เมนู

[295] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้ง
ข่าวว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญ
อยู่เนืองๆนั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ
หลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน.
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลัง ๆ พอเห็นศีรษะกัน. ครั้งนั้นท่านพระปุณณ-
มันตานีบุตรเข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้
ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
เหมือนกัน.

ปัญหาว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์


[296] เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่าน
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราหรือ.
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า อย่างนั้นสิผู้มีอายุ.
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิ
หรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิ
หรือ.
ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
ทิฐิวิสุทธิหรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้
มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบว่า ไม่ใช่ เมื่อผมถามว่า ท่าน
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิ-
สุทธิ หรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่
ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไร
เล่า.

ปุ. ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
อนุปาทาปรินิพพาน.
สา. สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. จิตตวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ป. ไม่ใช่.
สา. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.
ปุ. ไม่ใช่.
สา. ผู้มีอายุ ผมถามว่า สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน จิตต-
วิสุทธิ หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ
เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ

เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึง
เห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า.
[297] ปุ. ผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิ
ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานี้ ว่าเป็น
อนุปาทาปรินิพพาน ถ้าจักทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิ-
สุทธิ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ
ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็น
อนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทา-
ปรินิพพานแล้ว ปุถุชนจะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้
ผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่านฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้
เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.

อุปมาด้วยรถ 7 ผลัด


[298] ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับ
อยู่ในกรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และ
ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง 7 ผลัด ลำดับนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่
ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึง
ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถพระ-
ที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง
ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัด
ที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จที่รถ
พระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จ