เมนู

อรรถกถามหาสาโรปสูตร


มหาสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า อจิรปกฺ-
กนฺเต
ความว่า เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ทำโลหิตุปาทกรรม ทำพระโลหิต
ให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไปโดยเพศเดิมของตน. ในคำว่า
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต ท่านมิได้กำหนดว่ากุลบุตรชื่อโน้นก็จริง
ถึงอย่างนั้น คำนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเฉพาะพระเทวทัต
เท่านั้น. จริงอยู่ พระเทวทัต ชื่อว่า เป็นกุลบุตรโดยชาติ เพราะเกิดใน
วงศ์พระเจ้าโอกกากราช ตามเชื้อสายมหาสมบัติราชที่ไม่ระคนวงศ์อื่น. บทว่า
โอติญฺโณ ได้แก่ ชาติของผู้ใดอยู่ภายใน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกชาติครอบงำแล้ว.
แม้ในชราเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปัจจัย 4 ชื่อว่าลาภในคำว่าลาภและ
สักการะเป็นต้น. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ ปัจจัย 4 เหล่านั้นที่เขาจัดไว้ดี
แล้ว. บทว่า สิโลโก ได้แก่ การพูดสรรเสริญ. บทว่า อภินิพฺพตฺเตติ
ได้แก่ ให้เกิด. บทว่า อปญฺญาตา ความว่า ไม่ปรากฏในสถานที่ชนทั้ง 2
ดำรงอยู่ ย่อมไม่ได้แม้เพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม. บทว่า อปฺเปสกฺขา
ได้แก่ พวกที่ไม่มีบริวาร ไม่ได้คนแวดล้อมไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บทว่า
สาเรน สารกรณียํ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเพลา ล้อ แอกและไถเป็นต้น
ที่จะพึงทำด้วยไม้แก่น. บทว่า สาขาปลาสํ อคฺคเหสิ พฺรหฺมจริยสฺส
ความว่า ปัจจัย 4 ชื่อว่ากิ่งไม้ใบสด ของศาสนพรหมจรรย์อันมีมรรคผลเป็น
สาระ ได้ถือเอาแต่กิ่งไม้ใบสดนั้น. บทว่า เตน จ โวสานํ อาปาทิ ความว่า
ก็ด้วยเหตุนั้นแล พระเทวทัตนั้น จึงหยุดด้วยเข้าใจว่า พอแค่นี้ เราพบสาระ

แล้ว. บทว่า ญาณทสฺสนํ อภินิพฺพตฺเตติ ความว่า พระเทวทัตได้
อภิญญา 5 ก็ทิพยจักษุอยู่สุดท้ายของอภิญญา 5 ทิพยจักษุนั้น. ท่านกล่าวว่า
ญาณทัสสนะในพระสูตรนี้. บทว่า อชานํ อปสฺสํ วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่รู้สุขุมรูปไร ๆ โดยที่สุดแม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่. บทว่า
อสมยวิโมกฺขํ อาราเธติ ความ กุลบุตรย่อมยินดี ย่อมให้ถึงพร้อม
ย่อมได้โลกุตตรธรรม 9 ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ อสมยวิโมกข์ เป็นไฉน
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 นิพพาน 1 นี้ ชื่อว่า อสมย-
วิโมกข์. จริงอยู่ สมาบัติที่เป็นโลกิยะ ย่อมพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะ
ที่ถึงอัปปนานั้นเอง เพราะฉะนั้น โลกิยสมาบัตินั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นสมย-
วิโมกข์ อย่างนี้ว่า สมยวิโมกข์เป็นไฉน คือ รูปาวจรสมาบัติ 4
อรูปาวจรสมาบัติ 4 นี้ เรียกว่า สมยวิโมกข์ ส่วนโลกุตตธรรม ย่อนพ้น
ได้ทุกกาล จริงอยู่ มรรคจิตและผลจิตที่พ้นคราวเดียว ก็เป็นอันพ้นไปเลย
นิพพานก็พ้นแล้วเด็ดขาดจริงจากสรรพกิเลสส่วนเดียว เพราะฉะนั้น ธรรม 9
เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า อสมยวิโมกข์. บทว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ
ได้แก่ วิมุตติสัมปยุตด้วยอรหัตผล. ประโยชน์นี้ ของพรหมจรรย์ นั้น มีอยู่
เพราะเหตุนั้น พรหมจรรย์นั้น จึงชื่อว่า เอตทัตถะ คือพรหมจรรย์นี้ มี
พระอรหัตตผลนั้นเป็นประโยชน์ ท่านอธิบายว่า นี้เป็นประโยชน์ของพรหม-
จรรย์นั้น. บทว่า เอตํ สารํ ความว่า อรหัตมรรคและอรหัตผลนี้เป็น
สาระแห่งพรหมจรรย์. บทว่า เอตํ ปริโยสานํ ความว่า อรหัตผลนี้ เป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ นี้เป็นสุดท้ายไม่มีผลที่จะพึงบรรลุยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงจบเทศนาตามอนุสนธิดังนี้แล.
จบ อรรถกถามหาสาโรปมสูตรที่ 9

10. จูฬสาโรปมสูตร


[353] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณ-
พราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็น
เจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล
อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้น
ทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง
บางพวกไม่รู้ยิ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าพวกนั้นทั้ง
หมดรู้ยิ่ง ตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง
บางพวกไม่รู้ยิ่งนั้น จงงดไว้เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรม
นั้น จงการทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปิงคลโกจฉพราหมณ์ทูลรับพระ-
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ว่าด้วยอุปมาผู้ต้องการแก่นไม้


[354] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลย
สะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้น