เมนู

ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่นแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาแสะจรณะ ไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ไม่มีมีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น
แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้พร้อมด้วยเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ทั้งเทวดาและมนุษย์
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ตถาคตนั้นย่อมแสดงธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิด
มาภายหลังแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว
ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธาแม้
นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส
เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจ
อันใคร ๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชเถิด ต่อมา เขาละกองโภค-
สมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวดนุ่มห่มผ้ากาสาว-
พัสตร์ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช.

ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ


[333] กุลบุตรนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของ
ภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะไม้ วางศาสตรา
มีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
อยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่
ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหม-
จรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูด

เท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง พูดคำสัตย์ตลอดมีถ้อยคำเป็น
หลักฐาน ควรเธอถือได้ ไม่พูดคลาดเคลื่อนต่อโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาด
จากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน
หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมาน
คนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียง
กัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ
กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วน
มากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่
เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่
อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการ
พรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉัน
ในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่น
อันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกายด้วย
ดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เธอ
เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เธอเว้นขาดจากการรับทอง
และเงิน เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เธอ
เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่
ดิน เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เธอเว้นขาดจากการ
ซื้อการขาย เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการ
โกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบ
ตะแลง เว้นขาดจากการตัดการฆ่า การจองจำ การตีชิง และปล้นและกรรโชก

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง
บริหารท้อง เธอไปทางทิสาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทาง
ทิสาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกขอตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็น
ผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
เธอจะไปทิสาภาคใด ๆ ก็คือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษ
มิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วย
จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก-
ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจัก-
ขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็น
เหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา
มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวร
อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ภิกษุนั้น
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ใน
การคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวใน
การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.
[334] ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์นี้ อินทรียสังวรสติสัมป-
ชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในเวลา
ภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจากความเพ่งเล็งอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท
ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้วเป็นผู้
ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิ-
กิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

รูปฌาน 4


[335] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง
จิตอันเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต) ดังนี้บ้าง
ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสพแล้ว) ดังนี้บ้าง ว่า
ตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันขนายคือญาณของตถาคตแทงแล้ว) ดังนี้บ้าง
อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
ดูก่อนพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่อง
ใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ
จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ