เมนู

โอปัมมวรรค



อรรถกถากกจูปมสูตร


กกจูปมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยใน กกจูปมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า โมลิย-
ผัคคุนะ
นี้ มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เฉตฺวาน โมลี วรคนฺธวาสิตํ
เวหาสยํ อุกฺขิปิ สากฺยปุงฺคโว
รตนจงฺโกฏวเรน วาสโว
สหสฺสเนตฺโต สิรสา ปฏิคฺคหิ.

จอมศากยะผู้ประเสริฐสุด ทรงตัดพระเมาลี
(คือมวยผม) อันอบด้วยของหอมอย่างดีแล้ว
โยนขึ้นไปในอากาศ ท้าววาสวะสหัสสเนตรทรง
เอาผอบแก้ว อันประเสริฐ ทูนพระเศียร รับไว้
ดังนี้.
ในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์มีมวยผมใหญ่ เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกท่านว่า
โมลิยผัคคุนะ. แม้บวชแล้วชนทั้งหลายก็ยังจำชื่อนั้นได้.
บทว่า อติเวลํ แปลว่า เกินขอบเขต. ในบทว่า อตํเวลํ นั้น
เวลามี 3 คือ
1. กาลเวลา ขอบเขตคือเวลา
2. สีมเวลา ขอบเขตคือเขตแดน
3. สีลเวลา ขอบเขตคือศีล

จริงอยู่ ในคำว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ดังนี้ เวลานี้ชื่อว่า
กาลเวลา. ในคำว่า ภิกษุผู้มีธรรมอันตั้งอยู่แล้วจะไม่ก้าวล่วงแดน ดังนี้
เวลานี้ ชื่อว่า ลีมเวลา. ในคำว่า การไม่ล่วงละเมิดเวลา คือที่ชื่อเสตุฆาต-
วิรัติ อริยมรรคผู้ฆ่า ซึ่งบาปธรรมอันเป็นนับเนื่องแล้วในพระอริยมรรค ชื่อว่า
เสตุ และในคำว่า ชื่อว่า เวลา เพราะอรรถว่าการไม่ล่วงละเมิดนี้ ดังนี้
เวลานี้ชื่อว่า สีลเวลา.
พระโมลิยผัคคุนะนั้นย่อมก้าวล่วงขอบเขตตามที่กล่าวแล้วนั้นทั้ง 3
ทีเดียว. จริงอยู่ กาลเวลาสำหรับการให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย มีอยู่. เมื่อ
พระอาทิตย์อัศดงคตตกแล้ว พระโมลียผัคคุนะนั้นก็ยังกล่าวสอนอยู่ จึงชื่อว่า
เกินกาลเวลาแม้นั้น. ชื่อว่า ประมาณ (การกำหนด) ในการกล่าวสอนภิกษุณี
ทั้งหลาย มีอยู่ ชื่อว่า สีมมริยาทา แปลว่า เขตแดน พระโมลิยปัคคุนะนั้น
กล่าวสอนเกินกว่าห้าหกคำขึ้นไป จึงชื่อว่า เกินสีมเวลาแม้นั้น. ก็พระโมลิย-
ผัคคุนะเมื่อกล่าวธรรมอยู่. ก็กระทำเป็นเล่น (มีการพูดตลกเป็นต้น) ย่อม
กล่าวคำมากเพียงพอที่จะเป็นอาบัติหยาบได้. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เกิน
แม้ซึ่งสีลเวลา.
บทว่า สํสฏฺโฐ คือว่าเป็นผู้ปะปนกัน ร่วมสุขทุกข์กัน. บทว่า สมฺมุขา
คือ ข้างหน้า. บทว่า อวณฺณํ ภาสติ ความว่า ภิกษุรูปไร ๆ เห็นพวก
ภิกษุณีเหล่านั้นทำกิจ มีการตำข้าวเป็นต้น ก็จะกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นเป็นคุณว่า
ภิกษุณีพวกนี้พระพฤติไม่ดี ว่ายาก เป็นผู้คะนอง คงไม่ต้องอาบัติ ดังนี้.
บทว่า อธิกรณํปิ กโรติ ความว่า พระโมลิยผัคคุนะ ย่อมชัดอธิกรณ์
(เรื่องราว) แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ว่า จำเดิมแต่เห็นภิกษุณีทั้งหลายเหล่านี้แล้ว
ขัดลูกตา การบูชาด้วยดอกไม้ในวิหารนี้ หรือว่า การกระต่าง ๆ มีการชำระ
ล้างอาสนะ. และการประพรมเป็นต้น ย่อมดำเนินโดยภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้
เป็นกุลธิดา เป็นผู้มีความละอาย พวกท่านกล่าวอย่างนี้ ๆ แก่ภิกษุณีเหล่านั้น

พวกท่านเป็นอาบัติชื่อนี้ พวกท่านจงมาสำนักพระวินัยธร แล้วให้วินิจฉัย
แก่เรา. บทว่า โมลิยผคฺคุนสฺส อวณฺณํ ภาสติ ความว่า ภิกษุไร ๆ
ย่อมกล่าวสิ่งอันมิใช่คุณว่า ชื่อว่า อาบัติ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ที่บริเวณของ
พระโมลิยผัคคุนะนี้ ไม่ว่างภิกษุณีตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้. บทว่า อธิกรณํปิ
กโรนฺติ
ความว่า ย่อมชักอธิกรณ์แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ว่า จำเดิมแก่เรา
เห็นพระโมลิยผัคคุนะเถระแล้ว ย่อมขัดลูกตา ใคร ๆ ไม่อาจแม้แต่จะแลดูที่อยู่
ของพวกภิกษุอื่นในวิหารนี้ได้ พวกภิกษุณีที่มาสู่วิหารนี้ ได้อาศัยพระเถระ
(พระโมลิยผัคคุนะ) รูปเดียวแท้ ๆ จึงได้โอวาทบ้าง การต้อนรับบ้าง
บทอุทเทสบ้าง ท่านเป็นบุตรของผู้มีตระกูล มีความละอาย มีความรำคาญ
พวกท่านจงกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ ๆ เห็นปานนี้ พวกท่านจงมา ให้พระวินัยธร
วินิจฉัยแก่เรา ดังนี้. ข้อว่า โส ภิกฺขุ ภควนฺตํ เอตทโวจ ความว่า ได้
กราบทูลเพื่อต้องการจะให้เป็นที่รักก็หาไม่ หรือด้วยประสงค์เพื่อให้เขาแตกกัน
ก็หาไม่ ที่แท้เพื่อมุ่งประโยชน์เท่านั้น.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นคิดว่า เมื่อภิกษุ (โมลิยผัคคุนะ) นี้คลุกคลีอยู่
อย่างนี้ ความเสื่อมยศ จักเกิดขึ้น สิ่งที่มิใช่ยศนั้นเป็นโทษแม้แก่พระศาสนา
ก็พระโมลิยผัคคุนะนี้ถูกภิกษุอื่นตักเตือนแล้วก็จักไม่ยอมงดเว้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงธรรมให้โอวาทแล้วก็จักงดเว้น ดังนี้. เพราะภิกษุนั้นเป็น
ผู้มุ่งประโยชน์ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อายสฺมา ภนฺเต
เป็นต้น แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะ คลุกคลีอยู่
กับพวกภิกษุณีเกินขอบเขต เป็นต้น. บทว่า อามนฺเตหิ คือว่า จงให้ทราบ.
บทว่า อามนฺเตติ แปลว่า ตรัสเรียก. บทว่า สทฺธา แปลว่า ด้วยศรัทธา
บทว่า ตสฺมา ความว่า ก็เพราะเหตุที่เธอเป็นบุตรผู้มีตระกูล เป็นผู้บวช
ด้วยศรัทธา หรือเหตุที่เธอคลุกคลีอยู่กับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนั้น คนพวกใด

ด่าภิกษุณีหรือประหารภิกษุณี เกิดความโทมนัสขัดใจในคนพวกนั้น เมื่อเธอ
ละความคลุกคลีได้แล้ว ความโทมนัสก็จักไม่เกิด ดังนี้. บทว่า ตตฺร คือว่า
ในการติเตียนนั้น. บทว่า เคหสิตา คือว่า อาศัยเบ็ญจกามคุณ. บทว่า ฉนฺทา
คือว่า พอใจด้วยตัณหาบ้าง พอใจด้วยปฏิฆะบ้าง. บทว่า วิปริณตํ ความว่า
จิตกำหนัดด้วยอำนาจตัณหาก็แปรปรวน ทั้งจิตที่โกรธ ทั้งจิตที่หลง ก็แปร-
ปรวนเป็นอื่น. แต่ในที่นี้ จิตที่กำหนัดโดยความพอใจด้วยอำนาจตัณหา ก็ควร
แม้จิตที่โกรธโดยความพอใจ ด้วยอำนาจปฏิฆะก็ควร. บทว่า หิตานุกมฺปิ
ได้แก่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือว่าแผ่ออกไปด้วยประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า น โทสนฺตโร คือว่า เราจักไม่เป็นผู้มีโทสจิต.
เพราะเหตุไร ท่านจึงเริ่มคำว่า อถ โข ภควา เป็นต้น. ได้ยินว่า
แม้ความคิดว่า เราให้โอวาทเพียงนี้แล้ว จักงดเว้นจากการคลุกคลีกับภิกษุณี
ทั้งหลาย ดังนี้ ของพระโมลิยผัคคุนะมิได้เกิด. ก็พระโมลิยผัคคุนะนั้นเป็นผู้
ขัดแย้งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ราวกะว่าเป็นลิ่มสลัก ผ้าสะดึง. ในครั้งนั้น
เพราะทรงเห็นภิกษุผู้ว่ายากรูปนี้ ภาพเหล่าภิกษุผู้ว่าง่าย ครั้งปฐมโพธิกาลก็มา
ปราฎแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุคคลผู้หิว ปรารถนาอาหาร ผู้กระหาย
น้ำปรารถนาน้ำดื่ม ผู้กระทบความหนาว ปรารถนาความอุ่น ผู้ประสบทุกข์
ปรารถนาสุขฉะนั้น. ลำดับนั้น ทรงประสงค์จะสรรเสริญพวกภิกษุผู้ว่าง่าย
เหล่านั้น จึงเริ่มเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาราธยึสุ เเปลว่า
ให้ยินดีคือให้ถือเอา. บทว่า เอกํ สมยํ แปลว่า สมัยหนึ่ง. บทว่า เอกา
สนโภชนํ
ได้แก่ การฉันอาหารในเวลาปุเรภัตครั้งเดียว. จริงอยู่ ตั้งแต่
พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน แม้ภิกษุจะฉันอาหาร 10 ครั้ง ท่านก็
ประสงค์เอาในข้อว่า ฉันอาหารหนเดียวนี้. บทว่า อปฺปาพาธตํ คือ ปราศ-
จากอาพาธ. บทว่า อปฺปาตงฺกตํ คือปราศจากทุกข์. บทว่า ลหุฏฺฐานํ

ได้แก่ มีร่างกายคล่องแคล่ว. บทว่า พลํ แปลว่า มีกำลังกาย. บทว่า
ผาสุวิหารํ คือ ร่างกายอยู่เป็นสุข.
ถามว่า ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ด้วยสูตรนี้.
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลา
วิกาลในเวลากลางวันในสูตรนี้ แต่ในภัททาลิสูตรตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหาร
ในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้ภิกษุละการฉัน
อาหารในเวลาวิกาลทั้งสองนี้พร้อมกัน.
ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ก็เพราะอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองนี้ สัตว์ทั้งหลายประพฤติ
มาจนชินในวัฏฏะแล้ว กุลบุตรผู้สุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อน) มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้น
ถ้าละอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองพร้อมกัน ย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรง
ให้ละพร้อมกัน คือให้ละการฉันอาหารนั้นคนละคราว คือให้ละอาหารในเวลา
วิกาลในเวลากลางวันคราวหนึ่ง และให้ละอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน
คราวหนึ่ง.
ในสองคราวนั้น ในสูตรนี้ ตรัสให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาล
ในเวลากลางวัน. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทรงชี้ภัย ให้ละการฉันอาหารใน
เวลาวิกาลเท่านั้น แต่ทรงแสดงอานิสงส์แล้วจึงให้ละ ด้วยเหตุนั้นแหละ สัตว์
ทั้งหลาย จึงละได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงอานิสงส์ จึงตรัสคุณ
ประโยชน์ 5 เหล่านี้ (คือ มีอาพาธน้อย มีความลำบากน้อยเป็นต้น ).
บทว่า อนุสาสนี กรณียา ความว่า ต้องพร่าสอนบ่อย ๆ ว่า
พวกเธอ จงทำสิ่งนี้ อย่าทำสิ่งนี้ คือ มีแต่กิจทำให้เกิดสติเท่านั้น และตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งปฐมโพธิกาล ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ภิกษุเหล่านั้น
ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ได้ละสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่าง่าย เชื่อฟัง
รับสนองโอวาท.

บัดนี้ เมื่อจะทรงนำอุปมาอันสอนถึงความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ว่าง่าย
จึงตรัสคำว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภูมิยํ
ได้แก่ พื้นที่ดีเรียบ เหมือนในประโยคที่ว่า บุคคลพึงหว่านพืชในพื้นที่ดี
ในนาดีอันปราศจากตอไม้เป็นต้น และคำที่มาในประโยคว่า พื้นที่สะอาด
เป็นพื้นที่ดี เป็นต้น. บทว่า จตุมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสาย
ตัดผ่านกันไป. บทว่า อาชญฺญรโถ ได้แก่ รถที่เทียมด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว.
บทว่า โอธสฺตปโตโท ความว่า นายสารถีผู้ฉลาดก้าวขึ้นบนรถเเล้ว.
สามารถเพื่อจะถือแซ่ที่วางไว้ทางขวางแล้วห้อยลง. บทว่า โยคฺคาจริโย
ได้แก่ นายสารถี. ผู้ใดย่อมฝึกม้า ผู้นั้น ชื่อว่า อสฺสทมฺมสารถิ.
บทว่า เยนิจฺฉกํ คือ ย่อมปรารถนาไปทางใด. บทว่า ยทิจฺฉกํ คือ ย่อม
ต้องการออกไปที่ใด. บทว่า สาเรยฺย คือ พึงไปทางทรงข้างหน้า. บทว่า
ปจฺฉา สาเรยฺย คือให้กลับ. บทว่า เอวเมว โข ความว่า เหมือนอย่างว่า
นายสารถีนั้น ย่อมปรารถนาจะไปทางใด ๆ ม้าก็จะขึ้นทางนั้น ๆ ย่อมปรารถนา
โดยคติใด ๆ ก็ถือเอาคตินั้น ๆ นั่นแหละไป ม้าลากรถไป ก็ไม่ห้ามไม่เฆี่ยน
แต่ม้าวางกีบไปในพื้นอันเรียบอย่างดีเท่านั้น. คำที่เราพึงกล่าวซ้ำซากในภิกษุ
ทั้งหลายเหล่านั้นมิได้มีแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ว่าจงทำการนี้ อย่าทำการนี้
มีกิจที่ควรกระทำก็เพียงเตือนสติเท่านั้น ดังนี้ กิจที่ควรทำก็เป็นอันภิกษุแม้
เหล่านั้น ทำมาก่อนแล้วทั้งนั้น กิจไม่ควรทำเธอก็ละเสียแล้ว. บทว่า ตสฺมา
ความว่า เหล่าภิกษุผู้ว่าง่าย เปรียบเทียบด้วยยานที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ก็ละ
อกุศลธรรมได้ด้วยเพียงให้เกิดสติเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอจงละอกุศล
ธรรมเสีย. บทว่า เอลณฺเฑหิ ได้ยินว่า ต้นละหุ่งทั้งหลายย่อมประทุษ
ร้ายต้นสาละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแล้วอย่างนั้น. บทว่า
วิโสเธยฺย คือ พึงตัดต้นละหุ่งทั้งหลาย และเถาวัลย์อื่นเสีย แล้วก็ทำความ

สะอาดโดยนำไปทิ้งภายนอก. บทว่า สุชาตา ได้แก่ ตั้งอยู่ด้วยดี. บทว่า
สมฺมา ปริหเรยฺย คือว่า พึงกั้นเขตทำให้เจริญ เลี้ยงดูให้ถูกต้อง โดยการ
รดน้ำบ้าง พรวนดินที่ใกล้โคนตามเวลาอันควรบ้าง ตัดเครือเถาวัลย์และ
กอไม้เป็นต้นบ้าง นำรังมดดำออกไปบ้าง เอาใยแมลงมุมและท่อนไม้แห้งออก
ไปบ้าง. ความเจริญ เป็นต้น มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งความไม่อดทน
จึงตรัสคำว่า ภูตปุพฺพํ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น บทว่า เวเทหิกา นี้
เป็นชื่อ กุลธิดา ผู้อาศัยอยู่ในเวเทหรัฐ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกปัญญาว่า
เวทะ. ผู้ใดย่อมไป ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า เวเทหิกา
อธิบายว่า บัณฑิต. บทว่า คหปตานิ คือ หญิงเจ้าเรือน. บทว่า กิตฺติ
สทฺโท
คือ เกียรติก้อง. บทว่า โสรตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม.
บทว่า นิวาตา คือ ประพฤติถ่อมตน. บทว่า อุปสนฺตา คือ เป็นผู้
เยือกเย็น. บทว่า ทกฺขา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการงานทั้งหลาย มีการหุงข้าว
ปูที่นอนและตามไฟ เป็นต้น. บทว่า อนลสา คือ เป็นผู้ลุกขึ้น (ขยัน).
บทว่า สุสํวิหิตกมฺมนฺตา คือ มีการงานอันจัดไว้แล้วอย่างดี. ท่านแสดงว่า
ทาสีคนหนึ่งไม่เกียจคร้าน แต่จับภาชนะใด ๆ ก็ทำให้ภาชนะนั้น ๆ แตกหรือ
บิ่น ทาสีผู้นี้ไม่เป็นเช่นนั้น. บทว่า ทิวา อุฏฐาสิ ความว่า ลุกขึ้นในเวลา
ที่พระอาทิตย์ขึ้นโด่งแล้ว ไม่กระทำการงานแม้การรีดนมโคเป็นต้น ที่ควร
กระทำแต่เช้าตรู่. บทว่า เห เช กาฬิ ความว่า เฮ้ยอีกาลี เพราะเหตุไร
เจ้าจึงลุกขึ้นสาย เจ้าไม่สบายเป็นอะไรหรือ. บทว่า โน วต เร กิญฺจิ
ความว่า ความไม่ผาสุกอะไร ๆ มีการปวดหัวปวดหลังเป็นต้น มิได้มี เมื่อ
เป็นเช่นนั้น นางนั้น จึงได้กล่าวว่า แนะอีชาติชั่ว เพราะเหตุไร เจ้าจึงลุก
ขึ้นสาย ดังนี้ แล้วโกรธ ขัดใจ หน้านิ่วคิ้วขมวด. บทว่า ทิวาตรํ อุฏฺฐาสิ

คือ ในวันรุ่งขึ้น ก็ลุกขึ้นสายกว่า. บทว่า อนตฺตมนํ วาจํ ความว่า แม่บ้าน
นั้นกล่าวว่า เฮ้ยอีคนชาติชั่ว เจ้าไม่รู้จักประมาณของตนเอง สำคัญว่าหนาวจัด
หรือ บัดนี้ เมื่อจักให้นางกาลี ทาสีนั้นสำนึกตน จึงเปล่งเสียงถ้อยคำของคน
ที่โกรธ. บทว่า ปฏิวิสฺสกานํ แปลว่า ผู้อยู่บ้านใกล้เคียง. บทว่า อุชฺฌาเปสิ
คือว่า เที่ยวโพนทะนาให้เขาดูหมิ่น บทว่า จณฺฑี คือ ไม่สงบเสงี่ยมเป็น
คนชั่ว. อธิบายว่า คุณทั้งหลายมีเพียงเท่านี้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่โทษเกิดขึ้น
เป็นทวีคูณ มากกว่าคุณนั้น. ธรรมดาว่าคุณทั้งหลายย่อมค่อย ๆ มา. แต่โทษ
นั้นเพียงวันเดียวก็แผ่ขยายไป. บทว่า โสรตโสรโต แปลว่า เป็นคน
สงบเสงี่ยมอย่างยิ่ง. ถึงกับเขากล่าวว่าเป็นพระโสดาบันหรือหนอ พระสกทาคามี
พระอนาคามี พระอรหันต์หรือหนอ. บทว่า ผุสนฺติ ได้แก่ แห่งถ้อยคำที่
ปรากฏมาถูก กระทบ ทีนั้น จึงรู้ได้ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้สงบเสงี่ยม. อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ พึงทราบว่า เป็นภิกษุผู้สงบเสงี่ยม. บทว่า โย
จีวร ฯ เป ฯ ปริกฺขารเหตุ
ความว่า ภิกษุรูปใด เมื่อได้ปัจจัยทั้งหลายมีจีวร
เป็นต้น ที่ประณีต ๆ เหล่านี้ ย่อมทำการนวดเท้านวดหลังเป็นต้น โดยพูด
คำเดียวเท่านั้น. บทว่า อลภมาโน คือว่า เมื่อไม่ได้อย่างที่เคยได้มาก่อน.
บทว่า ธมฺมํเยว สกฺกโรนฺโต คือว่า เมื่อกระทำสักการะ คือการที่กระทำ
ให้ดีต่อธรรมนั้นนั่นแหละ. บทว่า ครุกโรนฺโต คือว่า กระทำเคารพ คือ
ให้เป็นภาระ. บทว่า มาเนนฺโต คือว่า กระทำให้เป็นที่รักด้วยความนอบน้อม.
บทว่า ปูเชนฺโต ได้แก่ บูชาด้วยปัจจัย. บทว่า อปจายมาโน ได้แก่
นอบน้อม แสดงความยำเกรง ถ่อมตน ต่อธรรมนั่นแล.

ทางแห่งถ้อยคำ 5 ประการ


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษแห่งความไม่อดทนอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางแห่งถ้อยคำ 5 ประการ ด้วยพระดำรัสว่า เหล่าชน
ย่อมอดกลั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสคำว่า ปญฺจีเม ภิกฺขเว เป็นต้น บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า กาเลน แปลว่า โดยถึงกาลเวลาอันสมควร. บทว่า ภูเตน
แปลว่า ด้วยคำอันเป็นจริง. บทว่า สณฺเหน คือว่า ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ.
บทว่า อตฺถสญฺหิเตน ด้วยถ้อยคำอันอาศัยประโยชน์ อาศัยเหตุการณะ.
บทว่า อกาเลน เป็นอาทิ แปลว่า โดยกาลอันไม่สมควรเป็นต้น บัณฑิต
พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า
เมตฺตจิตฺตา คือ เกิดเมตตาจิต. บทว่า โทสนฺตรา คือ จิตอันโทสะ
ประทุษร้ายแล้ว คือ เกิดโทสะขึ้นแล้วในภายใน. บทว่า ตตฺราปิ คือ ใน
ทางแห่งถ้อยคำเหล่านั่น. บทว่า ผริตฺวา คือ น้อมไป. บทว่า ตทารมฺมณํจ
คือ กระทำถ้อยคำให้เป็นอารมณ์ของจิตนั้นไปทั่วโลก ภิกษุกระทำบุคคลผู้ถือ
เอาทางแห่งถ้อยคำ 5 มาแล้วให้เป็นอารมณ์ของเมตตาจิต เมื่อกระทำสัตว์ที่
เหลือให้เป็นอารมณ์ของเมตตาจิต นั้นนั่นแหละอีก จึงชื่อว่า กระทำให้เป็น
อารมณ์ของจิตนั้นไปทั่วโลก. ในข้อนั้น พึงทราบความหมายแห่งถ้อยคำดังนี้
บทว่า ตทารมฺมณญฺจ ว่า ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์แห่งเมตตาจิตนั้น
นั่นแหละ. บทว่า สพฺพาวนฺตํ ได้แก่ มีสัตว์ทั้งหมด. บทว่า โลกํ ได้แก่
สัตว์โลก. บทว่า วิปุเลน ได้แก่ มีสัตว์มิใช่น้อยเป็นอารมณ์. บทว่า
มหคฺคเตน คือ ประกอบด้วยจิตมหัคคตภูมิ. บทว่า อปฺปมาเณน คือ
เจริญดีแล้ว. บทว่า อเวเรน คือ ไม่มีโทษ. บทว่า อพฺยาปชฺเฌน คือ
ไม่มีทุกข์. บทว่า ผริตฺวา วิหริสฺสาม ความว่า พวกเราน้อมนึกถึงบุคคล