เมนู

อรรถกถาอลคัททูปมสูตร


อลคัททูปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอลคัททูปมสูตรนั้นต่อไปนี้
ชนทั้งหลายเหล่าใด เบียดเบียนแร้ง เหตุนั้นชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้
เบียดเบียนแร้ง บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้งของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่ามี
บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้ง. บุตรของสกุลผู้เคยฆ่าแร้งนั้น อธิบายว่า ผู้
ขวนขวายแห่งสกุลผู้ฆ่าแร้ง. ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์
และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี 5 อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก
อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ. ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม
5 ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม. ภิกษุณีทูสกกรรมก็เหมือนกัน. แต่ภิกษุณีทูสก-
กรรมนั่น กระทำอันตรายต่อพระนิพพานอย่างเดียว หากระทำอันตรายต่อ
สวรรค์ไม่. ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือกิเลส.
ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรา-
ยิกธรรม คือ วิบาก. ธรรม คือ การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรา-
ยิกรรม คือ อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำ
อันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้น
ให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทำอันตรายไม่. อาบัติ 7 กองที่ภิกษุจงใจ
ล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกก-
มันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว
ยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี
เบื้องหน้าแต่นั้น หากระทำอันตรายไม่.