เมนู

อรรถกถาจุลลทุกขักขันสูตร


จุลลทุกขักขันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺเกสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น .
ก็ชนบทนั้นถึงอันนับว่า สักยา เพราะเป็นสถานที่อยู่ของราชกุมารชาวสักยะ
ทั้งหลาย. ก็ความอุบัติแห่งสักยะทั้งหลาย มาแล้วในอัมพัฏฐสูตรเทียว บทว่า
กปิลวตฺถุสฺมึ คือ ในนครที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ นครนั้นเรียกว่า กบิลพัสดุ์
เพราะเป็นนครที่สร้างขึ้นในสถานเป็นที่อยู่ของฤาษีชื่อว่า กปิล. ทำนครนั้น
เป็นที่โคจรคาม. บทว่า นิโคฺรธาราเม ความว่า เจ้าศากยะพระนามว่า
นิโครธ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ในกาลแห่งญาติ
สมาคม พระองค์ทรงให้สร้างวัดในสวนของพระองค์ มอบถวายแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามนั้น. บทว่า
มหานาโม ได้แก่ พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เจ้าทั้ง 5 พระองค์นี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้า
สุกโกทนะ พระเจ้าสักโกทนะ พระเจ้าโธโตทนะ พระเจ้าอมิโตทนะ ทรงเป็น
พระเจ้าพี่พระเจ้าน้อง พระเทวีพระนามว่า อมิตา ทรงเป็นพระภคินีของ
พระเจ้าเหล่านั้น พระติสสเถระเป็นบุตรของพระนางอมิตานั้น พระตถาคต
และพระนันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้ามหานามะ และ
พระอนุรุทธเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานนทเถระเป็น
พระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอานนทเถระนั้นเป็นพระกนิษฐ์ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่า เป็นสกทาคามีอริยสาวก. บทว่า
ทีฆรตฺตํ ความว่า ทรงแสดงว่า ข้าพระองค์รู้จำเดิมแค่ข้าพระองค์บรรลุ

สกทาคามิผลตลอดกาลนาน. บทว่า โลภธมฺมา ได้แก่ ธรรมกล่าวคือโลภะ.
ทรงกล่าวหมายถึงโลภะเท่านั้น มีประการต่าง ๆ. ในสองบทแม้นอกนี้ ก็มีนัย
เช่นเดียวกัน . บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐนฺติ ความว่า ยังครอบงำอยู่. ก็
ธรรมดา ปริยาทาน (การครอบงำ) นี้มาแล้วในการถือในบทนี้ว่า (พระอัคร-
มเหสีทรง) ถือกำลังช้าง กำลังม้า กำลังรถ กำลังพลรบ ทั้งหมดนั้น ที่มีชีวิตนั้น
เทียว. มาในความทิ้งในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมทิ้งกามราคะทั้งปวง ดังนี้. ท่านประสงค์อรรถะว่า ทิ้ง ใน
บทแม้นี้. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า บทว่า ปริยาทิยิตฺ วา ได้แก่ ทิ้งแล้ว. บทว่า
เยน เม เอกทา โลภธมฺมาปิ ความว่า ทรงทูลถามว่า แม้โลภธรรมทั้งหลาย
ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้ในบางเวลา เพราะเหตุใด. ได้ยินว่า
พระราชานี้ทรงมีความสำคัญว่า โลภะ โทสะ และโมหะ ได้ละหมดไม่มีเหลือ
ด้วยสกทาคามิมรรค. พระราชานี้ทรงรู้ว่า สิ่งที่ยังละไม่ได้ของเรามีอยู่ ทรงถือ
เอาสิ่งที่ยังละไม่ได้ เป็นผู้มีความสำคัญว่า สิ่งที่ละได้แเล้วย่อมเป็นไปภายหลัง
ดังนี้. พระอริยสาวกเกิดความสงสัยอย่างนี้หรือ. เออ ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น.
เพราะเหตุไร. เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในบัญญัติ. จริงอยู่ แม้อริยสาวก
ผู้ไม่ฉลาดในบัญญัตินี้ว่า กิเลสนี้ถูกฆ่าด้วยมรรคโน้น ย่อมมีความสงสัย
อย่างนี้. อริยสาวกนั้นไม่มีการพิจารณาหรือ. มี แต่การพิจารณานั้น ย่อมไม่
บริบูรณ์แก่อริยสาวกทั้งปวง. ด้วยว่า บางคนพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้แล้ว
เท่านั้น บางคนพิจารณากิเลสที่ไม่ละเอียดเท่านั้น บางคนพิจารณาเฉพาะมรรค
บางคนพิจารณาเฉพาะผล บางคนพิจารณาเฉพาะนิพพาน ก็ในการพิจารณา
5 ประการนี้ การพิจารณาประการหนึ่ง หรือสองประการ ไม่ควรเพื่อจะได้
ก็หามิได้ ด้วยประการฉะนี้ อริยสาวกผู้ใดมีการพิจารณาไม่บริบูรณ์ อริยสาวก
นั้นย่อมมีความสงสัย อย่างนี้ เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในกิเลสบัญญัติ อัน

พึงฆ่าด้วยมรรค. บทว่า โส เอวํ โข เต ความว่า ทรงแสดงว่า โลภะ โทสะ
และโมหะนั้นเอง ยังละไม่ได้ในสันดานของท่าน แต่ท่านเป็นผู้มีความ
สำคัญว่าละได้แล้ว. บทว่า โส จ หิ เต ความว่า ธรรมคือ โลภะ
โทสะ และโมหะของท่านนั้น. บทว่า กาเม ได้แก่ กาม 2 อย่าง. บทว่า
น ปริภุญฺเชยฺยาสิ คือ ทรงแสดงว่า ท่านก็พึงบวชดุจพวกเรา. บทว่า
อปฺปสฺสาทา ได้แก่ มีสุขนิดหน่อย. บทว่า พหฺทุกฺขา ได้แก่ ทุกข์อัน
เป็นไปในปัจจุบัน และในสัมปรายภพนั้นเทียว เป็นอันมากในที่นี้. บทว่า
พหูปายาสา ได้แก่ กิเลสคืออุปายาส อันเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ
นั้นเทียว เป็นของมากในที่นี้. บทว่า อาทีนโว คือ อุปัททวะ อันเป็นไป
ในปัจจุบันและสัมปรายภพ. บทว่า เอตฺถ ภิยฺโย ความว่า ในกามเหล่านั้น
มีโทษมากอย่างนี้เทียว แต่ให้ความยินดีน้อย คือ นิดหน่อย ดุจเมล็ดผักกาด
อาศัยภูเขาหิมพานต์ให้ผลน้อยฉะนั้น. บทว่า อิติ เจปิ มหานาม ความว่า
ดูก่อนมหานาม แม้ถ้าอริยสาวกอย่างนี้. บทว่า ยถาภูตํ ได้แก่ ทรงแสดงว่า
เล็งเห็นด้วยดีด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริง คือ โดยนัย โดยการณ์. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาย ได้แก่ ด้วยวิปัสสนาปัญญา อธิบายว่า
ด้วยญาณคือมรรค 2 อย่างในขั้นต่ำ. บทว่า โสว คือ อริยสาวกผู้เห็นโทษ
ของกามด้วยมรรค 2 อย่างนั้นเทียว. ทรงแสดงญาณ 2 อย่างที่มีปีติ ด้วยบท
นี้ว่า ปีติสุขํ. บทว่า อญฺญํ วา ตโต สนฺตตรํ ได้แก่ ฌาน 2 อย่าง
และมรรค 2 อย่าง ชั้นสูงอื่นที่สงบกว่าฌาน 2 อย่างนั้น. บทว่า เนว ตาว
อนาวฏฺฏี กาเมสุ โหติ ความว่า อริยสาวกแม้แทงตลอดมรรคทั้งสองดำรง
อยู่นั้น ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามทั้งหลายไม่ได้ก่อน โดยแท้แล เพราะความ
ที่ยังไม่บรรลุฌาน หรือมรรคชั้นสูง ย่อมไม่เป็นอาโภค (ความผูกใจ) แก่ผู้ไม่
เวียนมา ก็หามิได้ แต่จะมีอาโภคแก่ผู้เวียนมาเท่านั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มี

วิกขัมภนปหานด้วยฌานสี่ ไม่มีสมุจเฉทปหานด้วยมรรค 2. บทว่า มยฺหํปิ
โข
ความว่า ไม่ใช่ท่านอย่างเดียวเท่านั้น โดยแท้แม้เรา. บทว่า ปุพฺเพว
สมฺโพธา
ได้แก่ ก่อนตรัสรู้ด้วยมรรคทีเดียว. ท่านประสงค์เอาโอโรธนา-
ฎกาปชหนปัญญา (ปัญญาในการเสียสละนางสนม และนางฟ้อน) ในบทนี้ว่า
ปญฺญาย สุทิฏฺฐํ อโหสิ ดังนี้. บทว่า ปีติสุขํ นาชฺฌคมึ ได้แก่ เรา
ไม่ได้ฌาน 2 อย่างที่มีปีติ. ท่านประสงค์เอาฌานชั้นสูง 2 อย่าง และมรรค 4
ในบทนี้ว่า อญฺญํ วา ตโต สนฺตตรํ ดังนี้. บทว่า ปจฺจญฺญาสึ ได้แก่
ปฏิญญาณแล้ว.
เพราะเหตุไร จึงทรงปรารภว่า ดูก่อนมหานาม ในสมัยหนึ่ง เรา ดังนี้.
เพราะมีอนุสนธิเป็นแผนกดังนี้. ทรงแสดงความยินดีบ้าง อาทีนพบ้าง แห่ง
กามทั้งหลายในเบื้องต่ำ ไม่ได้ตรัสถึงความสลัดออก ทรงปรารภเทศนานี้
เพื่อทรงแสดงถึงความสลัดออกนั้น เพราะการประกอบตนให้พัวพันกับสุขใน
กามเป็นที่สุดอันหนึ่ง การประกอบตนให้ลำบากเป็นที่สุดอันหนึ่ง ศาสนาของ
เราพ้นจากที่สุดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้ แม้เพื่อทรงแสดง
ศาสนาทั้งสิ้น ด้วยหัวข้อแห่งผลสมาบัติชั้นสูง. บทว่า คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต
ความว่า ภูเขานั้นมียอดคล้ายอีแร้ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า คิชฌกูฎ
หรืออีแร้งทั้งหลายอาศัยอยู่ ในยอดทั้งหลายของภูเขานั้นบ้าง เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า คิชฌกูฏ. บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาอิสิคิลิ. บทว่า
กาฬสิลายํ ได้แก่ หลังหินมีสีดำ. บทว่า อุพฺภฏฐกา โหนฺติ ความว่า
เป็นผู้ถือการยืนเป็นวัตร ไม่นั่ง. บทว่า โอปกฺกมิกา ความว่า อันเกิด
แต่ความพยายามของตน มีการยืนเป็นวัตรเป็นต้น. บทว่า นิคนฺโถ อาวุโส
ความว่า เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวเหตุอื่น จึงโยนให้กับนิครนถ์. บทว่า สพฺพญฺญู
สพฺพทสฺสาวี
ความว่า นิครนถ์ทั้งหลายแสดงว่า ศาสดาของพวกเรานั้น
รู้ทุกอย่าง เห็นทุกอย่าง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. บทว่า อปริเสสํ

ญาณทสฺสนํ ปฏิชานาติ ความว่า ศาสดาของพวกเรานั้น ย่อมรู้ชัดญาณ-
ทัสสนะ กล่าวคือหมดทุกส่วน เพราะรู้ธรรมหมดทุกส่วน และเมื่อยืนยัน
ก็ยืนยันอย่างนี้ว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี ยืนก็ดี ฯลฯ ญาณทัสสนะปรากฎอยู่
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตตํ ได้แก่ เนืองนิตย์. บทว่า สมิตํ
เป็นไวพจน์ของบทนั้นเทียว. คำนี้ว่า ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบ
ละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมดา
บุรุษย่อมรู้กิจที่ทำ กู้หนี้ 20 กหาปณะ ชำระแล้ว 10 กหาปณะ ก็รู้ว่า เรา
ชำระแล้ว 10 กหาปณะ ยังคงเป็นหนี้ 10 กหาปณะ ครั้นชำระกหาปณะแม้เหล่า
นั้นหมดแล้ว ย่อมรู้กิจทั้งปวงว่า หนี้ทั้งหมดเราชำระแล้ว เกี่ยวส่วนที่สาม
แห่งนา ก็รู้ว่า ส่วนหนึ่งเกี่ยวแล้ว ยังเหลือสองส่วน ครั้นเกี่ยวส่วนหนึ่งอีก
ก็รู้ว่า ส่วนหนึ่งยังเหลือ ครั้นส่วนแม้นั้นเกี่ยวแล้ว ก็รู้ว่า กิจทุกอย่างเสร็จ
แล้ว ย่อมรู้กิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำในกิจทั้งปวงอย่างนี้ แม้พวกท่านก็พึงรู้
อย่างนั้น. ด้วยคำนี้ว่า การละอกุศลธรรมทั้งหลาย ตรัสถามว่า ชื่อว่า
นิครนถ์ผู้ละอกุศล เจริญกุศล ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว มีอยู่ในศาสนาของ
พวกท่านหรือ. บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า ครั้นความที่พวกท่านรู้อย่างนี้
มีอยู่. บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ มีมรรยาทเลวทราม. บทว่า โลหิตปาณิโน
ได้แก่ ผู้พรากสัตว์จากชีวิต ชื่อว่า มีมือเปื้อนด้วยเลือด. ก็ธรรมดามือของ
ผู้ฆ่าสัตว์แม้ใด ย่อมเปื้อนด้วยเลือด ผู้แม้นั้นเรียกว่า มีมือเปื้อนเลือดเหมือนกัน.
บทว่า กุรูรกมฺมนฺตา ได้แก่ ทารุณกรรม คือกระทำความผิดในมารดา บิดา
และสมณพราหณ์ผู้มีธรรมเป็นต้น หรือ กรรมอันหยาบช้ามีพรานเนื้อ
เป็นต้น. นิครนถ์ทั้งหลายสำคัญว่า สมณโคดมนี้ให้โทษในวาทะของพวกเรา
แม้พวกเราจะยกโทษแก่สมณโคดมนั้น จึงปรารภคำนี้ว่า ดูก่อนท่านพระโคดม
ผู้มีอายุ ดังนี้. บทนั้นมีเนื้อความว่า ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ พระองค์

ทรงจีวรอันประณีต เสวยข้าวสาลี เนื้อ และ น้ำ ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี
มีสีดังเทพวิมาน ประสบความสุขได้ด้วยความสุขฉันใด บุคคลไม่พึงประสบ
ความสุขด้วยความสุขฉันนั้น. อนึ่ง พวกข้าพเจ้าเสวยความทุกข์นานับประการ
ด้วยความเพียรทั้งหลาย มีความเพียรในการนั่งกระโหย่งเป็นต้นฉันใด
บุคคลพึงประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์ฉันนั้น ดังนี้. บทว่า สุเขน จ
อาวุโส นี้ กล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ถ้าบุคคลพึงประสบความสุขได้ด้วยความ
สุขไซร้ พระราชาก็พึงประสบดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาคโธ
ได้แก่ ทรงมีอิสระแห่งแคว้นมคธ. บทว่า เสนิโย คือ พระนามของพระเจ้า
แผ่นดินมคธนั้น. บทว่า พิมฺพิ ได้แก่ พระนามของอัตตภาพ. พระองค์เป็นสาระ
แห่งแคว้นมคธนั้น ทรงน่าดู เป็นที่น่าเลื่อมใส จึงขนานพระนามว่า พิมพิสาร
เพราะความสำเร็จในอัตภาพ. พวกนิครนถ์นั้นหมายถึงการเสวยสมบัติพร้อม
กับนางฟ้อนรำทั้งหลาย ซึ่งมีวัยทั้ง 3 ในปราสาททั้ง 3 ของพระราชา จึงกล่าว
คำนี้ว่า ทรงอยู่เป็นสุขดีกว่า ดังนี้. บทว่า อทฺธา ได้แก่โดยส่วนเดียว.
บทว่า สหสา อปฺปฏิสงฺขา ได้แก่ ทรงแสดงว่า พวกนิครนถ์หุนหันไม่
ทันพิจารณา จึงพูดวาจาอย่างนั้น เหมือนคนกำหนัดแล้วพูดด้วยอำนาจราคะ
คนโกรธแล้วพูดด้วยอำนาจโทสะ คนหลงแล้วพูดด้วยอำนาจโมหะฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ ความว่า เราจักถามในอรรถะ
นั้น. บทว่า ยถา โว ขเมยฺย ความว่า พวกท่านพึงชอบใจฉันใด. บทว่า
ปโหติ ได้แก่ ย่อมอาจ. บทว่า อนิญฺชมาโน ได้แก่ ไม่หวั่นไหว. บทว่า
เอกนฺตสุขปฏิสํเวที ได้แก่ เสวยความสุขชั่วนิรันดร์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงความสุขในผลสมาบัติของพระองค์ จึงตรัสคำนี้ ว่าดูก่อนนิครนถ์
ผู้มีอายุ เราแหละสามารถ ฯลฯ เสวยความสุขส่วนเดียว ดังนี้. ก็ทรงกระทำ

วาระแห่งพระราชาให้เป็นต้นถึงเจ็ดวาระแล้วทรงกระทำคำถามเพื่อให้จบถ้อยคำ
ในที่นี้. ก็ครั้นกล่าวว่า ไม่สามารถถึงเจ็ดคืน เจ็ดวันได้ จึงมีคำถามความสุข
หกคืนหกวัน ห้าคืนห้าวัน สี่คืนสี่วัน ดังนี้. แต่ในพุทธวาระ ครั้นตรัส
ถึงเจ็ดคืน เจ็ดวัน จะตรัสอีกว่า หกคืนหกวัน ห้าคืนห้าวัน สี่คืนสี่วัน ก็
จะไม่เป็นที่อัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสรวมเป็นอันเดียวกันแล้ว ทรงกระทำ
เทศนา. บทที่เหลือในบททั้งหมดมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจุลลทุกขักขันธสูตรที่ 4.

5. อนุมานสูตร


[221] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคลลานะพำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็น
สถานที่ให้อภัยแก่เนื้อ ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.
[222] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย ถ้าแม้ภิกษุปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ เป็นผู้ควรที่ท่าน
จะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่า
ยาก เป็นผู้ไม่อดทนไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน
พรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่สำคัญ
ว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคล นั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายากเป็นไฉน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก
นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.
2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่ม
ผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมัก
โกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ
ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.