เมนู

บทว่า โส สนิกํ คจฺเฉยฺย คือว่า ครั้นเขาคิดอย่างนั้นแล้ว
จึงค่อย ๆ เดิน. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้แหละ.
บัณฑิตพึงทราบความในข้อนั้นว่า เวลาเกิดขึ้นแห่งวิตกของภิกษุนี้
เปรียบเหมือนการเดินเร็วของบุรุษ. เวลากำหนดการเที่ยวไปแห่งวิตกของภิกษุ
นี้ เปรียบเหมือน การค่อย ๆ เดินไปในที่นั้น. กาลที่ภิกษุนี้กำหนดการเที่ยว
ไปของวิตกได้แล้ว นำวิตกมาสู่มูลกรรมฐาน เปรียบเหมือการตรึกของบุรุษ
นั้น. กาลที่ภิกษุนี้ ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือน
กาลที่บุรุษนั้นนั่งลงแล้ว. กาลที่ภิกษุนี้ให้เวลาผ่านไปตลอดวันด้วยผลสมาบัติ
ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นนอนแล้ว.
ในข้อว่า วิตกเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย ความว่า
การเที่ยวไปของวิตก ย่อมเป็นของเบาบางแล้วแก่ผู้ถึงเหตุและมิใช่เหตุของวิตก
ทั้งหลาย เมื่อวิตกนั้นเป็นของเบาบางถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมดับไปโดยประการทั้ง
ปวง. บัณฑิตพึงแสดงข้อความนี้ด้วยทุททุภชาดก (คือเรื่องกระต่ายตื่นตูม).

เรื่องกระต่ายตื่นตูม


ได้ยินว่า กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ที่ใกล้ต้นมะตูม ลูกมะตูมสุก
หลุดจากขั้วหล่นลงมาใกล้หูของกระต่าย. กระต่ายนั้นก็ผลุดลุกขึ้นหนีไปโดย
เร็วด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่ม เพราะเสียงดังของลูกมะตูมนั้น. สัตว์จตุ-
บาท (4 เท้า) ทั้งหลายแม้อื่น ๆ ข้างหน้าเห็นกระต่ายวิ่งมาโดยเร็ว ก็พากัน
วิ่งหนีไปด้วย. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเกิดเป็นราชสีห์. ราชสีห์นั้น
คิดว่า ธรรมดาว่าแผ่นดินนี้จะถล่มพินาศไปก็เพราะกัปพินาศ ชื่อว่าการที่
แผ่นดินนี้จะแตกทำลายไปในระหว่างมิได้มี เราจะต้องไปสืบดูต้นเหตุให้ได้
ดังนี้. ราชสีห์ จึงเริ่มถามสัตว์ทั้งหลายตั้งแต่ช้างใหญ่ไปจนถึงกระต่ายตัวนั้น

ว่า เจ้าเห็นแผ่นดินถล่มหรือ ดังนี้ กระต่ายกล่าวว่า ข้าแต่นายผู้เป็นใหญ่
ข้าพเจ้าเห็น. ราชสีห์จึงกล่าวว่า เจ้าจงพาเราไปดู. กระต่ายกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ไม่อาจ. ราชสีห์จึงตวาดว่า เฮ้ยเจ้ากระต่าย จงพาเราไปเจ้าอย่ากลัว แล้วก็
ปลอบใจกระต่ายด้วยคำสุภาพเรียบร้อยแล้วก็พากระต่ายไป. กระต่ายยืนอยู่ในที่
ไม่ไกลของต้นมะตูมแล้วได้กล่าว เป็นคาถาว่า
ข้าแต่ท่านผู้สง่างาม ข้าพเจ้าอยู่
ในที่นั้น ได้ยินเสียงถล่ม ข้าพเจ้าไม่รู้จัก
สิ่งนั้นว่าเป็นเสียงอะไร.

พระโพธิสัตว์กล่าวกะกระต่ายว่า เจ้าจงยืนอยู่ในที่นี้แหละ แล้วก็ไปที่
โคนต้นมะตูม ได้เห็นที่เป็นที่นอนของกระต่าย และได้เห็นลูกมะตูมสุก จึง
แลดูข้างบนได้เห็นขั้วของมะตูม ครั้นเห็นแล้ว ก็รู้ว่า กระต่ายตัวนี้นอนที่นี้
กำลังหลับ เมื่อลูกมะตูมสุกนี้หล่นลงมาใกล้หู จึงมีความสำคัญว่า เสียงแผ่นดิน
ถล่ม จึงรีบหนีไปโดยเร็ว ดังนี้ แล้วจึงถามถึงเหตุนั้น. กระต่ายรับคำว่า
ถูกแล้วท่านผู้เป็นนาย. พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคำเป็นคาถาว่า
เวลฺวํ ปติตํ สุตฺวา ทุทฺทุภนฺติ สโส ชวิ
สสสฺส วจนํ สุตฺวา สนฺตตฺตา มิควาหนี
แปลว่า กระต่ายฟังเสียงลูกมะตูม
หล่นลง สำคัญว่าเสียงแผ่นดินถล่ม จึง
วิ่งไปโดยเร็ว พวกมฤคทั้งหลาย ปานดัง
กองทัพเป็นผู้เล่าร้อนแล้ว เพราะฟังถ้อย
คำของกระต่าย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงปลอบใจพวกมฤคทั้งหลายว่า พวกท่านอย่ากลัว
เลย ดังนี้.

เมื่อภิกษุค้นหาต้นเหตุของอกุศลวิตกทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ ก็ย่อม
ละได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงการณะ (เหตุ) แม้นี้ว่า อันภิกษุผู้ดำรง
อยู่ในข้อทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตกนี้แล้ว ก็ยังไม่อาจเพื่อข่มวิตกนั้นได้ ก็พึง
ข่มอย่างนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ ภิกฺขเว เป็นอาทิ แปลว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานของวิตกดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ทนฺเตภิ ทนฺตมาธาย ได้แก่ พึงกดฟันบนลงที่ฟันข้างล่าง.
บทว่า เจตสา จิตฺตํ ได้แก่ พึงป้องกันอกุศลจิต ด้วยกุศลจิต.
บทว่า พลวา ปุริโส เป็นต้น ความว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้
สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าแล้วบีบ กด เค้น
ที่ศีรษะ หรือที่ก้านคอไว้ให้แน่น พึงกระทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก
ให้สยบ มีความตายเป็นที่สุด ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเป็น
นักมวยปล้ำซึ่งเป็นคู่ต่อสู้กับอกุศลวิตกทั้งหลายว่า พวกเจ้าเป็นอะไร เราเป็น
อะไร ดังนี้ ครั้นครอบงำแล้ว พึงประคองความเพียรใหญ่อย่างนี้ว่า
กามํ ตโจ นหารู จ อฏฺฐิ จ อวสุสฺสตุ
อวสฺสิสฺสตุ เม สรีเร สพฺพนฺตํ มํสโลหิตํ
แปลว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดใน
ร่างกายของเรานี้จะเหือดแห้งไป เหลือแต่
หนึ่งเอ็นกระดูก ก็ตามที.

เธอก็พึงข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้. เมื่อจะแสดงอย่างนี้ จึงตรัสคำอุปมาอัน
แสดงอรรถะนี้ว่า ยโต จ โข ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยนิมิตใด แล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ เป็นต้น. ข้อนี้ ชื่อว่ามริยาทภาชนีย์

(คือคำจำแนกเขตแดน). คำนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. พึงทราบคำอุปมา
ต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ให้คำแนะนำสั่งสอนพระราชกุมารซึ่งมาจาก
แว่นแคว้นภายนอก ให้เรียนเอาซึ่งศิลปะว่าด้วยอาวุธ 5 แล้วแสดงสิ่งที่ควร
กระทำด้วยอาวุธแม้ทั้ง 5 อย่างนี้ว่า ท่านจงกลับไปครองราชสมบัติในแว่นแคว้น
ของตน ถ้าพวกโจรปรากฏในระหว่างทางแก่ท่าน ท่านจงใช้ธนูนี้ แล้วก็จงไป
ถ้าธนูของท่านหายหรือหัก จงใช้หอก หอกหัก จงใช้ดาบดังนี้เป็นต้นแล้วให้
กลับไป. พระราชกุมารนั้น ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ครั้นไปถึงแว่นแคว้น
ของตนแล้ว ได้ครองสิริราชสมบัติ ฉันใด ข้อนี้ก็ ฉันนั้นแหละ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงส่งภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต เพื่อถือเอาซึ่งพระอรหัต
และทรงแสดงบัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) 5 เหล่านี้ว่า
ถ้าว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่เธอในระหว่าง ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยนิมิต
อื่น (เรียกว่า อัญญนิมิตตบัพพะ) ครั้นเธอข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้แล้ว ก็
จักยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วจักบรรลุพระอรหัต เมื่อไม่อาจในข้อนั้น (คือใน
อัญญนิมิตตบัพพะ) ก็จะตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยอาทีนพ เมื่อไม่อาจในข้อนั้น ก็จะ
ตั้งอยู่ในข้อด้วยอสติบัพพะ เมื่อไม่อาจในข้อนี้ ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยการ
ทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตก เมื่อไม่อาจแม้ในข้อนี้ ก็จะตั้งอยู่ในชื่อว่าด้วยการ
ข่ม ครั้นข่มวิตกทั้งหลายเหล่านั้นได้แล้ว จักยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วจักบรรลุ
พระอรหัต ดังนี้.
บทว่า วสี วิตกฺกปริยายปเถสุ แปลว่า ผู้ชำนาญในทางเดินของ
วิตก ได้แก่ ผู้ชำนาญตามที่ตนสั่งสมไว้แล้ว คือ เป็นผู้ชำนาญคล่องแคล่ว
ในทางเป็นไปของการตรึก.

บทว่า ยํ วิตกฺกํ อากงฺขิสฺสติ แปลว่า เธอจักจำนงวิตกใดนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงถึงลักษณะของความเป็นผู้ชำนาญ. เพราะว่า
บุคคลนี้ ครั้งก่อน อยากจะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นไม่ได้ ไม่ประสงค์
จะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นได้ แต่บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ชำนาญแล้ว
เธอเป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรึกถึงวิตกใด ย่อมตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ต้องการตรึก
วิตกใด ก็ไม่ต้องตรึกวิตกนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เธอจักจำนงวิตกใดก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกโคก็จักไม่ตรึกวิตกนั้น
ได้ ดังนี้.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ แปลว่า ตัดตัณหาได้แล้วเป็นต้นนี้ ได้
กล่าวไว้ในสัพพาสวสูตรแล้ว แล.
จบอรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตรที่ 10
จบอรรถกถาวรรคที่ 2


รวมพระสูตรในเล่มนี้


1. จูฬสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
2. มหาสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
3. มหาทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
4. จูฬทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
5. อนุมานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
6. เจโตขีลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
7. วนปัตถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
8. มธุปิณฑิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
9. เทวธาวิตักกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
10. วิตักกสัณฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา