เมนู

อรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร


มหาหัตถิปโทปมสูตร

เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาหัตถิปโทปมสูตรนั้น บทว่า ชงฺคลานํ
แปลว่าผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน. บทว่า ปาณานํ ได้แก่ สัตว์มีเท้าและสัตว์
ไม่มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ แปลว่า รอยเท้าทั้งหลาย. บทว่า สโมธานํ
คจฺฉนฺติ
ได้แก่ ถึงการรวมลงคือใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ แปลว่า
ท่านกล่าวว่า ประเสริฐ. บทว่า ยทิทํ มหนฺตตฺเตน ความว่า ท่านกล่าว
ว่าเลิศเพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ อธิบายว่าไม่ใช่ใหญ่โดยคุณ. บทว่า เย เกจิ
กุสลา ธมฺมา
ได้แก่ กุศลธรรมไม่ว่าโลกิยะ หรือ โลกุตตระ เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง. สังคหะ ในคำว่า สงฺคหํ คจฺฉนฺติ นี้ มี 4 อย่าง คือสชาติสังคหะ 1
สัญชาติสังคหะ 1 กริยาสังคหะ 1 คณนสังคหะ 1. บรรดาสังคหะ 4 อย่างนั้น
การรวบรวมตามชาติของตนอย่างนี้ว่า ขอกษัตริย์ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้ง
ปวงจงมาดังนี้ ชื่อว่า สชาติสังคหะ. การรวบรวมตามถิ่นแห่งคนชาติเดียวกัน
อย่างนี้ว่า คนชาวโกศลทั้งหมด ชาวมคธทั้งหมด ชื่อว่าสัญชาติสังคหะ. การ
รวบรวมโดยกิริยาอย่างที่ว่า พลรถทั้งหมด พลถือธนูทั้งหมด ชื่อว่า กิริยาสังคหะ.
การรวบรวมอย่างนี้ว่า จักขายตนะ รวมเข้าในขันธ์ไหน จักขายตนะรวมเข้า
ในรูปขันธ์ จักขายตนะ ถึงการรวมเข้าในรูปขันธ์ไหน เมื่อถูกว่ากล่าวด้วย
ข้อนั้น จักขายตนะท่านก็รวมเข้ากับรูปขันธ์ ชื่อว่า คณนสังคหะ. แม้ในที่นี้
ท่านก็ประสงค์คณนสังคหะนี้นี่แล.
ถามว่า ก็ในการแก้ปัญหาว่า บรรดาอริยสัจ 4 อย่างไหนเป็นกุศล
อย่างไหนเป็นอกุศล อย่างไหนเป็นอัพยากฤต ดังนี้ พระมหาเถระจำแนก