เมนู

อรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตร


วิตักกสัณฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺเตน ความว่า
จิตที่เกิดขึ้น ด้วยกุศลกรรมบถ 10 อย่าง เป็นจิตเท่านั้น จิตในสมาบัติ 8 มี
วิปัสสนาเป็นบาท เป็นจิตยิ่งกว่าจิตนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกจิตนั้นว่า อธิจิต.
บทว่า อนุยุตฺเตน ได้แก่ หมั่นประกอบอธิจิตนั้น อธิบายว่า
ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในอธิจิต. ในข้อนั้นภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตใน
เวลาปุเรภัต กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วถือเอาผ้านิสีทนะออก
ไปด้วยคิดว่า เราจักทำสมณธรรมที่โคนต้นไม้โน้น หรือที่ไพรสณฑ์ หรือว่า
ที่เชิงเขา หรือว่าที่เงื้อมเขา ดังนี้ แล้วก็นำหญ้าใบไม้ออกจากที่สำหรับ
ประกอบอธิจิต ก็ครั้นเธอล้างมือและเท้าแล้วก็มานั่งคู้บัลลังก์ ถือเอามูลกรรม
ฐาน ประกอบเนือง ๆ อยู่ซึ่งอธิจิตนั่นแหละ.
คำว่า นิมิต ได้แก่ การณะ (คือ เหตุ).
คำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ได้แก่ ตามสมัยอันสมควร.
ถามว่า ก็ธรรมดาว่า กรรมฐานนั้นพระโยคีมิได้ทอดทิ้งแม้สักครู่
หนึ่ง คือ มนสิการติดต่อกัน ไป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ดังนี้.
ตอบว่า ก็เพราะพระบาลีจำแนกกรรมฐานไว้ 38 ในกรรมฐานเหล่า
นั้น ภิกษุผู้นั่งปฏิบัติกรรมฐาน จำเดิมแต่อุปกิเลสอะไร ๆ ยังมิได้เกิดขึ้น
กิจที่จะต้องมนสิการด้วยนิมิตอื่น ๆ ยังมิได้มีก่อน แต่เมื่อใดกิเลสเกิดขึ้น เธอ