เมนู

วิตกไม่ได้ ก็พึงส่งใจไปในอารมณ์อื่น โดยการทำกุศลกรรมนั้น ๆ ก็เมื่อเธอ
ละอกุศลวิตกได้แล้ว ก็พึงถือเอามูลกรรมฐานมานั่งลง ไม่พึงเป็นผู้เริ่มนว-
กรรม (การก่อสร้าง).
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะว่า เธอทำลายอกุศลวิตกยังไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสมน-
สิการกรรมฐานได้. แม้บัณฑิตในกาลก่อนจะทำนวกรรม ก็ต้องทำลายอกุศล
จิตก่อน. ในข้อนี้นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้.-

เรื่องติสสสามเณร


ได้ยินว่า พระอุปัชฌาย์ของสามเณรอาศัยอยู่ในมหาวิหารชื่อว่า ติสสะ
สามเณรกล่าวกับท่านอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ กระผมกระวนกระวาย (อยาก
ลาสิกขาบท). ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะสามเณรว่า ในวิหารนี้หาน้ำ
อาบได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต. สามเณรได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะสามเณรในที่นั้นว่า วิหารนี้เป็นของเฉพาะสงฆ์
เธอจงทำ (สร้างที่อยู่ใหม่) ให้เป็นที่อาศัยอยู่เฉพาะบุคคลคนหนึ่ง. สามเณร
รับคำว่า ดีแล้วขอรับ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อม ๆ กัน คือ การ
เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเชา และการบริกรรม
เตโชกสิณและได้ยังกรรมฐานนั้นให้ถึงอัปปนา ยังการเรียนสังยุตตนิกายให้
จบลงแล้วเริ่มนวกรรมในถ้ำ เธอได้ทำกิจนวกรรมทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงได้
แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ. พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล
คนหนึ่งเธอทำสำเร็จในวันนี้ได้โดยลำบาก เธอนั่นแหละจงอยู่ ดังนี้.
สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนา
ให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้นนั่นแหละ. ชนทั้ง