เมนู

วิตกไม่ได้ ก็พึงส่งใจไปในอารมณ์อื่น โดยการทำกุศลกรรมนั้น ๆ ก็เมื่อเธอ
ละอกุศลวิตกได้แล้ว ก็พึงถือเอามูลกรรมฐานมานั่งลง ไม่พึงเป็นผู้เริ่มนว-
กรรม (การก่อสร้าง).
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะว่า เธอทำลายอกุศลวิตกยังไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสมน-
สิการกรรมฐานได้. แม้บัณฑิตในกาลก่อนจะทำนวกรรม ก็ต้องทำลายอกุศล
จิตก่อน. ในข้อนี้นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้.-

เรื่องติสสสามเณร


ได้ยินว่า พระอุปัชฌาย์ของสามเณรอาศัยอยู่ในมหาวิหารชื่อว่า ติสสะ
สามเณรกล่าวกับท่านอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ กระผมกระวนกระวาย (อยาก
ลาสิกขาบท). ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะสามเณรว่า ในวิหารนี้หาน้ำ
อาบได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต. สามเณรได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะสามเณรในที่นั้นว่า วิหารนี้เป็นของเฉพาะสงฆ์
เธอจงทำ (สร้างที่อยู่ใหม่) ให้เป็นที่อาศัยอยู่เฉพาะบุคคลคนหนึ่ง. สามเณร
รับคำว่า ดีแล้วขอรับ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อม ๆ กัน คือ การ
เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเชา และการบริกรรม
เตโชกสิณและได้ยังกรรมฐานนั้นให้ถึงอัปปนา ยังการเรียนสังยุตตนิกายให้
จบลงแล้วเริ่มนวกรรมในถ้ำ เธอได้ทำกิจนวกรรมทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงได้
แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ. พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล
คนหนึ่งเธอทำสำเร็จในวันนี้ได้โดยลำบาก เธอนั่นแหละจงอยู่ ดังนี้.
สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนา
ให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้นนั่นแหละ. ชนทั้ง

หลายถือเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้. เจดีย์ของพระติสสะเถระได้
ปรากฏมาจนทุกวันนี้แล.
บัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) นี้ ชื่อว่า อสติบัพพะ (แปลว่าข้อกำหนด
ว่าด้วยการระลึกไม่ได้).

ว่าด้วยข้อทำลายมูลราก


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะแสดงการทำลายมูลรากของอกุศลวิตกว่า
เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในข้อนี้ (คืออสติบัพพะ) แล้วยังไม่อาจข่มอกุศลวิตกได้ ก็ต้อง
ตั้งอยู่ในข้อที่ทำลายมูลรากของอกุศลวิตกนี้ ดังนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ
ภิกฺขเว
เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึง
ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ เป็นต้น.
ในข้อนี้ พึงทราบวิเคราะห์คำว่า สังขาร ในคำว่า พึงมนสิการ
สัณฐานสังขารของตน นั้นว่า สภาวะใด ย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้น สภาวะนั้น
จึงเชื่อว่า สังขาร. อธิบายว่า เป็นปัจจัย (คือเป็นเหตุเครื่องอาศัย) เป็น
การณะ (คือเป็นเหตุกระทำ) เป็นมูล (คือเป็นราก).
ชื่อว่า สัณฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งอยู่ดี. สัณฐานของ
วิตกสังขาร ชื่อว่า วิตักกสังขารสัณฐาน. ภิกษุพึงมนสิการสัณฐานอันนั้น.
คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า ภิกษุพึงมนสิการถึงเหตุและมิใช่เหตุ
ของวิตกทั้งหลายว่า วิตกนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไร
จึงเกิดขึ้น ดังนี้.
บทว่า กึ นุ โข อหึ สีฆํ คจฺฉามิ ความว่า บุรุษผู้เดิน
เร็วนั้นย่อมคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยการเดินเร็วของเรานี้ เราจักค่อย ๆ ไป
ดังนี้.