เมนู

พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุนั้น
ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ว่าไม่เป็นลาภของเราหนอ
ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ
ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง
พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ เปรียบ
เหมือนหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด
หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้
ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยดี
ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นฉันนั้นเหมือนกันแล.
หากว่าเมื่อภิกษุนั้น ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่
อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี
ไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทำให้
มากแล้ว.

ว่าด้วยขันธสังคหะ


[346] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์
ดินเหนียวและหญ้าแวดล้อมแล้ว ย่อมนับว่าเรือนฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูกและอาศัยเอ็นเนื้อและหนึ่งแวดล้อมแล้ว ย่อมนับ
ว่ารูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทำลาย
แล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความกำหนด
อันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด
แต่การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ แต่ความกำหนด
อันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่

การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปใน
ภายในไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมปรากฏ
ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น ความปรากฏ
แห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์
คือรูป. เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์
ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา. สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญา
นั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา. สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่าง
นั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร. วิญญาณ
แห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ ในอุปาทาน
ขันธ์คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การ
ประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการ
อย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็น
ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจ-
สมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัยการเกิดขึ้นเหล่านี้คือ ปัญจุปาทานขันธ์
ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่า
นี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความ
พอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่า
นี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้
มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าโสตอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว. . .

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าฆานะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว . . .
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าชิวหาอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว . . .
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ากายอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว . . .
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ามนะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก
ทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความ
กำหนดอันเกิดแต่มนะและ ธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วน
ของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่ามนะอัน
เป็นไปในภายใน ไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย
นอกย่อมปรากฏ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี
ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่ความกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่
ได้ก่อน. แต่ว่าในกาลใดแล มนะอันเป็นไปในภายในไม่แตกทำลายแล้ว
และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ ทั้งความกำหนดอัน
เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นก็ย่อมมี ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งส่วน
ของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปแห่งสภาพ
ที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา
แห่งสภาพที่เป็นอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือ
เวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้นย่อมสงเคราะห์
ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด
สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่
เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวด
หมู่แห่งอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่งพระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า
เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ก็คือ ปัญจุปาทานขันธ์ ความพอใจ ความอาลัย ความ
ยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้นอันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย
การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถ
ความพอใจในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดู
ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว แล.
จบ มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ 8

อรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร


มหาหัตถิปโทปมสูตร

เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาหัตถิปโทปมสูตรนั้น บทว่า ชงฺคลานํ
แปลว่าผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน. บทว่า ปาณานํ ได้แก่ สัตว์มีเท้าและสัตว์
ไม่มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ แปลว่า รอยเท้าทั้งหลาย. บทว่า สโมธานํ
คจฺฉนฺติ
ได้แก่ ถึงการรวมลงคือใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ แปลว่า
ท่านกล่าวว่า ประเสริฐ. บทว่า ยทิทํ มหนฺตตฺเตน ความว่า ท่านกล่าว
ว่าเลิศเพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ อธิบายว่าไม่ใช่ใหญ่โดยคุณ. บทว่า เย เกจิ
กุสลา ธมฺมา
ได้แก่ กุศลธรรมไม่ว่าโลกิยะ หรือ โลกุตตระ เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง. สังคหะ ในคำว่า สงฺคหํ คจฺฉนฺติ นี้ มี 4 อย่าง คือสชาติสังคหะ 1
สัญชาติสังคหะ 1 กริยาสังคหะ 1 คณนสังคหะ 1. บรรดาสังคหะ 4 อย่างนั้น
การรวบรวมตามชาติของตนอย่างนี้ว่า ขอกษัตริย์ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้ง
ปวงจงมาดังนี้ ชื่อว่า สชาติสังคหะ. การรวบรวมตามถิ่นแห่งคนชาติเดียวกัน
อย่างนี้ว่า คนชาวโกศลทั้งหมด ชาวมคธทั้งหมด ชื่อว่าสัญชาติสังคหะ. การ
รวบรวมโดยกิริยาอย่างที่ว่า พลรถทั้งหมด พลถือธนูทั้งหมด ชื่อว่า กิริยาสังคหะ.
การรวบรวมอย่างนี้ว่า จักขายตนะ รวมเข้าในขันธ์ไหน จักขายตนะรวมเข้า
ในรูปขันธ์ จักขายตนะ ถึงการรวมเข้าในรูปขันธ์ไหน เมื่อถูกว่ากล่าวด้วย
ข้อนั้น จักขายตนะท่านก็รวมเข้ากับรูปขันธ์ ชื่อว่า คณนสังคหะ. แม้ในที่นี้
ท่านก็ประสงค์คณนสังคหะนี้นี่แล.
ถามว่า ก็ในการแก้ปัญหาว่า บรรดาอริยสัจ 4 อย่างไหนเป็นกุศล
อย่างไหนเป็นอกุศล อย่างไหนเป็นอัพยากฤต ดังนี้ พระมหาเถระจำแนก