจง
อย่าสำเร็จ แต่เรายังทิพยจักษุบริกรรมนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำของบุรุษจำเพาะ
ตนแล้ว จึงถามถึงการบริกรรมโสตธาตุ พระองค์ไม่ตรัสบอกการบริกรรรม
โสตธาตุนั้นแก่เรา ชะรอยพระองค์จะมีพระดำริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้บวช
จากราชตระกูล ยังทิพยจักษุญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ยังทิพยโสตธาตุญาณให้เกิด
ยังเจโตปริยญาณให้เกิด ยังญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้เกิดแล้ว

จักทัดเทียมเราแน่แท้ พระองค์จึงไม่ตรัสบอกแก่เราด้วยอำนาจแห่งความ
ริษยาและความตระหนี่ ดังนี้. สุนักขัตตะผูกอาฆาตโดยประมาณยิ่งแล้ว ทิ้งผ้า
กาสายะทั้งหลายแล้วแม้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่นิ่งเที่ยวไป. แต่เขากล่าว
ตู่พระทศพล ด้วยความเปล่าไม่เป็นจริงเที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วาจานั้นเขากล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้. บทว่า
วณฺโณ เหโส สารีปฺตฺต ความว่า ดูกรสารีบุตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี
ทั้งหลายอยู่สิ้นสื่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์
แห่งบารมีเหล่านั้น เทศนาธรรมของเราจักเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้
เพราะฉะนั้น ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวสรรเสริญตถาคตนั่นเทียว.
พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็การสรรเสริญนั้นเป็นคุณ นั้นเป็นคุณ
ของตถาคต. ทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นต้นว่า อยํปิ หิ นาม สารีปุตฺต
ดังนี้. ทรงแสดงความที่อุตตริมนุษยธรรม ที่สุนักขัตตะปฏิเสธมีอยู่ในพระองค์.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ โดยนัยว่า อยํปิ หิ นาม
สารีปุตฺต
เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอรรถนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนี้
เป็นโมฆบุรุษ ย่อมกล่าวว่า อุตตริมนุษยธรรมของพระตถาคตไม่มี ดังนี้
ก็เรามีสัพพัญญุตญาณ มีอิทธิวิธญาณ มีทิพยโสตธาตุญาณ มีเจโตปริยญาณ
มีทศพลญาณ มีจตุเวสารัชชญาณ มีญาณที่ไม่ครั้นคร้ามในบริษัทแปด
มีญาณกำหนดกำเนิดสี่ มีญาณกำหนดคติห้า ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ก็คือ อุตตริมนุษยธรรมนั้นเทียว ก็ธรรมดา แม้สักว่า ความคล้อยตาม
ธรรมที่สามารถรู้อุตตริมนุษยธรรมแม้ข้อหนึ่งในบรรดาอุตตริมนุษยธรรมเห็น
ปานนี้ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น ดังนี้. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า อันวยะ
เพราะอรรถว่า คล้อยตาม อธิบายว่ารู้คือรู้ตาม ความคล้อยตามธรรม ชื่อ
ธัมมันวยะ. นั้นเป็นชื่อของปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมมีสัพพัญญุตญาณ
เป็นต้นนั้น ๆ. ทรงแสดงว่า แม้ธัมมันวยะ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อ

ให้รู้อุตตริมนุษยธรรม กล่าวคือ สัพพัญญุตญาณแม้เห็นปานนี้ ของเรา
มีอยู่นั่นเทียวว่า มีอยู่ ด้วยบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น. พึงทราบ
การประกอบอย่างนี้ แม้ในญาณทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ เป็นต้น. อนึ่ง พึง
กล่าววิชชา 3 ในลำดับแห่งเจโตปริยญาณในบทนั้นโดยแท้.
ถึงกระนั้นครั้นเมื่อวิชชา 3 เหล่านั้นกล่าวแล้ว ธรรมดาทศพลญาณ
เบื้องสูง ย่อมบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสวิชชา 3 นั้น ทรงแสดงกระทำ
ให้บริบูรณ์ด้วยทสพลญาณของตถาคตจึงตรัสว่า ทส โข ปนิมานิ สารี-
ปุตฺต
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่พละของ
ตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับบุคคลเหล่าอื่น คือ พละที่มาแล้วโดยประการที่พละ
ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ซึ่งมาด้วยบุญสมบัติและอิสสริยสมบัติ.
ในพละเหล่านั้น พละของตคถาคตมี 2 อย่าง คือ กายพละ 1 ญาณพละ 1.
ในพละเหล่านั้น กายพละ พึงทราบโดยทำนองแห่งตระกูลช้าง. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่โบราณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
ตระกูลช้าง 10 ตระกูล นี้คือ กาฬา-
วกะ 1 คังเคยยะ 1 ปัณฑระ 1 ตัมพะ1
ปิงคละ 1 คันธะ 1 มังคละ 1 เหมะ 1
อุโบสถ 1 ฉัททันตะ 1.

ก็ตระกูลแห่งช้าง 10 ตระกูลเหล่านี้. ในตระกูลช้างเหล่านั้น พึงเห็นตระกูลช้าง
ธรรมดาว่า กาฬาวกะ. กำลังกายของบุรุษ 10 คน เท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ 1
เชือก. กำลังของช้างกาฬาวกะ 10 เชือก เท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ 1 เชือก.
กำลังช้างคังเคยยะ 10 เชือก เท่ากับกำลังช้างปัณฑระ 1 เชือก. กำลังช้างปัณฑระ
10 เชือก เท่ากับกำลังช้างตัมพะ 1 เชือก. กำลังช้างตัมพะ 10 เชือก เท่ากับ
กำลังช้างปิงคละ 1 เชือก. กำลังช้างปิงคละ 10 เชือก เท่ากับกำลังช้าง
คันธะ 1 เชือก. กำลังช้างคันธะ 10 เชือก เท่ากับกำลังช้างมังคละ 1 เชือก.

กำลังช้างมังคละ 10 เชือก เท่ากับกำลังช้างเหมวัต 1 เชือก. กำลังช้างเหมวัต
10 เชือก เท่ากับกำลังช้างอุโบสถ 1 เชือก. กำลังช้างอุโบสถ 10 เชือก เท่า-
กับกำลังช้างฉัททันตะ 1 เชือก. กำลังช้างฉัททันตะ 10 เชือก เท่ากับกำลัง
พระตถาคต 1 พระองค์. ตถาคตพละนี้นั้นเทียวเรียกว่ากำลังรวมของพระนาราย-
นะบ้าง. กำลังนี้นั้น เป็นกำลังช้างพันโกฏิ ด้วยการนับช้างธรรมดา เป็นกำลัง
บุรุษสิบพันโกฏิ ด้วยการนับบุรุษ. นี้เป็นกำลังกายของพระตถาคตก่อน. ส่วน
ญาณพละมาแล้วในบาลีก่อนเทียว. ญาณหลายพันแม้เหล่าอื่นอย่างนี้คือ ทศพล
ญาณ จตุเวสารัชชญาณ ญาณในไม่ทรงครั้นคร้ามในบริษัทแปด ญาณกำหนด
กำเนิดสี่ ญาณกำหนดคติห้า ญาณ 73 ญาณ 77 ที่มาในสังยุตตนิกาย
นั่นชื่อ ญาณพละ. ญาณพละนั้นเทียวท่านประสงค์แล้ว แม้ในที่นี้. ก็ญาณท่าน
กล่าวว่า พละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว และอรรถว่า อุดหนุน. บทว่า เยหิ พเลหิ
สมนฺนาคโต
ความว่า ทรงถึง คือ ทรงถึงพร้อมด้วยญาณพละ 10 ประการ
เหล่าใด. บทว่า อาสภณฺฐานํ คือ ฐานะซึ่งประเสริฐที่สุด คือฐานะอุดม.
อธิบายว่า ฐานะแห่งพระพุทธเจ้าในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้นำเหล่านั้น. อนึ่ง
โคโจกในโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในโคพันตัวชื่อ วสภะ อีกประการหนึ่ง โค
โจกในคอกโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในคอกโคพันตัว ชื่อ วสภะ โคที่
เป็นโจกในโคทั้งปวง เป็นตัวนำฝูงโคทั้งหมด ขาวปลอด น่าเลื่อมใส นำภาระ
มาก ไม่หวั่นไหว ด้วยเสียงฟ้าผ่าร้อยครั้ง ชื่อ นิสภะ นิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า
อุสภะในที่นี้. จริงอยู่แม้คำนี้ เป็นคำโดยทางอ้อมของอุสะนั้น. ชื่อว่า อาสภะ
เพราะอรรถว่า นี้ของอุสภะ. บทว่า ฐานํ ความว่า ก็ฐานะที่ทำลายแผ่นดิน
ด้วยเท้าทั้ง 4 แล้วไม่หวั่นไหว นี้เป็นราวกะโคอุสภะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า อาสภะ. ก็โคอุสภะกล่าวคือ นิสภะ ถึงพร้อมด้วยกำลังแห่งใดอุสภะ

ทำลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้งสี่ แล้วยืนอยู่โดยไม่หวั่นไหวฉันใด แม้พระตถาคต
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ทรง
ทำลายแผ่นดินคือ บริษัทแปด ด้วยพระบาทคือเวสารัชชะ 4 ประการแล้ว ไม่
พลันพลึงต่อข้าศึก คือปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมกับเทวโลก ทรงดำรง
อยู่โดยไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ทรงประกาศ คือ ทรง
เข้าถึงฐานะแห่งความเป็นผู้นำนั้น คือทรงยกไว้ในพระองค์โดยไม่ประจักษ์.
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ. บทว่า ปริสาสุ คือ
ในบริษัทแปด. บทว่า สีหนาทํ นทติ ความว่า ทรงบันลือถึงการบันลือ
อันประเสริฐที่สุด คือ ที่ไม่มีใครกลัว หรือ ทรงบันลือถึงการบันลืออันเป็น
เช่นกับการบันลือของสีหะ. เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสีหนาทสูตร. อีกประการ
หนึ่ง ราชสีห์เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำและเพราะฆ่าฉันใด พระตถาคต
เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะฆ่าลัทธิของศาสดา
อื่น ๆ ฉันนั้น. การบันลือของสีหะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาทะ.
ในบทนั้นมีอธิบายว่า สีหะถึงพร้อมด้วยกำลังของสีหะแล้ว แกล้วกล้า
ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้สีหะ คือ พระ
ตถาคต ถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว แกล้วกล้า ปราศจาก
ขนพอง ทรงบันลือสีหนาท ที่ถึงพร้อมด้วยความกว้างขวางแห่งพระเทศนา
มีวิธีต่าง ๆ โดยนัยเป็นอาทิว่า รูป ด้วยประการฉะนี้ ในบริษัทแปดฉันนั้น.
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้.
ในบทว่า พฺรหมฺจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ ประเสริฐ
ที่สุด คือ อุดม สละสลวย. ก็ศัพท์แห่งจักรนี้

ย่อมปรากฏในสมบัติ ลักษณะ องค์
แห่งรถ อิริยาบถ ทาน รัตนะ และใน
จักรทั้งหลาย มีธรรมจักรเป็นต้น ท่าน
ประสงค์เอาในธรรมจักรนี้ ก็ธรรมจักร
นั้นแบ่งเป็น 2 อย่าง.

จริงอยู่ ศัพท์จักรนี้ ย่อมปรากฏในสมบัติ ในบททั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยจักรเหล่าใด จักรทั้งหลาย 4 นี้. ใน
ลักษณะในบทนี้ว่า จักรทั้งหลายเกิดแล้วในพื้นแห่งพระยุคลบาท ในองค์แห่งรถ
ในบทนี้ว่า จักรเทียว ชื่อว่า เป็นบทเพราะนำไป. ในอิริยาบถในบทนี้ว่า
จักรสี ทวารเก้า. ในทานในบทนี้ว่า เมื่อให้ทาน จงบริโภค และอย่าประมาท
จงหมุนจักรเพื่อสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. ในรัตนจักรในบทนี้ว่า จักรรัตนะอันเป็น
ทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. ในธรรมจักรในบทนี้ว่า จักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ใน
ขรุจักรในบทว่า จักรหมุนบดศีรษะของคนผู้อันริษยาครอบงำแล้ว. ในปหรจักร
ในบทนี้ว่า ถ้าแม้โดยจักรอันมีคมแข็งเป็นที่สุดรอบ. ในอสนิมณฑล ในบทนี้
ว่า อสนิจักร. ส่วนศัพท์จักรนี้ท่านประสงค์ในธรรมจักรนี้. ก็ธรรมจักรนั้น
มี 2 อย่างคือปฏิเวธญาณ 1 เทสนาญาณ 1. ในธรรมจักร 2 อย่างนั้น ธรรมจักร
ที่ปัญญาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผลแก่ตนชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรที่
กรุณาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผล แก่สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า เทสนาญาณ.
ในญาณทั้ง 2 นั้น ปฏิเวธญาณมี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นแล้ว. ก็
ปฏิเวธญาณนั้น ตั้งแต่การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า
เกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อนึ่งปฏิเวธญาณ
ตั้งแต่ชั้นดุสิต จนถึงพระอรหัตมรรคในมหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่.
ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. ปฏิเวธญาณตั้งแต่พระเจ้า-

ทีปังกรจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า
เกิดขึ้นแล้ว. ฝ่ายเทสนาญาณก็มี 2 อย่าง คือ เป็นไปอยู่ เป็นไปแล้ว.
จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ตั้งแต่พระอัญญาโกญฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติมรรค
ชื่อว่า เป็นไปอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า เป็นไปแล้ว. ในญาณทั้ง 2 อย่าง
นั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณ เป็นโลกิยะ. ก็ญาณแม้ทั้งสอง
นั้น ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น เป็นญาณของโอรสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อย่างเดียว.
พระตถาคตทรงถึงพร้อมด้วยพละเหล่าใด ทรงประกาศฐานะแห่งความ
เป็นผู้นำ และพละเหล่าใดที่ยกขึ้นในเบื้องต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ตถาคต
พละของตถาคต 10 อย่างนี้แล บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพละเหล่านั้นโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า กตมานิ ทส อิธ สารีปุตฺต ตถาคโต ฐานญฺจ ฐานโต
ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ฐานญฺจ ฐานโต ความว่า ซึ่งการณ์
โดยการณ์. จริงอยู่ การณ์เรียกว่า ฐานะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล คือ เป็นที่
เกิดและเป็นที่เป็นไปแห่งผล เพราะความที่ผลเป็นไปเนื่องจากการณ์นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงรู้ชัดฐานะนั้นว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุปัจจัย
แก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า ฐานะ ธรรม เหล่าใด ๆ
ไม่เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใด ๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า อฐานะ
ชื่อว่า ทรงรู้ชัดฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะ ตามความเป็นจริง. ก็
การณ์นั้นได้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ในญาณเหล่านั้น การ
รู้ฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะตามความเป็นจริง ของตถาคตเป็นไฉน
ดังนี้. บทว่า ยํปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทํปิ สารีปุตฺต ตถาคตสฺส
ความว่า ก็ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นกำลังของตถาคต. พึงทราบโยชนา
ในบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า กมฺมสมาทานานํ ความว่า แห่งกุศลกรรมและ

อกุศลกรรมที่สมาทานแล้วกระทำ หรือกรรมนั้นเทียว เป็นกรรมสมาทาน. บทว่า
ฐานโส เหตุโส ได้แก่ โดยปัจจัยและโดยเหตุ. ในบทนั้น คติ อุปธิ กาล
และปโยค
เป็นฐานะ คือ เป็นกรรม เป็นเหตุ ของวิบาก. ก็กถาโดยพิสดาร
แห่งญาณนี้มาแล้วในอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กรรมสมาทานอันเป็นบาป
บางอย่างมีอยู่ อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้. บทว่า สพฺพตฺถคามินึ
ความว่าอันให้ไปสู่คติในที่ทั้งปวง และอันไม่ให้ไปสู่คติ. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่
มรรค. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ความว่า ทรงรู้สภาพโดยไม่ผิดเพี้ยน
แห่งการปฏิบัติทั้งหลาย กล่าวคือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุ
หนึ่ง โดยนัยนี้ว่า ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มากฆ่าสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เจตนา
ของคนนี้ จักยังให้ไปสู่นรก เจตนาของคนนี้ จักยังให้ไปสู่กำเนิดดิรัจฉาน.
ก็กถาโดยพิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอธิธรรมนั่นเทียว โดยนัยเป็นต้นว่า
ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความเป็นจริง อันเป็นปฏิปทาให้ไปในที่ทั้งปวง
ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย้อมรู้ชัดว่า นี้มรรค นี้ปฏิปทาอันยัง
สัตว์ให้ไปสู่นรก. บทว่า อเนกธาตุํ ความว่า ธาตุเป็นอันมากด้วยธาตุ
ทั้งหลายมีจักขุธาตุเป็นต้น หรือ กามธาตุเป็นต้น. บทว่า นานาธาตุํ
ความว่า ธาตุมีประการต่าง ๆ เพราะความที่ธาตุเหล่านั้น มีลักษณะพิเศษ.
บทว่า โลกํ คือ โลกอันได้แก่ขันธ์ อายตน และธาตุ. บทว่า ยถาภูตํ
ปชานาติ
ความว่า ทรงแทงตลอดสภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนแห่งธาตุทั้งหลาย
เหล่านั้น ๆ. ญาณแม้นี้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า
ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริงซึ่งโลกอันเป็นอเนกธาตุ นานาธาตุของ
ตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดถึงความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์.
บทว่า นานาธิมุตติกตํ ได้แก่ความมีอธิมุตติต่าง ๆ ด้วยอธิมุตติทั้งหลายมี
เลวเป็นต้น. ญาณแม้นี้ก็ให้พิสดารในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ใน

ญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริง ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติต่าง ๆ
ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ย่อมรู้ชัดว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติ
เลวมีอยู่. บทว่า ปรสตฺตานํ ได้แก่ สัตว์เป็นประธานทั้งหลาย. บทว่า
ปรปุคฺคลานํ คือ สัตว์เลวทั้งหลายเหล่าอื่นจากสัตว์เป็นประธานนั้น. อนึ่ง
สองบทนั้นมีอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่กล่าวไว้เป็น 2 อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งเวไนยสัตว์. บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตํ ได้แก่ ความที่อินทรีย์
ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นยิ่งและหย่อน ได้แก่ความเจริญและความเสื่อม. กถา-
พิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณ
เหล่านั้น ความรู้ตามความจริงถึงความที่สัตว์อื่นทั้งหลายบุคคลอื่นทั้งหลายมี
อินทรีย์หย่อนและยิ่ง ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้อาลัย
ย่อมรู้อนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ
ความว่า ฌาน 4 มีปฐมฌานเป็นต้น วิโมกข์ 8 มีอาทิว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป
ทั้งหลาย สมาธิ 3 ที่มีวิตก และมีวิจารเป็นต้น และอนุปุพพสมาบัติ 9 มี
ปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลสํ ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายเสื่อม.
บทว่า โวทานํ ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายพิเศษ. บทว่า วุฏฺฐานํ
ความว่า ฌานที่คล่องแคล้วและภวังคผลสมาบัติ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แม้
ความผ่องแผ้ว ก็คือ ความออก แม้ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็เป็นความ
ออก. จริงอยู่ ฌานที่คล่องแคล้วอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ย่อมเป็นปทัฏฐานของ
ฌานสูง ๆ แม้ความผ่องแผ้วจากฌานนั้น เรียกว่า ความออก. ความออก
จากฌานทั้งปวงย่อมมีโดยภวังคะ. ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีโดยผล
สมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้น จึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ
ว่า เป็นความออก. ญาณแม้นี้ให้พิสดารในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ใน
ญาณเหล่านั้น ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌานวิโมกข์

สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย อันเป็นยถาภูตญาณของตถาคตเป็นไฉน ผู้มีฌานสี่
ชื่อว่า ฌายี ฌายีบางคนมีอยู่ ย่อมเสวยสมบัติที่มีอยู่นั้นเทียว. ก็การวินิจฉัย
ถึงสัพพัญญุตญาณ ด้วยการกล่าวโดยพิสดาร ได้กล่าวแล้วในวิภังคอรรรถกถา
ชื่อ สัมโมหวิโนทนี. กถาว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติ และทิพยจักษุญาณ ให้
พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะให้พิสดารแล้ว
ในภยเภรวสูตร. บทว่า อิมานิ โข สารีปุตฺต ความว่า ย่อมทำอัปปนาว่า
เราได้กล่าวว่า ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตพละของตถาคต 10 ในกาลก่อนเหล่า
ใด ตถาคตพละเหล่านี้นั้น.
ในบทนั้น มีปรวาทิกถา ดังนี้. ชื่อว่า ทศพลญาณ ไม่มีการแยก
ออกเป็นส่วนหนึ่ง สัพพัญญุตญาณเท่านั้นมีการแยกประเภทอย่างนี้. ข้อนั้นไม่
พึงเห็นอย่างนั้น . จริงอยู่ทศพลญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญานเป็นอย่าง
หนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตน ๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้
กิจของตน ๆ นั้นบ้าง กิจที่เหลือจากกิจของตน ๆ นั้นบ้าง. ก็ในทศพลญาณ
ทั้งหลาย ญาณที่หนึ่ง ย่อมรู้เฉพาะเหตุ และไม่ใช่เหตุเท่านั้น. ญาณที่สอง
ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น. ญาณที่สาม ย่อมรู้การกำหนด
กรรมเท่านั้น. ญาณที่สี่ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่าง ๆ กันเท่านั้น. ญาณ
ที่ห้าย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่หกย่อมรู้
ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น. ญาณที่เจ็ดย่อมรู้กิจมีความเศร้า
หมองเป็นต้นแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้นเท่านั้น. ญาณที่แปด
ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น. ญาณที่เก้าย่อมรู้จุติ
และปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่สิบย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.
ส่วนสัพพัญญุตญาณย่อมรู้ชัดกิจที่ควรรู้ด้วยญาณเหล่านั้น และสิ่งอันยิ่งกว่ากิจ
นั้น. ก็กิจแห่งญาณเหล่านั่น ย่อมไม่ทำกิจทุกอย่าง. เพราะญาณนั้นเป็นฌาน

แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นอัปปนา เป็นอิทธิแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ได้
เป็นมรรคก็ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปได้. อีกประการหนึ่ง ปรวาที
พึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตก
มีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็น
โลกุตตระ ดังนี้ เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ 7 ตามลำดับ มีวิตกมีวิจาร. จัก
ตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ 7 นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. จักตอบว่า
อาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร. จักตอบว่า ญาณ
7 ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่ง
สุดท้ายเป็นโลกุตตระ. จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีวิตกมีวิจารด้วย เป็น
กามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย. บัณฑิตรู้การพรรณนาตามลำดับบทในที่นี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบทศพละเหล่านี้ว่า ได้กล่าวแล้วตามลำดับนี้
เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะและอฐานะ
แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะและการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ ด้วยฐานา
ฐานญาณก่อนทีเดียว เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และ
ทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป ลำดับนั้น ทรงเห็นภาวะมี
วิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรง
เห็นเหตุปฏิสนธิสาม ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินี
ปฏิปทาญาณเพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยพิเศษ
เพื่อทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วย
อเนกธาตุนานาธาตุญาณ เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆแห่งธาตุ ลำดับนั้น
ทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่
ทรงประกอบความเพียรก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอำนาจแห่งอธิมุตติ ลำดับ
นั้น เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกำลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ

ได้เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ด้วยอินทริย
ปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
เป็นธรรมชาติแก่กล้าและอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่
กำหนดรู้แล้วอย่างนี้หย่อนและยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์
เป็นผู้ชำนาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วย
อิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่า
นั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโต-
ปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลงด้วย
ปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.
ก็ในบทเป็นต้นว่า ตํ สารีปุตฺต วาจํ อปฺปหาย ดังนี้ บุคคลกล่าวว่า
เราจักไม่กล่าววาจาเห็นปานนี้ ชื่อว่า ละวาจานั้น. เมื่อคิดว่า เราจักไม่ยังความ
คิดเห็นปานนี้ เกิดขึ้นอีกชื่อว่า สละความคิด. เมื่อสละว่า เราจักไม่ยึดถือ
ความเห็น เห็นปานนี้อีก ชื่อว่า สลัดความเห็น. เมื่อไม่กระทำอย่างนั้น ชื่อ
ว่า ไม่สละ ไม่สลัด. บุคคลนั้นก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
ดำรงอยู่ในนรกนั้นเทียว เหมือนถูกนายนิรยบาลทั้งหลายนำมาตั้งอยู่ในนรก.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาอันให้สำเร็จประโยชน์แก่เขา จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น พึงทราบศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะและ
โลกุตตระในบทเป็นต้นว่า สีลสมฺปนฺโน ดังนี้. ภิกษุย่อมควรแม้เพื่อจะให้
หมุนกลับด้วยอำนาจแห่งโลกุตตระนั่นเทียว. ก็ภิกษุนี้ ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วย
วาจาชอบ การงานชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ. ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยความ
เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ. ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเห็น
ชอบ และความดำริชอบ. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นอย่างนี้นั้น ย่อม

กระหยิ่มอรหัต คือ ย่อมบรรลุอรหัตในทิฏฐธรรมเทียว คือในอัตภาพนี้นั้น
เทียวฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกล่าวข้ออุปไมย์นี้ คือ การณ์แม้นี้ เห็น
ปานนี้ฉันนั้น. ทรงแสดงว่า ก็ผลไม่คลายในลำดับแห่งมรรค ย่อมเกิดขึ้น
ฉันใด ปฏิสนธิในนรก ไม่คลายในลำดับแห่งจุติของบุคคลแม้นี้ ก็ย่อมมีได้
ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ขึ้นชื่อว่า อุปมาที่ตรัสให้หนักแน่นยิ่งขึ้นด้วยอุปมานี้ย่อม
ไม่มีในพุทธพจน์ทั้งสิ้น. ในบทว่า เวสารชฺชานิ ความปฏิปักษ์ต่อความ
ครั่นคร้าม ชื่อว่า เวสารัชชะ นั้นเป็นชื่อของญาณอันสำเร็จแต่โสมนัส ซึ่ง
เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาถึงความครั่นคร้ามในฐานะสี่. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
เต ปฏิชานโต
ความว่า ท่านปฎิญญาณอย่างนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมดเราได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว. บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความ
ว่า ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ตตฺร วต ความว่าในธรรม
ที่แสดงอย่างนี้ว่า ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว เหล่านั้นหนอ. บทว่า สห ธมฺเมน
ความว่าโดยคำที่มีเหตุมีการณ์ เหมือนสุนักขัตตะ บ่นเพ้อไม่มีประมาณฉะนั้น.
บุคคลก็ดี ธรรมก็ดี ท่านประสงค์ว่า นิมิต ในบทว่า นิมิตฺตเมตํ นี้. ใน
บทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นบุคคลที่ทักท้วงว่า เราไม่เห็น ธรรมที่เขา
แสดงแล้ว ทักท้วงเราว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า เขมฺป-
ปตฺโต
ได้แก่ถึงความเกษม. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทนี้นั้นเทียว.
ก็บทนั้นทั้งหมด ตรัสหมายถึงเวสารัชชญาณเท่านั้น. ก็เมื่อพระทศพลไม่เห็น
บุคคลผู้ทักท้วง หรือ ธรรมอันเป็นเหตุทักท้วง ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้วว่า
ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ หรือ เมื่อพิจารณาว่า เราเป็น
พระพุทธเจ้าโดยสภาพนั้นเทียว กล่าวว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ความ
โสมนัสอันมีกำลังยิ่ง ก็ย่อมเกิดขึ้น. ญาณที่สัมปยุตด้วยโสมนัสนั้น ชื่อว่า
เวสารัชชะ. ทรงหมายถึงเวสารรัชชะนั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เขมปฺปตฺโต

ดังนี้. พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงดังนี้. ก็ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอันตรายิกะ
เพราะอรรถว่า ทำอันตรายในบทนี้ว่า อนฺตรายิกาธมฺมา ดังนี้. ธรรมเหล่า
นั้นโดยเนื้อความก็ได้แก่ กองอาบัติ 7 ที่แกล้งล่วงละเมิด. จริงอยู่ กองอาบัติ
ที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรค
และผลทั้งหลายได้. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เมถุนธรรม. ก็ความปราศจาก
ความสงสัยอย่างเดียวของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เสพเมถุนย่อมเป็นอันตรายแก่
มรรคและผลทั้งหลายได้. บทว่า ยสฺส โข ปน เตสุ อตฺถาย ความว่า
เพื่อประโยชน์ใดในประโยชน์ทั้งหลายมีความสิ้นไปแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า
ธมฺโม เทสิโต ความว่า ธรรมมีการเจริญอสุภเป็นต้น อันท่านแสดงแล้ว.
บทว่า ตตฺร วต มํ ได้แก่ กะเราในธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์นั้น.
บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทียว.
บทว่า อถโข อิเม สารีปุตฺต นี้ ทรงปรารภ เพราะเหตุอะไร.
เพราะเพื่อทรงแสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ. เหมือนอย่างพระธรรมกถึกหยั่ง
ลงสู่บุรุษผู้ฉลาดแล้ว ย่อมปรากฎเป็นผู้ฉลาด ด้วยถ้อยคำที่สามารถยังจิตของ
วิญญูชนทั้งหลายให้ยินดีฉันใด ความที่เวสารัชชญาณเป็นธรรมชาติให้แกล้ว
กล้า แม้อันบริษัท 8 เหล่านี้อาจเพื่อรู้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง
แสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ จึงตรัสพระดำรัสว่า อถโข อิมา สารีปุตฺต
ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ สถานที่นั่ง
ประชุมของกษัตริย์ทั้งหลาย. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นเดียวกัน . ก็สถานที่ที่หมู่
มารทั้งหลายนั่งประชุม พึงทราบว่า มารบริษัท อนึ่ง บริษัทนั้นแม้ทั้งหมด
ของมารทั้งหลาย ไม่ได้ถือเอาด้วยสามารถแห่งการเห็นสถานที่เลิศ. เพราะ
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อจะกล่าวแม้คำปกติว่า พระราชาประทับนั่งใน
ที่นี้ เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากรักแร้. ขัตติยบริษัทเลิศอย่างนี้. พราหมณ์

ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในเวทสาม. คหบดีทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดใน
โวหารต่าง ๆ และในการคิดอักษร. สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาทะของ
ตนและวาทะของคนอื่น. ชื่อว่า การกล่าวธรรมกถาในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น
เป็นภาระหนักอย่างยิ่ง. แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นผู้เลิศ. เพราะครั้นแม้เพียง
กล่าวว่า อมนุษย์ สรีระทั้งสิ้นย่อมสั่น. สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูป หรือฟังเสียง
ของอมนุษย์นั้น ย่อมปราศจากสัญญาได้. บริษัทของอมนุษย์เลิศอย่างนี้. ชื่อว่า
การแสดงธรรมกถาในอมนุษย์บริษัทแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นภาระหนักมาก.
อมนุษย์บริษัทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการเห็น
ฐานะอันเลิศ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อชฺโฌคาหติ คือ ตามเข้าไป. บทว่า
อเนกสตํ ขตฺติยปริสํ คือ เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ
และสมาคมเจ้าลิจฉวี. ย่อมได้ในจักรวาลแม้เหล่าอื่น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่แม้จักรวาลเหล่าอื่นหรือ. เออ เสด็จ
ไป. เป็นเช่นไร. เขาเหล่านั้นเป็นเช่นใด พระองค์ก็เป็นเช่นนั้นเทียว. เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัท
หลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็
มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้
กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็น
แจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็
หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพ
หรือมนุษย์ ดังนี้. เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของ
หอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาว

บ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จ
ไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่า
นั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อม
เป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนัก
ดังนี้. ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้าง
พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มี
เสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้ว
ย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการ
พิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใคร
หนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษา
สีหล หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคล
ทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์
ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้น
เทียว. บทว่า สนฺนิสินฺนปุพฺพํ ได้แก่ เคยร่วมนั่งประชุม. บทว่า สลฺล-
ปิตปุพฺพํ
คือ เคยทำการสนทนา. บทว่า สากจฺฉา ความว่า เคยเข้า
สนทนาธรรม. ก็พึงทราบการเข้าร่วมประชุม ด้วยอำนาจสมาคมมีสมาคม
โสณฑัณฑพราหมณ์ เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งจักรวาลอื่น ด้วยบทเป็น
ต้นว่า อเนกสตํ พฺรหฺมณปริสํ.
คำว่า โยนิ ในบทนี้ว่า จตสฺโส โข อิมา สารีปุตฺต โยนิโย
เป็นชื่อของส่วนขันธ์บ้าง ของการณ์บ้าง ของทางปัสสาวะบ้าง. ส่วนของ
ขันธ์ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ขันธ์ของนาค 4 ขันธ์ของครุฑ 4. การณ์ ชื่อว่า
โยนิ ในบทนี้ว่า ก็การณ์นั้น เป็นภูมิแห่งการบรรลุพืชผล. ทางปัสสาวะ

ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ก็เราไม่เรียกเปตติสมภพทางปัสสาวะว่าเป็นพราหมณ์.
ก็ในที่นี้ส่วนของขันธ์ ท่านประสงค์เอาว่า โยนิ. ในกำเนิดเหล่านั้น สัตว์ที่
เกิดในไข่ ชื่อว่า อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ชื่อว่าชลามพุชะ. สัตว์ที่เกิด
ในเหงื่อไคล ชื่อ สังเสทชะ. สัตว์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเว้นเหตุเหล่านั้น ดุจผุดขึ้น
เกิด ชื่อว่า อุปปาติกะ. บทว่า อภินิพฺภชฺช ชายนฺติ คือ ย่อมเกิดด้วย
อำนาจแห่งการทำลายแล้วออกมา. ท่านแสดงฐานะอันไม่น่าปรารถนาทั้งหลาย
ด้วยบทเป็นต้น ว่า ปูติกุณเป. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในฐานะที่น่าปรารถนามี
เนยใส น้ำตาล น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นเหมือนกัน. เทพชั้นสูงตั้งแต่จาตุม-
มหาราชิก ในบทเป็นต้นว่า เทวา จัดเป็นอุปปาติกะเหมือนกัน . ส่วนภุมม
เทวดาทั้งหลาย มีกำเนิด 4. บทว่า เอกจฺเจ จ มนุสฺสา ความว่า ใน
มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์บางพวกเป็นอุปปาติกะเหมือนเทวดา. แต่มนุษย์เหล่า
นั้น โดยมากเกิดจากครรภ์. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ 2 รูป
ผู้เป็นบุตรของโกนตะ. แม้ที่เกิดจากเหงื่อไคล ก็มีโปกขรสาติพราหมณ์และ
พระนางปทุมวดีเทวี ที่เกิดในกลีบประทุมเป็นต้น. ในวินิปาติกะทั้งหลาย
นิชฌามเปรต และตัณหิกเปรต เป็นอุปปาติกเหมือนกัน ดุจสัตว์นรกทั้งหลาย.
ที่เหลืองมีกำเนิด 4. ยักษ์ทั้งหลายก็ดี สัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ 4 เท้า นก และ
งูทั้งปวงเป็นต้น ก็ดี ทั้งหมดมีกำเนิด 4 เหมือนวินิปาติกะเหล่านั้น
คติทั้งหลายแม้พึงไปด้วยสามารถแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ชั่วในบทนี้
ว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ 4 อย่างนี้แล. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า คติ มีหลาย
อย่างคือ คติคติ นิพพัตติคติ อัชฌายคติ วิภวคติ และนิปผัตติคติ ใน
คติเหล่านั้น คตินี้ว่า เราละไปสู่คติอะไร และว่า เทวดาคนธรรพ์ และ
มนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด ดังนี้ ชื่อว่า คติดติ. คตินี้ว่าเราไม่รู้คติ
หรืออคติของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า นิพพัตติคติ. คตินี้

ว่า ดูก่อนพรหม เรารู้ชัดคติ และรู้ชัดจุติของท่านอย่างนี้แล ชื่อว่า อัชฌา
สยคติ. คตินี้ว่า วิภวะเป็นคติธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติของพระอรหันต์
ชื่อว่า วิภวคติ. คตินี้ว่า คติมี 2 อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ชื่อว่า
นิปผัตติคติ. ในคติเหล่านั้นท่านประสงค์เอา คติคติในที่นี้. ชื่อว่า นิรยะ
ด้วยอรรถว่า ปราศจากความยินดี ด้วยอรรถว่าไม่มีความสบายใจ ในบทเป็น
ต้นว่า นิรโย. ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะอรรถว่า เดินขวาง. กำเนิดของ
ดิรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ดิรัจฉานโยนิ. ชื่อว่า เปรตวิสัย เพราะอรรถว่า
เป็นวิสัยแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ถึงความละไปแล้ว. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความ
เป็นผู้มีใจสูงแล้ว. ชื่อว่า เทพ เพราะวิเคราะห์ว่า เล่นกับกามคุณ 5 และ
อานุภาพของตน ๆ. ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่า นิรยะ ในบทเป็น
ต้นว่า นิรยํ จาหํ สารีปุตฺต. ในบทว่า ติรจฺฉานโยนึ จ แม้เป็นต้นก็
นัยนี้เหมือนกัน. ทรงแสดงกรรมอันเป็นไปสู่คติเท่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งสอง
ว่า มคฺคํ ปฏิปทํ. บทว่า ยถา จ ปฏิปนฺโน ความว่า ดำเนินไปโดย
ทางใด โดยปฏิปทาใด เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง 2 บทรวมเข้ากัน ย่อมปรากฏ
ชื่อว่า อบาย เพราะความเป็นที่ปราศจากความงอกงาม กล่าวคือความเจริญ
หรือ ความสุขในบทเป็นต้นว่า อปายํ ดังนี้. ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถ
ว่าเป็นคติ คือ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่ง
สัตว์ทั้งหลายที่ทำความชั่ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ว่า นิพฺพานญฺจาหํ
เพื่อทรงแสดงว่า เราย่อมรู้คติคติอย่างเดียวก็หามิได้ เราย่อมรู้แม้นิพพานอัน
เป็นเครื่องสลัดออกจากคติด้วย. ท่านกล่าวอริยมรรคด้วยบทแม้ทั้งสอง คือ
มรรค และปฏิปทาในที่นี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอาการ
ที่เป็นไปแล้วแก่ญาณของพระองค์ในฐานะทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสว่า
อิธาหํ สารีปุตฺต เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตทุกฺขา คือ

มีทุกข์เป็นนิจ ได้แก่มีทุกข์ชั่วนิรันดร์. บทว่า ติปฺปา คือ มาก. บทว่า
กฏุกา ได้แก่กล้าแข็ง. บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น ตรัสแล้ว เพื่อทรง
แสดงข้อเปรียบเทียบ. หลุมก็ดี กองก็ดี เรียกว่า กาสุ ในบทนั้น. ก็หลุมชื่อ
ว่า กาสุ ในคาถานี้ว่า
ดูก่อนสารถี ท่านเดือดร้อนอะไร
หนอจึงขุดหลุม ดูก่อนเพื่อน ท่านผู้อันเรา
ถามแล้วจงบอก จักทำอะไรในหลุม.

กองชื่อว่า กาสุในคาถานี้ว่า
คนทั้งหลายอื่นร้องไห้อยู่ มีตัวร้อน
รุมขุดหลุมถ่านอยู่.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาหลุม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
ว่า สาธิกโปริสํ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. ในบทนั้น หลุมนั้น ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ
เป็นประมาณ เพราะฉะนั้น จึงเชื่อว่าลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ อธิบายว่า ลึกเกิน
กว่าห้าศอก. บทว่า ปราศจากเปลว ปราศจากควัน นั้น ตรัสเพื่อทรง
แสดงความที่ความเร่าร้อนเป็นธรรมชาติมีกำลัง. ครั้นเมื่อเปลวมีอยู่ หรือควัน
มีอยู่ ลมย่อมตั้งขึ้น เพราะเหตุนั้น ความเล่าร้อนจึงไม่มีกำลัง. บทว่า
ฆมฺมปเรโต ได้แก่ ถึงความร้อนแผดเผา. บทว่า ตสิโต ความว่า เกิด
ความทะยานอยาก. บทว่า ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า
เอกายเนน มคฺเคน ความว่า โดยทางสายเดียวซึ่งมีหนาม ต้นไม้รกชัฏชั่ว
นิรันดร์ในข้างทั้งสองที่จะพึงเดินตาม. บทว่า ปณิธาย ความว่า ชื่อว่า
ความปรารถนาในหลุมถ่านเพลิงไม่มี ทรงปรารภถึงหลุมถ่านเพลิงจึงตรัสอย่าง
นั้นเพราะความที่อิริยาบถตั้งแล้ว. การแสดงข้ออุปมาในบทว่า เอวเมว โข
นั้นมีดังนี้. ก็พึงเห็นนรกเหมือนหลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นกรรมอันเป็นเหตุเข้า

ถึงนรก เหมือนทางไปสู่หลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นบุคคลผู้สะพรั่งด้วยกรรม
เหมือนคนขึ้นสู่หนทาง. พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษ
มีจักษุ. บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่หนทางเทียว ย่อมรู้ว่า บุคคลนี้ไปโดยทาง
นี้ จักตกในหลุมถ่านเพลิงฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้กรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งซึ่งฆ่าอายุในการฆ่าสัตว์เป็นต้นอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมนี้แล้ว จักตก
นรกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้นเห็นบุคคลนั้นตกลงในหลุม
ถ่านเพลิงฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังแสงสว่างให้เจริญ
แล้วว่า บุรุษนั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในที่ไหนทรงแลดูด้วยทิพยจักษุ
ย่อมเห็นบุรุษผู้เกิดแล้วในนรก ซึ่งเสวยมหาทุกข์มีการจองจำ 5 ประการเป็น
ต้นฉันนั้นเหมือนกัน . เมื่อทรงแลดูว่า ในนรกนั้น สัตว์นั้นมีวรรณะอย่างอื่น
ในเวลาสั่งสมกรรม สัตว์ที่เกิด ในนรกมีวรรณะเป็นอย่างอื่น แม้ก็จริง ถึง
อย่างนั้น สัตว์นั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในนรกนั้น สัตว์นี้แม้ดำรงอยู่ใน
ท่ามกลางสัตว์หลายแสน เพราะฉะนั้น สัตว์นั้นเทียว ย่อมมาสู่ทาง เพราะเหตุนั้น
อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า นั้นชื่อว่า กำลังแห่งทิพยจักษุ.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ 2 เพราะความเร่าร้อนในหลุมคูถ เหมือน
ในหลุมถ่านเพลิงไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เอกนุ-
ตทุกฺขา ตรัสคำว่า ทุกฺขา เป็นต้น. พึงทราบการเปรียบเทียบอุปมาโดย
นัยก่อนนั้นเที่ยวแม้ในบทนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลแม้นี้
เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง ในบรรดากำเนิดทั้งหลายมีกำเนิดช้างเป็นต้น
เสวยทุกข์มากด้วยการฆ่า การจองจำ การคร่ามา และการคร่าไปเป็นต้น.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ 3 ก็บทว่า ตนุปตฺตปลาโส ได้แก่
ใบอ่อน ไม่เหมือนแผ่นหมอกเมฆ แต่บทนี้ ตรัสหมายถึงมีใบบางเบา.
บทว่า กพรจฺฉาโย ได้แก่มีเงาห่าง. บทว่า ทุกฺขพหุลํ ความว่า ก็ทุกข์

ในเปรตวิสัยมีมาก แต่พึงเสวยสุขนิดหน่อยในบางเวลา เพราะฉะนั้น จึงตรัส
อย่างนี้. พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมาโดยนัยก่อนในที่นี้นั่นเทียว.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ 4 บทว่า พหลปตฺตปลาโส ได้แก่
มีใบเนืองนิจ คือ ปกปิดด้วยใบ. บทว่า สณฺฑจฺฉาโย ความว่า มีเงาหนา
ดุจร่มหีน. บทว่า สุขพหุลา เวทนา ความว่า เวทนาในตระกูลทั้ง
หลายมีขัตติยตระกูลเป็นต้นในมนุษยโลกเป็นอันพึงทราบว่า เวทนามากด้วย
ความสุข ทรงแสดงว่า เราเห็นบุคคลนอนหรือนั่งเสวยเวทนานั้น. พึงทราบ
ข้อเปรียบเทียบอุปมาแม้นี้โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ 5 บทว่า ปาสาโท ได้แก่ ปราสาทยาว.
บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺตํ ความว่า ฉาบทาข้างในและฉาบทาข้างนอก. บทว่า
ผุสิตคฺคฬํ ได้แก่บานประตูหน้าต่าง ปิดสนิทดีพร้อมกับรอบวงกบ. บทว่า
โคนกตฺถโต ความว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดำ ขนยาวเกินกว่าสี่นิ้ว. บทว่า
ปฏิกตฺถโต ได้แก่ลาดด้วยเครื่องลาดสีขาวอันสำเร็จแต่ขน. บทว่า ปฏลิ-
กตฺถโต
คือ ลาดด้วยเครื่องลาดอันสำเร็จด้วยขนมีพื้นหนา. บทว่า กทฺทลิมิค-
ปวรปจฺจตฺถรโณ
ความว่า ลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นสูง อันสำเร็จด้วยหนัง
ชะมด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายลาดหนึ่งชะมดเบื้องบนผ้าขาวแล้วเย็บทำเครื่อง
ปูลาดนั้น. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท ความว่า มีเพดานกั้นในเบื้องบน คือมี
เพดานสีแดงกั้นไว้เบื้องบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ มีหมอน
แดงวาง ณ ข้างทั้งสองของบัลลังก์ คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนวางเท้า.
พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมา โดยนัยก่อนแม้ในที่นี้.
ก็โยชนาส่วนอื่นในบทนี้มีดังนี้. บุรุษนั้นย่อมรู้บุคคลที่ขึ้นสู่ทางนั้น
เทียวว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนั้น ขึ้นสู่ประสาท เข้าไปยังกูฏาคาร จักนั่งหรือ
จักนอนบนบัลลังก์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้สั่งสมกุศลกรรม

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ มีทานเป็นต้น ย่อมทรงรู้ว่า บุคคล
นี้ทำกรรมนี้แล้ว จักเกิดในเทวโลกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น
ย่อมเห็นบุคคลนั้นขึ้นสู่ปราสาทนั้นแล้ว เข้าไปสู่กุฏาคาร นั่งหรือนอนบน
บัลลังก์เสวยเวทนามีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ทรงเจริญอาโลกสัญญาว่าบุคคลนั้นทำกรรมดีนั้นแล้ว เกิดในที่ไหน
เมื่อทรงแลดูด้วยทิพย์จักษุ ย่อมทรงเห็นบุคคลนั้นเกิดในเทวโลก อันหมู่นาง
ฟ้าแวดล้อมในสวนทั้งหลาย มีนันทนวันเป็นต้น เสวยทิพย์สมบัติอยู่ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยวาร หากจะมีคำถามว่า ข้อนั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า ด้วยทิพยจักษุ แต่ตรัสว่า เราเห็นบุคคลนั้นนั่น
เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการกำหนด. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงเห็น
บุคคลนี้ ด้วยทิพยจักษุบ้าง จักทรงรู้ด้วยเจโตปริยญาณบ้าง จักทรงรู้ด้วย
สัพพัญญุตญาณบ้าง. คำว่า เอกนฺตสุขา เวทนา นี้ โดยพยัญชนะเป็นสุข
อันเดียวกันกับสุขในเทวโลกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยอรรถเป็นสุขต่างกัน
เพราะสุขในเทวโลก ไม่เป็นเอกันตสุขโดยส่วนเดียว เพราะยังมีความเร่าร้อน
มีความเร่าร้อนเพราะราคะเป็นต้น. แต่สุขในนิพพาน เป็นเอกันตสุข โดย
อาการทั้งปวง เพราะเข้าไปสงบความเร่าร้อนทั้งหมด. สุขใดที่กล่าวแม้ในข้อ
อุปมาว่า สุขโดยส่วนเดียวในปราสาท ก็สุขนั้น ชื่อว่า สุขโดยส่วนเดียว
เหมือนกัน เพราะความที่ความเร่าร้อนในทาง ยังไม่สงบ เพราะยังมีความ
หิวแผดเผา เพราะยังมีความกระหายครอบงำ. แต่ในราวป่าก็ชื่อว่า เป็นสุข
โดยส่วนเดียว โดยอาการทั้งปวง เพราะความที่มลทินคือ ธุลี อันบุคคลนั้น
ลงสู่สระโบกขรณี ลอยหมดแล้ว เพราะความที่ความเหน็ดเหนื่อยในทางสงบ
ระงับแล้ว เพราะความที่หิวกระหายทั้งหลายถูกกำจัดแล้วด้วยการกินเหง้าบัว

และด้วยการดื่มน้ำอร่อย และเพราะความที่เขาผลัดผ้าอาบน้ำแล้ว นุ่งผ้าเนื้อ
ละเอียดนอนหนุนถึงข้าวสาร บีบผ้าอาบน้ำ วางไว้ที่หฤทัย ถูกลมอ่อน ๆ พัด
นอนหลับ. ในบทนี้ว่า เอวเมว โข มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้. พึง
เห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี. พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น
เหมือนทางไปสระโบกขรณี. พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติ เหมือน
บุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มี
จักษุ พึงเห็นนิพพาน เหมือนราวป่า บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่ทางเทียว
ย่อมรู้ว่าบุคคลนี้ไปโดยทางนี้ อาบน้ำในสระโบกขรณีแล้ว จักนั่ง หรือจัก
นอน ที่โคนต้นไม้ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ทรงรู้บุคคลผู้บำเพ็ญปฏิปทา กำหนดนามรูป กระทำการกำหนด
ปัจจัย กระทำการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บำเพ็ญ
ปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้อยู่. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็น
บุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้วนั่งหรือนอน
เสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบำเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทำให้แจ้งซึ่งผล
บรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือ
นิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน.
บทนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์
ประกอบด้วยองค์ 4 ดังนี้ ทรงปรารภเพราะเหตุไร. ทรงปรารภด้วยอำนาจ
การต่อเนื่องเป็นขั้นตอน. ได้ยินว่า สุนักขัตตะนี้ มีลัทธิอย่างนี้ว่า ความหมดจด
ย่อมมีด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
เทศนานี้ เพื่อทรงแสดงแก่สุนักขัตตะนั้นว่า เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้กระทำ

ทุกกรกิริยาอันประกอบด้วยองค์สี่ แล้ว บุคคลที่ชื่อว่า ทำทุกกรกิริยาเช่นกับ
เราไม่มี เมื่อความหมดจดมีด้วยการทำทุกกรกิริยา เราเองพึงเป็นพระพุทธเจ้า
ดังนี้. อนึ่ง สุนักขัตตะนี้ เลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ความที่เขาเป็นผู้
เลื่อมใสแม้นั้น พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในปาฏิกสูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า
สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้เห็น ชีเปลือยชื่อโกรกขัตติกะ ประพฤติวัตรคลาน
เคี้ยว กินภักษาที่เขาเทลงในแผ่นดินด้วยปาก เขาครั้นเห็นแล้ว ได้มีความ
คิดนี้ว่า สมณะผู้คลาน เคี้ยว กินภักษาที่เทลงในแผ่นดินด้วยปากนั้นเทียวนี้ดี
หนอ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า สุนักขัตตะเลื่อมใส
ในทุกกรกิริยา ก็เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้การทำทุกกรกิริยาอันประกอบ
ด้วยองค์สี่แล้ว สุนักขัตตะนี้แม้เมื่อจะเลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ก็ควร
เลื่อมใสในเรา เขาหามีความเลื่อมใสในเรานั้นไม่ดังนี้ ได้ทรงปรารภเทศนานี้.
ทานก็ดี ไวยาวัจจ์ก็ดี สิกขาบทก็ดี พรหมวิหารก็ดี ธรรมเทศนาก็ดี
เมถุนวิรัติก็ดี สทารสันโดษก็ดี วิริยก็ดี อุโบสถก็ดี อริยมรรคก็ดี ศาสนา
ทั้งสิ้นก็ดี อัชฌาสัยก็ดี เรียกว่า พรหมจรรย์ ในที่นี้.
ก็ ทาน เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า
อะไรเป็นวัตรของท่าน ก็อะไรเป็น
พรหมจรรย์ ความสำเร็จ ความรุ่งเรือง
พละ ความเพียร และอุบัตินี้ เป็นวิบาก
ของผู้ประพฤติดีอะไร ข้าแต่ท่านผู้ประ-
เสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้า
เถิด

ข้าพเจ้าและภริยาทั้งสอง เป็นผู้มี
ศรัทธาเป็นทานบดีในมนุษยโลก ในกาล
นั้น เรือนของข้าพเจ้าเป็นโรงงาน และ
สมณพราหมณีทั้งหลาย อันเราได้เลี้ยงดู
ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นั้นเป็นวัตรของ
ข้าพเจ้า ก็นั้นเป็นพรหมจรรย์ ความสำเร็จ
ความรุ่งเรือง พละ ความเพียรและอุบัตินี้
เป็นวิบากของผู้ประพฤติดีนั้น ท่านธีระ
ก็นี้เป็นมหาวิมานของข้าพเจ้า.

ไวยาวัจจ์ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า
ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ
ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหม-
จรรย์อะไร
ฝ่ามือของเราให้สิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ
ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหม-
จรรย์นั้น.

สิกขาบทห้า เรียกว่า พรหมจรรย์ ในติตติรชาดกนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่า ติตติริยวัตร์นี้แล เป็นพรหมจรรย์ ดังนี้. พรหมวิหาร เรียกว่า
พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ ก็พรหมจรรย์นั้นแล
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ย่อมไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ย่อม
เป็นไปเพียงเพื่อความอุบัติในพรหมโลกเท่านั้น. ธรรมเทศนา เรียกว่า พรหม-

จรรย์ ในบทนี้ว่า ในพรหมจรรย์หนึ่ง มีผู้ละมัจจุได้พันคน. เมถุนวิรัติ
เรียกว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรว่า พวกอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์
พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้. สทารสันโดษ เรียกว่า พรหม-
จรรย์
ในมหาธัมมาปาลชาดกว่า
เราไม่นอกใจภริยา และภริยาก็ไม่
ล่วงเกินเรา เราประพฤติพรหมจรรย์เว้น
ภริยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล เด็ก ๆ
ของเรา จึงไม่พึงตาย.

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด ที่รักษาแล้วด้วยอำนาจในการฝึกตน
เรียกว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดก อย่างนี้ว่า
บุคคลย่อมเกิดในขัตติยะ ด้วยพรหม-
จรรย์ที่เลว และย่อมเกิดในเทพทั้งหลาย
ด้วยพรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมหมดจด
ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูง.

อริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินสูตรนั้นเทียวว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ
ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความ
คลายกำหนัด ฯลฯ คือ มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐนี้นั้นเทียว. ศาสนาทั้งสิ้น
อันสงเคราะห์เข้ากับสิกขา 3 อย่าง เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า
พรหมจรรย์นี้นั้น กว้างขวาง และแพร่หลาย อันพิสดาร ชนรู้มาก เป็นปึกแผ่น
จนมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วนั้นเทียว. อัธยาศัย เรียกว่า พรหมจรรย์
ในบทนี้ว่า

อนึ่ง ความหวังในผลเทียว ย่อม
สำเร็จแก่คนผู้ไม่รีบร้อน เราเป็นผู้มี
พรหมจรรย์ สุกแล้ว ดูก่อนคามิณี ท่านจงรู้
อย่างนี้.

ก็ความเพียร ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในสูตรนี้. ก็สูตรนี้นั้นเทียว
เป็นสูตรแห่งพรหมจรรย์ คือ ความเพียร ความเพียรนี้นั้น ท่านกล่าวว่า
ประกอบด้วยองค์สี่ เพราะความที่ทุกกรกิริยา 4 อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบำเพ็ญแล้วในอัตตภาพหนึ่ง.
คำว่า สุทํ ในบทว่า ตปสฺสี สุทํ โหมิ เป็นเพียงนิบาต อธิบาย
ว่า เราเป็นผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปรมตปสฺสี ความว่า
มีความเพียรเครื่องเผากิเลสยอดเยี่ยม คือ สูงสุดของบุคคลทั้งหลายผู้อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ลูโข สุทํ โหมิ ความว่า เราเป็นผู้
เศร้าหมอง. บทว่า เชคุจฺฉิ ได้แก่ ผู้เกลียดชังบาป. บทว่า ปวิวิตฺโต สุทํ
โหมิ
ความว่า เราเป็นผู้สงัด. บทว่า ตตฺรสฺส เม อิทํ สารีปุตฺต
ความว่า ในพรหมจรรย์มีองค์ 4 นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความที่มี
ความเพียรเครื่องเผากิเลสของเรา ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์นี้เป็นอันเรา
กระทำแล้วในความที่มีความเพียรเผากิเลสมีของชีเปลือยเป็นต้น ในความที่
พระองค์ทรงอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. ในบทเหล่านั้น บทว่า อเจลโก
ได้แก่ ผู้ปราศจากผ้า คือ คนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร ได้แก่ เรามี
มารยาทสละแล้ว คือ เว้นจากมรรยาทของกุลบุตรชาวโลกในกรรมทั้งหลาย
มีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น เป็นผู้ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เคี้ยว บริโภค.
บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า ทรงแสดงว่า ครั้นเมื่อก้อนข้าวอยู่ในมือ
เราก็ใช้ลิ้นเลียมือ ครั้นถ่ายอุจจาระ เราก็เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นเทียวว่า

เป็นท่อนไม้ใช้มือเช็ด ดังนี้. ได้ยินว่า พวกเขาบัญญัติท่อนไม้ว่า เป็นสัตว์
เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญปฏิปทาของพวกเขา จึงทรงกระทำอย่างนั้น.
ทรงแสดงว่า ผู้อันเขากล่าวเพื่อให้รับภิกษาว่า มาเถิด ท่านก็ไม่มา เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา แม้ผู้อันเขากล่าวว่า ถ้าอย่าง
นั้น จงหยุด ๆ เถิดท่าน ก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้หยุด
ก็ไม่หยุด ก็เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำการแม้ทั้ง 2 อย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า
คำของเขาจักกระทำแล้ว แม้เราก็ได้กระทำอย่างนี้. บทว่า อภิหตํ ได้แก่
ภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อนแล้วนำมาให้. บทว่า อุทฺทิสฺส กตํ คือ ภิกษาที่
เขาบอกอย่างนี้ว่า ได้ทำเจาะจงท่านนี้. บทว่า นิมนฺตนํ ความว่า เราไม่
ยินดี ไม่ถือ แม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า ท่านพึงเข้าไปสู่ตระกูล ถนน
หรือบ้านชื่อโน้น. บทว่า น กุมฺภิมุขา คือ เราไม่รับภิกษาอันเขาตักจาก
หม้อให้. บทว่า น กโฬปิมุขา ความว่า หม้อข้าว หรือ ปัจฉิ ชื่อว่า
กโฬปิ เราไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า เจ้าของ
หม้อข้าว อาศัยเรา จะได้การประหารด้วยทัพพี. บทว่า น เอฬกมนฺตรํ
ความว่า เราไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูให้ เพราะเหตุไร เพราะว่า
บุคคลนี้อาศัยเราแล้ว ย่อมได้กระทำในระหว่าง. แม้ในท่อนไม้และสากทั้งหลาย
ก็นัยนัเเหมือนกัน. บทว่า น ทฺวินฺนํ ความว่า ครั้นเมื่อคนสองคน
กำลังบริโภค คนหนึ่งลุกขึ้นให้ เราก็ไม่รับ เพราะเหตุไร เพราะว่า จะมี
อันตรายจากการทะเลาะ. ก็ในบททั้งหลายมีบทว่า น คพฺภินิยา เป็นต้น
ทารกในท้องของหญิงมีครรภ์ จะลำบาก เมื่อหญิงให้ดื่มน้ำมันอยู่ ทารกก็จะ
มีอันตรายแต่น้ำนม. บทว่า ปุริสนฺตรคตาย ความว่า เราไม่รับด้วยคิดว่า
จะมีอันตรายแต่ความยินดี. บทว่า น สํกิตฺตีสุ ความว่า ไม่รับภิกษาที่
นัดแนะกันทำไว้ ได้ยินว่า ในเวลาข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกทั้งหลาย

ก็จะชักชวนกันรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้น ๆ หุงภัตเพื่อประโยชน์แก่
อเจลกทั้งหลาย อเจลกผู้เคร่งครัดไปแล้ว ไม่รับ. บทว่า น ยตฺถ สา
ความว่า ในที่ใด สุนัขได้รับการเลี้ยงดูว่า เราจักได้ก้อนข้าว เราไม่รับภิกษา
ที่เขาไม่ให้แก่สุนัขในที่นั้นแล้วนำมา เพราะเหตุไร. เพราะว่า สุนัขนั้นจะมี
อันตรายจากก้อนข้าว. บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี ความว่า มีแมลงวันไต่ตอม
เป็นกลุ่ม ๆ ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักให้ภิกษาแก่
อเจลกนี้ เข้าไปสู่โรงครัว ก็ครั้นพวกเขาเข้าโรงครัว แมลงวันทั้งหลายที่จับ
อยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้น ก็จะบินไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ เราไม่รับภิกษาที่เขานำ
มาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า แมลงวันทั้งหลายจะมีอันตราย
จากอาหาร เพราะอาศัยเรา แม้เราก็ได้ทำอย่างนั้นแล้ว. บทว่า น ถุโสทกํ
ความว่า น้ำที่หมักเกลือที่เขาทำด้วยข้าวหมักทั้งหมด ก็ในที่นี้ การดื่มสุรา
นั้นเทียว มีโทษ ก็คนนั้นมีความสำคัญว่ามีโทษ. ผู้ได้ภิกษาในเรือนเดียว
เท่านั้นแล้ว กลับ ชื่อว่า เอกาคาริกะ. ผู้เลี้ยงชีพด้วยภิกษาคำเดียวเท่านั้น
ชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในบททั้งหลายมี ทฺวาคาริกา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ความว่า ด้วยถาดใบน้อยหนึ่ง ถาดเล็ก ๆ ใบหนึ่ง
ซึ่งเขาใส่ภิกษาอย่างเลิศไว้ ชื่อว่า ทัตติ. บทว่า เอกาหิกํ ได้แก่ภิกษาที่
เก็บค้างในระหว่างหนึ่งวัน. บทว่า อฑฺฒมาสิกํ ได้แก่ภิกษาที่เก็บค้างใน
ระหว่างกึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชนํ ความว่า บริโภคภัตตวาระ คือ
บริโภคภัตที่เวียนมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ วาระหนึ่งวัน วาระสองวัน
วาระเจ็ดวัน วาระกึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข ได้แก่ มีผักดองสดเป็น
ภักษา. บทว่า สามากภกฺโข ได้แก่ มีข้าวสารแห่งข้าวฟ่างเป็นภักษา.
ข้าวเหนียวที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย ในบททั้งหลายมีนีวาราเป็นต้น.
บทว่า ททฺทุลํ ได้แก่ กากข้าวซึ่งเขาขัดเอาเปลือกออกหมดแล้วทิ้ง. เปลือก

ไม้ก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีกรรณิกาเป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณํ
ได้แก่ รำข้าว. บทว่า อาจาโม ได้แก่ ข้าวที่ไหม้เกรียมติดหม้อข้าว ถือ
เอาข้าวดังนั้นในที่ซึ่งเขาทิ้งแล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า น้ำข้าว
ดังนี้บ้าง. วัตถุทั้งหลายมีแป้งเป็นต้น ปรากฏแล้ว. บทว่า ปวตฺตผลโภชี
ได้แก่ บริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า สาณานิ ได้แก่ ผ้าเปลือกป่าน.
บทว่า มสาณานิ คือ ผ้าแกมกัน. บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่เขา
ทิ้งจากศพ. หรือผ้าที่เขาถักวัตถุมีหญ้าตะไคร้น้ำเป็นต้นทำเป็นผ้านุ่ง. บทว่า
ปํสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าเปื้อนที่เขาทอดทิ้งในแผ่นดิน. บทว่า ติริฎานิ
ได้แก่ ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชินํ คือ หนังเสือ. บทว่า อชินกฺขิปํ คือ
หนังเสือนั้นเอง มีทาฬิกะในท่ามกลาง บางท่านกล่าวว่า มีเล็บ ดังนี้บ้าง.
บทว่า กุสจีรํ คือ ผ้าที่เขาถักหญ้าคาทำเป็นผ้า. แม้ในผ้าเปลือกปอ และ
ผ้าที่ทำจากผลไม้ทั้งหลาย ก็มีนัยเช่นเดียวกัน . บทว่า เกสกมฺพลํ ได้แก่ ผ้า
กัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ทั้งหลาย. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ผ้าบางอย่างที่เขาทอแล้ว ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ เลวกว่าผ้าเหล่า
นั้น ในเวลาหนาวก็จะเย็น ในเวลาร้อนก็จะร้อน มีราคาน้อย มีสัมผัสหยาบ
และระเหยกลิ่นเหม็น. บทว่า วาลกมฺพลํ คือ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยขนม้า
เป็นต้น. บทว่า อุลูกปกฺขํ ได้แก่ ผ้าที่เขาถักขนปีกนกเค้าทำเป็นผ้านุ่ง.
บทว่า อุพฺภฏฺฐโก ได้แก่ เป็นผู้ยืนขึ้น. บทว่า อุกฺกุฎิกปฺปธานมนุ-
ยุตฺโต
คือ ผู้ตามประกอบความเพียรนั่งกระโหย่ง แม้เมื่อจะเดินก็เป็นผู้กระ-
โหย่ง เหยียบพื้นไม่เต็มเท้าเดินไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า
ทรงแสดงว่า เราตอกหนามเหล็ก หรือหนามปกติในแผ่นดินแล้ว ลาดหนึ่ง
บนหนามนั้นแล้วทำกิจมีการยืนและการจงกรมเป็นต้น. บทว่า เสยฺยํ ความว่า
เราแม้เมื่อจะนอน ก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเทียว. บทว่า สายตติยกํ

คือ วันละสามครั้ง ทรงแสดงว่า เราขวนขวายการประกอบเนืองๆ ซึ่งการลง
น้ำอยู่ว่า เราจักลอยบาปวันละสามครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น.
บทว่า เนกวสฺสคณิกํ ได้แก่สั่งสมในการนับด้วยปีมิใช่น้อย. บทว่า
รโชชลฺลํ ได้แก่ มลทินคือธุลี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกาลแห่งสมา-
ทานรโชชัสลกวัตรของพระองค์ จึงตรัสถึงมลทินคือ ธุลีนี้. บทว่า เชคุจฺ-
ฉิสฺมึ
คือ ในภาวะทรงเกลียดบาป. บทว่า ยาว อุทกพินฺทุมฺหิปิ ความว่า
เราได้ตั้งความเอ็นดูแม้ในหยดน้ำ ก็จะกล่าวไปใยในก่อนกรวด ก้อนดิน ท่อน
ไม้ และทรายเป็นต้นเหล่าอื่นเล่า. ได้ยินว่า เขาเหล่านั้นบัญญัติหยดน้ำ และ
วัตถุทั้งหลายมีก้อนกรวดและก้อนดินเป็นต้นเหล่านั้นว่าเป็นสัตว์เล็กๆ. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า เราได้ตั้งความเอ็นดูเพียงในหยดน้ำ ดังนี้. เราไม่ฆ่า
ไม่ล้างผลาญแม้หยดน้ำ เพราะเหตุไร. เพราะเราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ
ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ล้างผลาญ คือ ฆ่าสัตว์
เล็กๆ กล่าวคือ หยดน้ำที่อยู่ในที่เสมอดุจในเนิน บนบก ปลายหญ้า และ
กิ่งไม้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงเนื้อความนั่นว่า เรามีสติก้าวไป
ข้างหน้า ดังนี้. นัยว่า ในอเจลกทั้งหลาย อเจลก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล จำเดิม
แต่กาลแห่งตนเหยียบแผ่นดินไม่มี อเจลกทั้งหลายถึงไปสู่ภิกษาจารก็เป็น
ผู้ทุศีลไป ถึงบริโภคในเรือนอุปัฏฐากทั้งหลาย ก็เป็นผู้ทุศีลบริโภค แม้กลับ
มาก็เป็นผู้ทุศีลกลับมา. แต่ในเวลาอเจลกทั้งหลายเข้าสู่กระดานโดยแววหาง
นกยูง อธิษฐานศีลนั่งอยู่ ในเวลานั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีศีล. บทว่า วนกมฺมิกํ
ได้แก่ผู้เที่ยวไปในป่า เพื่อประโยชน์แก่เหง้ารากเเละผลไม้เป็นต้น. บทว่า
วเนน วนํ คือ จากป่าสู่ป่า. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า ปปตามิ คือ
เราไป. บทว่า อารญฺญโก คือ เนื้ออยู่ประจำในป่า ทรงหมายถึงกาลแห่ง
อาชีวกของพระองค์ จึงตรัสคำนี้. นัยว่า พระโพธิสัตว์บวชเป็นอาชีวกนั้น

เพื่อประโยชน์แก่ทรงยึดการอยู่ป่าเป็นวัตร แม้ทรงรู้ถึงความบรรพชานั้นไม่มี
ประโยชน์แต่ก็ไม่ได้สึก เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับจาก
ฐานะที่เข้าถึงเป็นธรรมดา แต่ครั้นบวชแล้ว ก็ทรงคิดว่า ใครๆ อย่าได้เห็น
เรา แต่นั้นเทียวจึงเสด็จเข้าป่า เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ชนเหล่านั้น
อย่าได้เห็นเรา และเราก็อย่าได้เห็นชนเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า โคฏฺฐา ได้
แก่ ดอกโค. บทว่า ปติฏฺฐิตคาโว คือ เหล่าใดออกไปแล้ว. ในบท
เหล่าห็น บทว่า จตุกุณฺฑิโก ความว่า เที่ยวไป ยืนมองเห็นคนเลี้ยงโค
ออกไปพร้อมกับโคทั้งหลายแล้ว วางมือทั้งสองข้าง และเข่าทั้งสองลงบนแผ่น
ดินคลานเข้าไปอย่างนี้. บทว่า ตานิ สุทํ อาหาเรมิ ความว่า กากโคมัย
ของลูกโคแก่ย่อมไม่มีโอชารส เพราะฉะนั้น เว้นกากโคมัยเหล่านั้น จึงกิน
โคมัยที่มีรสโอชะของลูกโคอ่อนซึ่งยังดื่มน้ำนมเต็มท้องดีแล้ว เข้าสู่ราวป่าอีกนั้น
เทียว. ทรงหมายถึงคำนี้ จึงตรัสว่า นัยว่า เรากินโคมัยเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า
ยาว กีวญฺจ เม ความว่า มูตร และกรีสของตนของเรา ยังไม่สิ้นไปตลอด
กาลใด รอยเท้าที่ประตูของเรายังเป็นไปเพียงใด เราก็กินมูตรและกรีสนั้นเทียว
ตลอดกาลเพียงนั้น . ก็ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ๆ เนื้อและโลหิตสิ้นไป รอยเท้าใน
ประตูหมดไป เราก็กินโคมัยของลูกโคอ่อน. บทว่า มหาวิกฏโภชนสฺมึ
ได้แก่ในโภชนะชนิดใหญ่ อธิบายว่า ในโภชนะผิดปกติ.
คำว่า ตตฺร ในบทว่า ตตฺร สุทํ สารีปุตฺต ภึสนกสฺส วนสณฺ
ฑสฺส ภีสนกสฺมึ โหติ
เป็นคำบ่งถึงคำต้น. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาตใน
คำสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นคำร้องเรียก. ก็อรรถโยชนา
ในบทนั้นมีดังนี้. บทว่า ตตฺร ความว่า เป็นความน่ากลัวแห่งราวป่าที่น่า
กลัวที่ตรัสไว้ในบทว่า ในราวป่าอันน่ากลัว แห่งใดแห่งหนึ่ง อธิบายว่า เป็น
การการทำที่น่ากลัว. เป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศ-

จากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺร
เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. คำว่า สุ เป็นนิบาต เหมือนในคำเป็น
ต้นว่า กึสุ นาม โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา. บทว่า อิทํ เป็นคำแสดง
ทำเนื้อความที่ประสงค์แล้วดุจให้ประจักษ์. บทว่า สุอิทํ เป็น สุทํ พึงทราบ
การลบอิอักษร ด้วยอำนาจสนธิ ดุจในคำเป็นต้นว่า จกฺขุนฺทฺริยํ อิตฺถินฺทฺริยํ
อนญฺญตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ กึสูธ วิตฺตํ
ดังนี้. ก็โยชนา ในบทนั้น
ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร นี้แลเป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่าอันน่ากลัวนั้น. บทว่า
ภึสนกตสฺมึ ความว่า ในภาวะอันน่ากลัว. พึงเห็นการลบ ต อักษรตัวหนึ่ง.
บาลีว่า ภึสนกตสฺมึเยว ดังนี้ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง ครั้นเมื่อกล่าวว่า
ภึสนกตาย เป็นอันกระทำความคลาดเคลื่อนทางลิงค์. ก็ในบทนี้ เป็นสัตต-
มีวิภัตติ ลงในอรรถว่าเครื่องหมาย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์
อย่างนี้. นี้แลเป็นความน่ากลัว คือ มีความน่ากลัวเป็นนิมิต มีความน่ากลัว
เป็นเหตุ มีความน่ากลัวเป็นปัจจัย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไป
สู่ป่านั้น โดยมากขนพอง คือ ขนมากกว่า ย่อมพอง มีปลายตั้งขึ้นเป็นเช่น
กับเข็ม และเป็นเช่นกับหนามตั้งอยู่ ที่ไม่พองมีน้อย หรือขนของสัตว์ทั้ง
หลายมากกว่า ย่อมพอง ขนของบุรุษผู้กล้าหาญมาก มีน้อย ย่อมไม่พอง
ดังนี้. บทว่า อนฺตรฏฺฐกา ความว่า แปดราตรีในระหว่างสองเดือนอย่างนี้
คือ ในสุดท้ายเดือนสาม สี่ราตรี ในต้นเดือนสี่ สี่ราตรี. บทว่า อพฺโภกาเส
ความว่า พระมหาสัตว์ประทับอยู่ในกลางแจ้ง ตลอดราตรีในสมัยหิมะตก. ลำดับ
นั้น หยดหิมะทั้งหลาย ปกคลุมขุมพระโลมาทุกขุมขนของพระมหาสัตว์นั้น
ดุจแก้วมุกดา สรีระทั้งหมดเป็นเหมือนคลุมด้วยผ้าหยาบสีขาวฉะนั้น. บทว่า
ทิวา วนสณฺเฑ ความว่า ครั้นเมื่อหยดหิมะทั้งหลายไปปราศแล้ว เพราะ
สัมผัสแสงพระอาทิตย์ในกลางวัน แม้พระอัสสาสะพึงมี แต่พระมหาสัตว์นี้

ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า. แม้ในราวป่านั้น หิมะละลาย
เพราะแสงพระอาทิตย์ก็ตกลงในพระสรีระของพระโพธิสัตว์นั้นเทียว. บทว่า
ทิวา อพฺโภกาเส วิหรามิ รตฺตึ วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า พระ-
โพธิสัตว์นั้นประทับในกลางแจ้งตลอดวันในคิมหกาล. ด้วยเหตุนั้น สายพระ
เสโทจึงไหลออกจากพระกัจฉะทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น พึงมีพระอัสสา-
สะตลอดคืน ก็พระโพธิสัตว์นี้ ครั้นพระอาทิตย์อัศดงคต ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า.
ลำดับนั้น ในราวป่าที่มีไอร้อนระอุในกลางวัน อัตตภาพของพระองค์ก็เร่า
ร้อนเหมือนถูกใส่ในหลุมถ่านเพลิงฉะนั้น. บทว่า อนจฺฉริยา ได้แก่อัศจรรย์
น้อย. บทว่า ปฏิภาสิ ได้แก่ปรากฏแล้ว. บทว่า โส ตตฺโต ความว่า
ร้อนแผดเผาด้วยแสงแดดในกลางวัน ด้วยไอร้อนระอุในป่าใหญ่ในกลางคืน.
บทว่า โส สิโน ความว่า เปียกชุ่มด้วยดีด้วยหิมะในกลางคืน ด้วยน้ำหิมะ
ในกลางวัน. บทว่า ภิสนเก ได้แก่ อันให้เกิดความกลัว. บทว่า นคฺโค
ได้แก่ปราศจากผ้า ท่านแสดงว่า ก็ครั้นเมื่อมีผ้านุ่งแลผ้าห่ม หนาว หรือร้อน
ไม่พึงเบียดเบียนยิ่ง ผ้านุ่ง และผ้าห่ม แม้นั้นของเราก็ไม่มี. บทว่า น
จคฺคิมาสิโน คือ ไม่ได้ผิงแม้ไฟ. บทว่า เอสนาปสุโต ได้แก่ขวน
ขวาย คือ ประกอบเพื่อประโยชน์แก่การแสวงหาความหมดจด. บทว่า
มุนี ความว่า ในกาลนั้นพระองค์ทรงทำพระองค์เป็นมุนีแล้วตรัส. บทว่า
ฉวฏฺฐิกานิ ได้แก่ กระดูกทั้งหลายที่ทอดทิ้งเรี่ยราด. บทว่า อปณิธาย
คือ ทรงแสดงว่า หมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้าย่อมปรากฏฉันใด
พระองค์ทรงลาดแล้วสำเร็จการบรรทมบนกองกระดูกนั้นฉันนั้น. บทว่า
โคมณฺฑลา ได้แก่ พวกเด็กเลี้ยงโค ได้ยินว่า เด็กเหล่านั้นไปสู่สำนักของ
พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่สุเมธะ ท่านนั่งกล่าวอยู่ในที่นี้ เพราะเหตุไร.
พระโพธิสัตว์ทรงนั่งก้มพระพักตร์ ไม่ตรัส. ลำดับนั้น เด็กเลี้ยงโคเหล่านั้น

ล้อมพระโพธิสัตว์นั้นแล้วร้องตะโกนว่า พวกเราจักไม่ให้เพื่อให้ตรัส จึงถ่ม
น้ำลายรดพระสรีระ. พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสแม้อย่างนั้น. ลำดับนั้น พวกเด็ก
เลี้ยงโคโกรธพระโพธิสัตว์ว่า ท่านไม่ยอมกล่าว จึงถ่ายปัสสาวะรดเบื้องบน
พระโพธิสัตว์นั้น. แม้อย่างนั้น พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสเลย. แต่นั้นจึงโปรยฝุ่น
รดพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านจงพูด ท่านจงกล่าว ดังนี้. แม้อย่างนี้ พระโพธิสัตว์
ก็ไม่ตรัสนั้นเทียว. ลำดับนั้น จึงกล่าวว่า ท่านไม่พูด แล้วเอาคิ้วไม้ยอนที่ช่อง
พระกรรณทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงอดกลั้นทุกข
เวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ย่อมปรารถนาเหมือนคนตายว่า เราจักไม่กล่าว
คำอะไรแก่ใครเลย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็เราไม่รู้สึกว่า ยัง
จิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดังนี้. อธิบายว่าแม้จิตชั่วอันเรา
ไม่ให้เกิดแล้วในพวกเด็กเหล่านั้น. บทว่า อุเปกฺขาวิหารสฺมึ โหติ คือ เป็น
ผู้อยู่ด้วยอุเบกขา. ก็วิหารเทียว เรียกว่า วิหารสฺมึ ก็ด้วยบทนั้นเทียว พึง
ทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า อยํสุ เม แม้ในบทนี้ว่า อิทํสุ เม ในที่นี้. พึง
ทราบแม้บทเห็นปานนี้แม้เหล่าอื่นโดยนัยนี้. ทรงแสดงอุเบกขาวิหารที่ทรง
บำเพ็ญแล้วตลอด 91 กัปแต่นี้ ด้วยบทนี้. ทรงหมายถึงอุเบกขาวิหาร จึงตรัส
ว่า
เมื่อประสบสุข เราก็ไม่ยินดี เมื่อ
ประสบทุกข์ เราก็ไม่เสียใจ เราไม่ติดใน
สุขและทุกข์ทั้งปวง นั่นเป็นอุเบกขาบารมี
ของเรา.

บทว่า อาหาเรน สุทฺธิ คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้ง
หลายอาจเพื่อหมดจดด้วยอาหารนิดหน่อยบางอย่างเช่น พุทราเป็นต้น. บทว่า
เอวมาหํสุ ได้แก่ พูดอย่างนี้. บทว่า โกเลหิ ได้แก่ พุทราทั้งหลาย. บทว่า

โกโลทกํ คือ น้ำดื่มที่เขาขยำผลพุทราทั้งหลายแล้วทำ. บทว่า โกลวิกตึ
ได้แก่ ชนิดแห่งพุทรา เช่นสลัดพุทรา ขนมพุทรา และก้อนพุทราเป็นต้น.
บทว่า เอตปรโม ความว่า นั่นเป็นประมาณอย่างยิ่งของพุทรานั้น เพราะ
ฉะนั้น พุทรานั้นจึงชื่อว่า เอตปรโม มีผลใหญ่ อธิบายว่า ก็ในกาลนั้น ใน
ที่สุด 91 กัป พุทราไม่ใหญ่เท่าผลมะตูมสุก และผลตาลสุก คงใหญ่เท่าพุทรา
ในบัดนี้เท่านั้น. บทว่า อธิมตฺตกสีมานํ ความว่า ทรงผอมอย่างยิ่ง.
บทว่า อสีติกปพฺพานิ วา กาฬปพฺพานิ วา คือ ทรงแสดงว่า เถาวัลย์ที่มี
ข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ที่เหี่ยวแห้งในที่ต่อ ย่อมนูนขึ้นและแฟบลงใน
ท่ามกลางฉันใด อวัยวะน้อยใหญ่ของเราก็เป็นฉันนั้น. บทว่า โอฏฺฐปทํ
ความว่า เท้าอูฐ เป็นธรรมชาติลึกในท่ามกลางฉันใด ครั้นเมื่อเนื้อและเลือด
เหือดแห้ง ตะโพกของพระโพธิสัตว์ก็ลึกในท่ามกลาง เพราะความที่วัจจทวาร
เข้าไปในภายในฉันนั้นเหมือนกัน. ทีนั้น สถานที่นั่งในแผ่นดินของพระโพธิสัตว์
นั้น ก็จะนูนขึ้นในท่ามกลาง เหมือนประทับด้วยกระบอกลูกศร. บทว่า วฏฺฏนา-
วลี
ความว่า เถาสะบ้าที่เขาฟันทำเป็นเชือกก็จะแฟบในระหว่าง ๆ แห่งเถา
สะบ้า จะนูนขึ้นในที่เป็นเกลียวฉันใด กระดูกสันหลังนูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ ฉันนั้น.
บทว่า ชรสาลาย โคปานสิโย ได้แก่ กลอนแห่งศาลาเก่า. กลอนเหล่า
นั้นหลุดจากโครงแล้วตั้งอยู่ในบริเวณ กลอนที่อยู่ในบริเวณก็จะหลุดอยู่ในที่
พื้นดิน เพราะฉะนั้น ก็จะเหลื่อมขึ้นและเหลื่อมลง คือ ตัวหนึ่งอยู่บน
ตัวหนึ่งอยู่ข้างล่าง ก็กระดูกซี่โครงของพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะ
ครั้นพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง พระโพธิสัตว์นั้นก็มีพระจัมมะ
โดยระหว่างกระดูกซี่โครง เหลื่อมลง ทรงหมายถึงกระดูกซี่โครงนั้น
จึงตรัสบทนี้. บทว่า โอกฺขายิกา ได้แก่ ลึกเข้าไปในเบื้องล่าง. นัยว่า
ครั้นเมื่อพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง เบ้าตาของพระโพธิสัตว์นั้น

ก็ลึกจดมันสมอง เพราะเหตุนั้น ดวงตาของพระโพธิสัตว์นั้นจึงเป็นอย่างนั้น.
บทว่า อามกจฺฉินฺโน ได้แก่ ตัดแล้วในเวลายังอ่อน. ก็น้ำเต้าขมนั้นสัมผัส
กับลมและแดดย่อมเหี่ยวแห้ง. บทว่า ยาวสฺสุ เม สารีปุตฺต ความว่า
ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราเหี่ยวติดกระดูกสันหลัง. อีกประการหนึ่ง
พึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร การบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ของเรา ยังเป็นภาระหนักเพียงใด ผิวหนังท้องของเราก็เหี่ยวติดกระดูกสันหลัง
เพียงนั้น. บทว่า ปิฏฺฐิกณฺฏกญฺเญว ปริคฺคณฺหามิ ความว่า เราคิดว่า
จะจับผิวหนังท้อง ลูบคลำผิวหนังท้องอย่างเดียว ก็คลำถูกกระดูกสันหลังที
เดียว. บทว่า อวกุชฺโช ปปตามิ ความว่า เมื่อพระองค์นั้นนั่งเพื่อประโยชน์
แก่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออกเลย แต่วัจจะมีเพียงเม็ดตุมกา 1-2
ก้อน ก็ยังทุกข์อันมีกำลังให้เกิดขึ้น เหงื่อทั้งหลายก็ไหลออกจากสรีระ. พระองค์
ก็ชวนล้มลงในพื้นดินในที่นั้นเอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราชวนล้ม ดัง
นี้. บทว่า ตเมว กายํ ได้แก่ กายที่สุดใน 91 กัป. ก็ทรงหมายถึงกาย
ในภพสุดท้ายในมหาสัจจกสูตร จึงตรัสว่า อิมเมว กายํ ดังนี้. บทว่า
ปูติมูลานิ ความว่า เมื่อพระมังสะ หรือพระโลหิตยังมีอยู่ พระโลมาทั้งหลาย
ก็ตั้งอยู่ได้ แต่ในเพราะไม่มีพระมังสะพระโลหิตนั้น พระโลมาทั้งหลายดุจติด
อยู่ในเเผ่นหนึ่ง ก็หลุดติดพระหัตถ์ด้วย ทรงหมายถึงอาการนั้น จึงตรัสว่า
ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกายดังนี้. บทว่า อลมริยญาณทสฺสนวิเสสํ
ได้แก่ โลกุตตรมรรคอันสามารถเพื่อการทำความเป็นอริยะได้. บทว่า อิมิสสฺ-
สาเยว อริยาย ปญฺญาย
ความว่า เพราะไม่บรรลุวิปัสสนาปัญญา. บทว่า
ยายํ อริยา ได้แก่ บรรลุมรรคปัญญานี้ใด. ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ชื่อว่า
บรรลุมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาได้บรรลุแล้วในบัดนี้ฉันใด
เราไม่บรรลุโลกุตตรมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาไม่ได้บรรลุแล้ว

ในที่สุด 91 กัป ฉันนั้น. ส่วนมัชฌิมภาณกเถระกล่าวว่า ปัญญาที่กล่าวว่า
อิมิสฺสาเยว ก็ดี ปัญญาที่กล่าวว่า ยายํ อริยา ก็ดี คือ มรรคปัญญานั้น
เทียว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะมัชฌิมภาณกเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า เราไม่ได้บรรลุมรรคเพราะความที่มรรคได้
บรรลุแล้วนี้ ท่านได้กล่าวแล้ว. พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราไม่อาจเพื่อ
แสดงก็จริง แต่ปัญญาแม้สองอย่างนั้น คือ มรรคปัญญานั้นเทียว. ก็คำนั้น
เทียวสมควรแล้วในที่นี้. ก็โดยประการนี้ นิทเทสว่า ยา อยํ ก็ไม่สมควร.
บทว่า สํสาเรน สุทฺธิ คือ กล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวมาก
ย่อมหมดจด. บทว่า อุปปตฺติยา สุทฺธิ ได้แก่กล่าวว่า เกิดขึ้นมาก ย่อมหมด
จด. บทว่า อาวาเสน สุทฺธิ คือกล่าวว่าอยู่ในที่ทั้งหลายมาก ย่อมหมดจด.
ท่านกล่าวถึงขันธ์ทั้งหลายนั้นเทียวในฐานะแม้สามว่า สังสารด้วยสามารถผู้ท่อง
เทียว อุบัติด้วยสามารถผู้เกิด อาวาสด้วยสามารถผู้อยู่. บทว่า ยญฺเญน
ได้แก่ กล่าวว่า บูชายัญมากย่อมหมดจด. บทว่า มุทฺธาวสิตฺเตน ความว่า
อภิเษกเป็นกษัตริย์ ด้วยสังข์สาม. บทว่า อคฺคิปาริจริยาย ได้แก่ กล่าวว่า
ย่อมหมดจดด้วยการบำเรอไฟมาก. บทว่า ทหโร คือ หนุ่ม. บทว่า ยุวา ได้แก่
ถึงพร้อมด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า สุสุกาฬเกโส คือ มีผมดำสนิท. บทว่า
ปญฺญาเวยฺยตฺติเยน ได้แก่ ความเป็นผู้มีสัญญาเฉียบแหลม. บทว่า ชิณฺโณ
คือ ผู้อันชราครอบงำ. บทว่า วุฑฺโฒ ได้แก่มีอวัยวะน้อยใหญ่เจริญเต็มที่
แล้ว. บทว่า มหลฺลโก คือ ผู้ใหญ่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคโต ได้แก่
ถึงกาลมาก คือ ผ่านกาลนาน. บทว่า วโย อนฺปฺปตฺโต ความว่า ผ่าน
ปัจฉิมวัยอันเป็นส่วนที่สามแห่งร้อยปี. บทว่า อสีติโก เม วโย วตฺตติ
ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้ในปีแห่งปรินิพพาน เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ปรมาย คือ อุดม. ย่อมกล่าวถึงร้อยบทบ้าง

พันบทบ้างในบทว่า สติยา เป็นต้น ความเป็นผู้สามารถเรียนชื่อว่า สติ.
ความเป็นผู้สามารถทรงไว้และผูกไว้ ชื่อว่า คติ. ความเพียรที่สามารถเพื่อ
ทำการสาธยายที่เรียนแล้ว ทรงจำแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า ธิติ. ความเป็นผู้
สามารถเห็นเนื้อความและการณ์แห่งธิตินั้น ชื่อว่า ปัญญาเวยยัตติยะ. บทว่า
ทฬฺหธมฺโม ธนุคฺคโห ความว่า นักธนูยืนจับธนู มั่นคง. กำลังสองพัน
เรียกชื่อว่า ทัฬหธนู ธนูใดที่ยกขึ้นแล้ว มีสายผูก มีความหนักเท่าท่อนเหล็ก
เป็นต้น จับคันยกขึ้นพ้นจากดิน ประมาณคอ ธนูนั้น ชื่อว่า มีกำลังสองพัน.
บทว่า สิกฺขิโต ความว่า มีศิลปะที่เรียนแล้วในตระกูลอาจารย์ถึงสิบสองปี.
บทว่า กตหตฺโถ ความว่า บางคนเรียนเพียงศิลปะเท่านั้น ไม่ได้รับการ
ฝึกหัด แต่นายธนูนี้ได้รับการฝึกหัดแล้วชำช่อง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือ
มาแล้ว คือ มีศิลปะที่ได้แสดงแล้วในที่ทั้งหลายมีราชตระกูลเป็นต้น. บทว่า
ลหุเกน อสเนน ความว่า ด้วยลูกศรขนาดเบา ซึ่งบริกรรมด้วยครั่งที่ทำร่อง
ไว้ภายในทำให้เต็มสายเป็นต้น ก็ลูกศรที่ทำอย่างนี้ ผ่านโคอสุภหนึ่งตัว ทะลุ
โคอสุภสองตัวได้ ศรที่ผ่านโคอสุภแปดตัวทะลุโคอสุภสิบหกตัวได้. บทว่า
อปฺปกสิเรน ได้แก่โดยไม่ยาก บทว่า อติปาเตยฺย คือ พึงให้ทะลุ.
บทว่า เอวํ อธิมตฺตสติมนฺโต ความว่า นักธนูนั้นย่อมยิงเงาหนึ่งคืบสี่นิ้ว
ได้รวดเร็วฉันใด สามารถเพื่อเรียน เพื่อทรงจำ เพื่อสาธยาย ร้อยบทบ้าง
พันบทบ้าง และเพื่อใคร่ครวญเนื้อความและเหตุทั้งหลายได้ฉันนั้น. บทว่า
อญฺญตฺร อสิตปีตขายิตสายิตา ความว่า ก็กิจทั้งหลายมีการกินและการดื่ม
เป็นต้น เป็นกิจอันพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ภิกษุทั้งหลายก็ดี พึงทำ เพราะ
ฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า เว้นเวลาสักว่าทำกิจทั้งหลายมีการกินและการดื่มเป็น
ต้นนั้น. บทว่า อปริยาทินฺนาเยว ความว่า อันไม่รู้จักจบสิ้น. ก็ถ้าภิกษุ
รูปหนึ่งถามกายานุปัสสนา อีกรูปถามเวทนานุปัสสนา อีกรูปถาม จิตตานุ-

ปัสสนา อีกรูปถามธัมมานุปัสสนา ภิกษุแต่ละรูปย่อมไม่มองดูกัน ว่า
เราถูกภิกษุนี้ถามแล้วก็จักถาม. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น วาระของภิกษุ
เหล่านั้น ย่อมปรากฏ. แต่วาระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏอย่าง
นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายานุปัสสนาโดยสิบสี่วิธี เวทนานุปัสสนาโดย
เก้าวิธี จิตตานุปัสสนาโดยสิบหกวิธี ธัมมานุปัสสนาโดยห้าวิธี ก่อนกว่าการ
ยิงเงาหนึ่งคืบสี่นิ้วอย่างรวดเร็วเสียอีก. สติปัฏฐาน 4 นั้น จงยกไว้ก่อน. ก็
ถ้าภิกษุสี่รูปอื่นพึงถามปัญหาในสัมมัปปธานทั้งหลาย อีกพวกหนึ่งถามปัญหาใน
อิทธิบาท อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในอินทรีย์ห้า อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหา
ในพละห้า อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในโพชฌงค์เจ็ด อีกพวกหนึ่งพึงถาม
ปัญหาในองค์มรรคแปดไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้.
อนึ่ง องค์มรรคแปดนั่นจงยกไว้. ถ้าชน 37 คนอื่น พึงถามปัญหาในโพธิปัก-
ขิยธรรมทั้งหลายไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้ก่อนทีเดียว.
เพราะเหตุไร. เพราะมหาชนชาวโลกย่อมกล่าวได้บทหนึ่งโดยประมาณเท่าใด
พระอานนทเถระย่อมกล่าวได้แปดบทโดยประมาณเท่านั้น. ก็ครั้นเมื่อพระ
อานนทเถระกล่าวได้บทเดียวเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสได้สิบหกบท.
เพราะเหตุไร. เพราะพระชิวหาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอ่อน ไรพระทนต์เรียบ
สนิท พระวจนะไม่ติดขัด ภวังคปริวาสเบา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้น จึงไม่รู้จักจบสิ้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมเทสนา ได้แก่ วางระเบียบแบบแผน. บทว่า
ธมฺมปทพฺยญฺชนํ ความว่า บทพยัญชนะแห่งบาลี คืออักษรอันเป็นตัว
พยัญชนะแห่งอรรถนั้น ๆ. บทว่า ปญฺหปฏิภานํ ได้แก่ ปัญหาพยากรณ์.
ทรงแสดงอะไรด้วยบทนี้. ทรงแสดงอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเวลายังหนุ่ม ตถาคต
ย่อมอาจเพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบทได้ ย่อมอาจเพื่อประมวลบท

ทั้งหลายกล่าวเป็นคาถาได้ ย่อมอาจเพื่อกล่าวอรรถะ ด้วยคาถาอันประกอบ
ด้วยบท มีสี่อักษรบ้าง มีสิบหกอักษรบ้าง แต่ในเวลาแก่ ณ บัดนี้ ไม่อาจ
เพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบท หรือประมวลบททั้งหลาย กล่าวเป็น
คาถา หรือกล่าวอรรถะด้วยคาถาได้ ดังกล่าวมานี้ย่อมไม่มี ในเวลาหนุ่ม
และในเวลาแก่ ธรรมเทศนาเป็นต้นทั้งหมดนั้นของตถาคตไม่รู้จักจบสิ้น. บทว่า
มญฺจเกน เจ มํ ความว่า ทรงกำหนดบทนี้แล้วตรัส เพื่อทรงแสดงกำลัง
ของพระพุทธเจ้านั้นเอง. ก็ชื่อว่ากาลในการยกพระทศพลขึ้นสู่เตียงน้อยแล้ว
บริหารทั่ว คาม นิคม และราชธานี ไม่มี. ก็พระตาถาคตทั้งหลายผู้อัน
ลักษณะมี ฟันหลุด เป็นต้น ไม่ครอบงำแล้วในส่วนแห่งอายุที่ห้า เมื่อ
ความเปลี่ยนแปลงทางวรรณะของสรีระอันมีวรรณะดุจทองไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
ปรินิพพานในกาลเป็นที่รักเป็นที่ชอบของเทวดาแสะมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว.
บทว่า นาคสมาโล เป็นชื่อของพระเถระนั้น. ก็ในปฐมโพธิกาลระหว่าง
ภายใน 20 ปี พระนาคสมาละแม้นี้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือน
พระอุปวานเถระ พระนาคิตเถระและพระเมฆิยเถระ. บทว่า วีชยมาโน คือ
ยังความสุขในฤดูให้ตั้งขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยลมจากพัดใบตาลอันอ่อน.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระเถระฟังพระสูตรทั้งสิ้นจบแล้ว อาศัยการบำเพ็ญ
ทุกกรกิริยา ซึ่งเคยบำเพ็ญแล้วในกาลก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลื่อมใสแล้ว
จึงกราบทูลคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นอัศจรรย์ ดังนี้. ในบท
นั้น ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแล้วเพื่อปรบมือ. ชื่อว่า อภูตะ เพราะ
ไม่เคยมีกลับมีแล้ว. พระเถระแสดงความแปลกประหลาดของตนเทียว ด้วยบท
แม้ทั้งสอง. กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร

ด้วยความประสงค์ว่า ธรรมปริยายนี้ดีหนอ เอาเถิด เราจักทูลขอพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าให้ทรงระบุชื่อธรรมปริยายนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
ระบุชื่อธรรมปริยายนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมา ติห ตฺวํ เป็นต้น. เนื้อความแห่ง
ธรรมปริยายนั้นว่า ขนทั้งหลายของเธอพองขึ้น เพราะฟังพระสูตรนี้ เพราะ
เหตุนั้นแล นาคสมาละ เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ว่า โลมหังสนปริยาย
ดังนี้แล.
จบอรรถกถามหาสีหนาทสูตรที่ 2

3. มหาทุกขักขันธสูตร


[194] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูป
ด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร
สาวัตถี. ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว. ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่า
นั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง. พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวกภิกษุผู้นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควร
กำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณ
โคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้
รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็
บัญญัติข้อกำหนดรู้เวทนาได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่า
เป็นข้อวิเศษ เป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดม
กับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม อนุสาสนีกับอนุสาสนี.
พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น
กล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่ง
ภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.