เมนู

หลายถือเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้. เจดีย์ของพระติสสะเถระได้
ปรากฏมาจนทุกวันนี้แล.
บัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) นี้ ชื่อว่า อสติบัพพะ (แปลว่าข้อกำหนด
ว่าด้วยการระลึกไม่ได้).

ว่าด้วยข้อทำลายมูลราก


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะแสดงการทำลายมูลรากของอกุศลวิตกว่า
เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในข้อนี้ (คืออสติบัพพะ) แล้วยังไม่อาจข่มอกุศลวิตกได้ ก็ต้อง
ตั้งอยู่ในข้อที่ทำลายมูลรากของอกุศลวิตกนี้ ดังนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ
ภิกฺขเว
เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึง
ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ เป็นต้น.
ในข้อนี้ พึงทราบวิเคราะห์คำว่า สังขาร ในคำว่า พึงมนสิการ
สัณฐานสังขารของตน นั้นว่า สภาวะใด ย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้น สภาวะนั้น
จึงเชื่อว่า สังขาร. อธิบายว่า เป็นปัจจัย (คือเป็นเหตุเครื่องอาศัย) เป็น
การณะ (คือเป็นเหตุกระทำ) เป็นมูล (คือเป็นราก).
ชื่อว่า สัณฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งอยู่ดี. สัณฐานของ
วิตกสังขาร ชื่อว่า วิตักกสังขารสัณฐาน. ภิกษุพึงมนสิการสัณฐานอันนั้น.
คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า ภิกษุพึงมนสิการถึงเหตุและมิใช่เหตุ
ของวิตกทั้งหลายว่า วิตกนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไร
จึงเกิดขึ้น ดังนี้.
บทว่า กึ นุ โข อหึ สีฆํ คจฺฉามิ ความว่า บุรุษผู้เดิน
เร็วนั้นย่อมคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยการเดินเร็วของเรานี้ เราจักค่อย ๆ ไป
ดังนี้.