เมนู

องค์ทรงแก้ไขอย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล แต่ว่า
ท่านพระมหากัจจานะอันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจ้งเนื้อความแห่งอุเทศ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้
ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.

แสดงอุเทศโดยพิสดาร


[248] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อม
ครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ไม่มีในเหตุนั่นแล อันนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย
เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อน
ไม้ การจับศาสตรา การทะเลา การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การ
ส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดย
ไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่ง
อุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดย
พิสดารนี้ ให้พิสดารได้อย่างนี้-
1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและ
รูป เพราะประชุมธรรม 3 ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึง

เกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด
ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ
เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี
เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.
2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและ
เสียง. . .
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูก
และกลิ่น. . .
4. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้น
และรส. . .
5. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย
และโผฏฐัพพะ. . .
6. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ เพราะประชุมธรรม 3 ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนา
อันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอัน
นั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำ
บุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึง
รู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.
1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี
เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจัก
บัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจัก

บัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักมีบัญญัติ
ว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตก เขาจักบัญญัติว่าการ
ครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูมี เสียงมี. . .
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี. . .
4. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี. . .
5. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี. . .
6. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มีและมโน-
วิญญาณมี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะ
มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี
เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขา
จักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติ
ว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และจักขุวิญญาณ
ไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี
เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี
เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขา
จักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติ
ว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี. . .
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี. . .
4. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี. . .
5. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี. . .

6. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มีและ
มโนวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการ
บัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ
เวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ
สัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตกข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี
เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ
มีได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้ไว้
โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะ
เหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือกล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้น อันนี้
เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฎิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย
เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ
ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยงและการ
กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุ
นั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับ
เสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้
อย่างนี้ ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ทูลถามเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้ง
หลายพึงทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด.

สอบถามเนื้อความที่พระมหากัจจานะชี้แจง


[249] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหา-
กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า
ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด
ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว
เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ
ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยงและการ
กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุ
นั้น ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าหลีกไบ่ไม่นาน พวกข้าพระองค์
ได้บังเกิดความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ. . . ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะเข้าที่ประทับเสียย่อ ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดาร
ได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระ-
มหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้
พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะยังที่อยู่