เมนู

อรรถกถาอนุมานสูตร


อนุมานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น.
ก็เนื้อความแห่งคำพึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในที่นี้ . บทว่า สํสุมารคิเร
ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า ในวันเป็นที่กำหนดพื้นที่สร้างนครนั้น
จระเข้ในสระอันไม่ไกลได้ร้องขึ้น เปล่งเสียงว่า คิระ ครั้นสร้างนครนั้น
เสร็จแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สังสุมารคิร. บทว่า เภสก-
ฬาวเน
ได้แก่ ในป่าอันมีชื่อว่า เภสกฬา. บาลีว่า เภสกวัน ดังนี้ก็มี.
บทว่า มิคทาเย ความว่า ป่านั้นได้เกิดในที่เป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อและนกทั้ง
หลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคทายะ. บทว่า ปวาเรติ ได้แก่ ย่อม
ปรารถนา. บทว่า วทนฺตุ ความว่า จงว่ากล่าว คือ จงโอวาท จงพร่ำสอน
ด้วยสามารถแห่งโอวาทและอนุสาสนี. บทว่า วจนีโยมฺหิ ความว่า เราอัน
ท่านพึงว่ากล่าว คือ พึงพร่ำสอน พึงโอวาท. บทว่า โส จ โหติ ทุพฺพโจ
ความว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก คือ กล่าวแล้วไม่อดทน. บทว่า
โทวจสฺสกรเณหิ ความว่า ด้วยธรรม 16 ประการ อันมาแล้วในข้างหน้า
ซึ่งเป็นธรรมทำให้เป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหี อนุ-
สาสนึ
ความว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกว่ากล่าว จึงพูดว่า ท่านทั้งหลายว่ากล่าว
ผมเพราะเหตุไร ผมย่อมรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร โทษและไม่ใช่โทษ ประโยชน์
และไม่ใช่ประโยชน์ของตน ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่รับคำพร่ำสอนโดยเบื้องขวา ย่อม
รับโดยเบื้องซ้าย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ. บทว่า
ปาปกานํ อิจฺฉานํ คือ ความปรารถนาอันก่อให้เกิดความไม่สงบลามก.
บทว่า ปฏิปฺผรติ ย่อมดำรงตนเป็นผู้โต้ตอบเป็นข้าศึก. บทว่า อปสาเทติ