เมนู

อรรถกถามหาทุกขักขันธสูตร


มหาทุกขักขันธสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
ในมหาทุกขักขันธสูตรนั้น ในวินัยปริยาย ชน 3 คน เรียกว่า
สัมพหุลา มากกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์. ในสุตตันตปริยาย ชน 3 คน คงเป็น
3 นั้นเทียว เกินกว่า 3 นั้น เรียกว่า สัมพหุลา. พึงทราบสัมพหุลาโดยสุต-
ตันตปริยายในสูตรนี้. บทว่า ปิณฺฑาย ปวิสึสุ ได้แก่เข้าไปแล้ว. ก็ภิกษุ
เหล่านั้น ไม่ได้เข้าไปแล้วก่อนด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าไป แต่เมื่อออกมาจึง
กล่าวว่า ปวิสึสุ. เหมือนอย่างใด. เหมือนอย่างบุรุษผู้ออกไปว่า เราจักไป
สู้บ้านแม้ไม่ถึงบ้านนั้น ครั้นเขากล่าวว่า บุรุษชื่อนี้ไปไหน เรียกว่า ไปสู่
บ้านแล้วฉันใด ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า ปริพฺพาชกานํ อาราโม
ความว่า มีอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในที่ไม่ไกลจากพระเชตวัน
หมายถึงอารามนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สมโณ อาวุโส ความว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ พระสมณโคดมพระศาสดาของพวกท่าน. บทว่า กามานํ ปริญฺญํ
ความว่าพระสมณโคดมทรงบัญญัติการละ คือการก้าวล่วงกามทั้งหลาย. แม้ใน
รูปเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนั้น พวกเดียรถีย์ผู้รู้ลัทธิของตน
พึงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงปฐมฌาน พึงบัญญัติความรอบ
รู้รูปทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงอรูปภพ พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนา เมื่อกล่าวถึง
อสัญญิภพ ก็พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนาทั้งหลาย. แต่เดียรถีย์เหล่านั้น
ย่อมไม่รู้ว่านี้ปฐมฌาน นี้รูปภพ นี้อรูปภพ เมื่อไม่อาจบัญญัติ จึงพูดว่า
พวกเราจะบัญญัติ ๆ อย่างเดียว. พระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้ง
หลาย ด้วยอนาคามิมรรค ทรงบัญญัติความรอบรู้รูปและเวทนาทั้งหลาย ด้วย

อรหัตมรรค. เดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อมีข้อแปลกกันอย่างนี้ จึงกล่าวว่า อิธ
โน อาวุโส โก วิเสโส
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ
คือในการบัญญัตินี้ หรือในการแสดงธรรมนี้. บทว่า ธมฺมเทสนํ ความว่า
เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านกล่าวข้อกระทำให้ต่างกัน ปรารภธรรม
เทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือปรารภธรรมเทศนา
ของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรานี้ใด นั้นชื่ออะไรเล่า. แม้ใน
บทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. เดียรถีย์เหล่านั้น ตั้งธุระเสมอกันด้วยเหตุสักว่ากล่าว
ลัทธิของตนกับศาสนา เหมือนทองคำแตกในท่ามกลางด้วยประการฉะนี้. บทว่า
เนว อภินนฺทึสุ คือ ไม่ยอมรับว่า คำนั้นเป็นอย่างนั้นเทียว. บทว่า
นปฺปฏิกฺโกสึสุ ได้แก่ไม่ปฏิเสธว่า คำนั่นไม่เป็นอย่างนี้. เพราะเหตุไร.
ได้ยินว่า ธรรมดาเดียรถีย์เหล่านั้น เป็นเช่นคนตาบอด รู้แล้วก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม
ก็พึงกล่าว เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยินดี. ไม่คัดค้านว่า กลิ่นของ
ศาสนามีนิดหน่อย ด้วยคำว่า ปริญฺญํ. ได้ทำทั้งสองอย่างด้วยคิดว่า
เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นชาวชนบท ไม่ฉลาดพอในลัทธิของตนและลัทธิอื่น.
บทว่า น เจว สมฺปายิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่อาจเพื่อที่จะให้ความพอใจ
กล่าว. บทว่า อุตฺตริญฺจ วิฆาตํ ความว่า และจักถึงทุกข์ยิ่งกว่า ความไม่
พอใจ. ก็ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่เดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้ไม่อาจเพื่อที่จะให้พอ
ใจกล่าว. คำว่า ตํ ในบทนี้ว่า ยถาตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ เป็นเพียงนิบาต
คำว่า ยถา เป็นตติยาวิภัตติ อธิบายว่า เพราะเป็นผู้ถูกถามแล้วในปัญหาอัน
มิใช่วิสัย. บทว่า สเทวเก ได้แก่ เป็นไปกับด้วยเทวโลก. แม้ในบทว่า
สมารกะ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเพิ่มฐาน 3 เข้า
เป็นโลกอย่างนี้แล้ว ทรงกำหนดสัตว์โลกนั้นเทียวว่า หมู่สัตว์สอง รวมเป็น

ห้าแล้ว ทรงแสดงว่า เราไม่เห็นเทพ หรือ มนุษย์ไร ๆ ในโลกอันต่างโดย
เทวโลกเป็นต้นนั้น. บทว่า อิโต วา ปน สุตฺวา ความว่า ก็หรือ ฟังจาก
นี้ คือจากศาสนาของเรา. ทรงแสดงว่า ผู้ไม่ได้เป็นตถาคตก็ดี สาวกของผู้
ไม่ได้เป็นตถาคตก็ดี ฟังจากนี้แล้วพึงยินดี พึงพอใจ ขึ้นชื่อว่า ความยินดีโดย
ประการอื่นไม่มี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการยังจิตให้ยินดีด้วยการ
พยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นของพระองค์ จึงตรัสว่า โก จ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า กามคุณา ความว่า ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าอันบุคคลพึงยินดี
ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า เครื่องผูก อรรถว่า ชั้น ชื่อว่าคุณอรรถ ใน
บทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าที่ได้มา. อรรถ
ว่าอยู่ ชื่อว่า คุณอรรถ ในบทนี้ว่า กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้น
แห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ. อรรถว่าอานิสงส์ ชื่อว่า คุณอรรถ ในบทนี้ว่า
ทักษิณาอันมีคุณทั้งร้อย อันบุคคลพึงหวัง อรรถว่า เครื่องผูก ชื่อว่า คุณอรรถ
ในบทนี้ว่า พึงทำที่สุด กลุ่มที่สุด กลุ่มมาลามีมาก. ท่านประสงค์เอาอรรถว่า
เครื่องผูกนั้นอย่างเดียว แม้ในบทนี้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า คุณ
เพราะอรรถว่าเครื่องผูก ดังนี้. บทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยา ความว่า พึงเห็นด้วย
จักขุวิญญาณ. พึงทราบอรรถ แม้ใน โสต วิญฺเญยฺย เป็นต้น โดยทำนองนี้.
บทว่า อิฎฺฐา ความว่า จงยินดีก็ตาม ไม่ยินดีก็ตาม ก็เป็นอิฏฐารมณ์. บทว่า
กนฺตา ได้แก่ พึงให้ยินดี. บทว่า มนาปา คือ ให้ใจเจริญ. บทว่า ปิยรูปา
คือ เกิดความรัก. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่าประกอบแล้วด้วยกามซึ่ง
ทำอารมณ์เกิดขึ้น. บทว่า รชนียา ได้แก่พึงกำหนัด อธิบายว่า เป็นเหตุ
เกิดขึ้นแห่งราคะ. ในบททั้งหลายมีว่า ยทิ มุทฺธาย เป็นต้น บทว่า มุทฺธาย
ได้แก่ ด้วยการตั้งสัญญาในข้อนี้ทั้งหลายแล้วนับมือ. บทว่า คณนาย ได้

แก่ ด้วยการคำนวณไม่ผิด. บทว่า สงฺขา ความว่า ชนทั้งหลายแลดูนาด้วย
การนับข้าวว่า ในนานี้จักมีข้าวประมาณเท่านี้ แลดูต้นไม้ก็รู้ว่า ในต้นไม้
นี้จักมีผลเท่านี้ แลดูอากาศก็รู้ว่า ในอากาศจักมีนกประมาณเท่านี้. บทว่า กสิ
ได้แก่ กสิกรรม. บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทางการค้าขายมีการค้าขายทางน้ำ
และการค้าขายทางบกเป็นต้น. บทว่า โครกฺขํ ได้แก่ การรักษาโคของตน
หรือของคนเหล่าอื่นทำการเลี้ยงชีพ ด้วยการขายปัญจโครส. การถืออาวุธแล้ว
ทำการปฎิบัติ เรียกว่าการยิงธนู. บทว่า ราชโปริสํ ได้แก่การทำราชการ
ด้วยอาวุธให้ปรากฏ. บทว่า สิปฺปญฺญตรํ ได้แก่ ศิลปะมีศิลปะเพราะช้าง
หรือศิลปะเพราะม้าเป็นต้น ที่เหลือจากที่ระบุไว้แล้ว. บทว่า สีตสฺส ปุรกฺขโต
ความว่า เผชิญกับความหนาว เหมือนเป้าเผชิญกับลูกศรฉะนั้น อธิบายว่า
ผู้ถูกความหนาวเบียดเบียน. แม้ในความร้อนก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบทว่า ทํสา
เป็นต้น บทว่า ทํสา ได้แก่ เหลือบ. บทว่า มกสา ได้แก่ แมลงทุก
ชนิด. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื้อยคลานไป. บทว่า
ริสฺสมาโน ได้แก่ หวั่นไหว กระสับกระส่าย. บทว่า มิยฺยมาโน ได้แก่
ตาย. บทว่า อยํ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความลำบาก
ซึ่งอาศัยการเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมีการนับคะแนนเป็นต้น มีความหนาวเป็นต้น
เป็นปัจจัย. บทว่า กามานํ อาทีนโว คือ เป็นอันตราย ความว่า เป็น
อุปสรรคในกามทั้งหลาย. บทว่า สนฺทิฏฺฐิโก คือ ประจักษ์ ได้แก่พึงเห็น
เอง. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺโธ ได้แก่ เป็นกองทุกข์. ในบททั้งหลายมีกามเหตุ
เป็นต้น กามทั้งหลายชื่อว่าเป็นเหตุแห่งโทษนั้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย
เพราะฉะนั้น โทษนั้น จึงชื่อว่ากามเหตุ แปลว่ามีกามเป็นเหตุ. กามทั้งหลาย
ชื่อว่า เป็นต้นเค้าของโทษนั้น เพราะอรรถว่า เป็นรากเหง้า เพราะฉะนั้น
โทษนั้น จึงชื่อว่า กามนิทาน แปลว่า มีกามเป็นต้นเค้า แต่ท่านกล่าวว่า

กามนิทานํ เพราะคลาดเคลื่อนทางลิงค์. กามทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นตัวบังคับ
ของโทษนั้น เพราะอรรถว่า การณ์ เพราะฉะนั้น โทษนั้น จึงชื่อว่า
กามาธิกรณะ แปลว่า มีกามเป็นตัวบังคับ. แต่ท่านกล่าวว่า กามาธิกรณํ
เพราะความคลาดเคลื่อนทางลิงค์. บทว่า กามานเมว เหตุ นี้เป็นคำกำหนด
อธิบายว่า โทษเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัยนั้นเทียว. บทว่า อุฏฺฐหโต คือ
ขยันด้วยความเพียรเป็นเหตุให้มีอาชีพเป็นหลักฐานะ บทว่า ฆฏโต ได้แก่
สืบต่อความเพียรนั้นให้มากขึ้นกว่าในวันก่อน ๆ. บทว่า วายมโต ความว่า
กระทำความพยายาม ความบากบั่น ความประกอบ. บทว่า นาภินิปฺผชฺชนฺติ
ความว่า โภคะนั้นย่อมไม่สำเร็จ คือ ไม่ขึ้นสู่เงื้อมมือ. บทว่า โสจติ คือ
ย่อมเศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกอันแรงกล้าเกิดขึ้นในจิต. บทว่า กิลมติ ได้แก่
ย่อมลำบากด้วยทุกข์ที่เกิดขึ้นในกาย. บทว่า ปริเทวติ ได้แก่ ย่อมคร่ำครวญ
ด้วยวาจา. บทว่า อุรตฺตาฬึ คือ ตีอก. กนฺทติ ได้แก่ ย่อมร้องไห้.
บทว่า สมฺโมหํ อาปชฺชติ ความว่า เป็นผู้เลอะเลือน ดุจปราศจากความ
รู้สึก. บทว่า โมฆํ แปลว่า เปล่า. บทว่า อผโล ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า
อารกฺขาทิกรณํ คือ มีการคุ้มครองเป็นเหตุ. บทว่า กินฺติ เม คือ ด้วย
อุบายอะไรหนอแล. บทว่า ยํปิ เม. ความว่า ทรัพย์ที่เราทำการงานมีกสิกรรม
เป็นต้น ให้เกิดแล้วแม้ใด. บทว่า ตํปิ โน นตฺถิ ความว่า บัดนี้ ทรัพย์
แม้นั้นของเราก็ไม่มี. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการณ์ด้วยบทแม้มีอาทิว่า
ปุน จ ปรํ ภิกฺขเว เหตุ ดังนี้แล้วทรงแสดงโทษ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กามเหตุ ความว่า แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาท
กันกับพวกษัตริย์ เพราะกามเป็นปัจจัย. บทว่า กามนิทานํ เป็นภาวน-
ปุงสกลิงค์ อธิบายว่า ทำกามทั้งหลายให้เป็นต้นเค้าแล้ววิวาทกัน. แม้บทว่า
กามาธิกรณํ ก็เป็น ภาวนปุงสกลิงค์ เหมือนกัน อธิบายว่า ทำกามทั้งหลาย

เป็นตัวบังคับแล้ววิวาทกัน. บทว่า กามานเมว เหตุ ความว่า วิวาทกัน
เพราะเหตุแห่งบ้าน นิคม เสนาบดี ปุโรหิต และฐานันดร เป็นต้น. บทว่า
อุปกฺกมนฺติ คือ ประหาร. บทว่า อสิจมฺมํ ได้แก่ ดาบและวัตถุมีโล่
เป็นต้น. บทว่า ธนุกลาปํ สนฺนยฺหิตฺวา ความว่า ถือธนูแล้วสอดแล่งธนู.
บทว่า อุภโต พฺยุฬฺหํ ได้แก่ รบกันทั้งสองฝ่าย. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ
คือ เข้าไป. บทว่า อุสูสุ คือ เมื่อลูกศรทั้งหลาย. บทว่า วิชฺโชตลนฺเตสุ
คือ พุ้งไป. บทว่า เต ตตฺถ คือ ฝูงชนเหล่านั้นในสงครามนั้น. ในบทว่า
อฏฺฏาวเลปนา อุปการิโย นั้น ก็มนุษย์ทั้งหลาย ก่อเชิงกำแพงด้วยอิฐ
ทั้งหลาย โดยมีสัณฐานเหมือนกลีบม้า แล้วฉาบปูนขาวเบื้องบน เชิงกำแพง
ทั้งหลายที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า อุปการิโย เชิงกำแพงเหล่านั้น ฉาบด้วย
เปือกตมร้อน จึงชื่อว่า อฏฺฎาวเลปนา. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ ความว่า
ชนเหล่านั้น เมื่อถูกยิงด้วยอาวุธมีลูกศรเหล็กแหลมคมเป็นต้น ภายใต้เชิง
กำแพงเหล่านั้นบ้าง เมื่อไม่อาจเพื่อปีนหนี เพราะกำแพงลื่นเป็นมันบ้าง จึง
วิ่งพล่านไปมา. บทว่า ฉกณฏิยา คือ ด้วยโคมัยอันร้อน. บทว่า อภิวคฺเคน
ความว่า ชนทั้งหลายยืนที่ประตูชั้นบนอันมาถึงว่า พวกเราจักทำคราดนั้น
พร้อมกับฟันโดยอาการมีฟันแปดซี่ ทำลายประตูนครเข้าไป แล้วตัดเครื่องผูก
และเชือกแห่งคราดนั้นแล้วสับด้วยคราดนั้น. บทว่า สนฺธึปิ ฉินฺทนฺติ คือ
ตัดที่ต่อแห่งเรือนบ้าง. บทว่า นิลฺโลปํ ความว่า โจมตีบ้านเป็นต้นแล้ว
กระทำการปล้นใหญ่ บทว่า เอกาคาริกํ ความว่า ฝูงชนประมาณ 50 คน
บ้าง ประมาณ 60 คนบ้าง โจมตีแล้ว จับเป็นให้นำออกมา. บทว่า ปริปนฺเถ
ติฏฺฐนฺติ ความว่า กระทำการดักตีในระหว่างทาง. บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ
ความว่า ด้วยค้อนทั้งหลาย หรือ ด้วยท่อนไม้ที่เขาตัดท่อนไม้ประมาณ 4 ศอก
เพื่อให้สำเร็จการประหารให้เป็นสองส่วนถือไว้. บทว่า พิลงฺคถาลิกํ ได้แก่

กรรมกรณ์ คือต้มด้วยหม้อข้าว. พระราชาทั้งหลายเมื่อจะทรงทำกรรมกรณ์นั้น
ก็ถลกกะโหลกศีรษะออก เอาคีมปากนกแก้วจับก้อนเหล็กร้อนวางบนกะโหลก
ศีรษะนั้น เอาคีมเหล็กนั้นคีบมันสมองยกขึ้นเบื้องบน. บทว่า สํขมุณฺฑกํ
ได้แก่ กรรมกรณ์ คือ ขอดสังข์. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้น ลอกหนังด้วย
การกำหนดจอนหูและโคนคอ ทั้งสองข้างให้ตั้งไว้เบื้องบน รวบผมทั้งหมดให้
เป็นกำหนึ่ง พันกับท่อนไม้ยกขึ้น หนังพร้อมกับผมทั้งหลายหลุดออก แต่นั้น
ก็เคาะหัวกะโหลกศีรษะด้วยก้อนหินหนา ล้างทำให้มีสีเหมือนสังข์. บทว่า
ราหุมุขํ ได้แก่ กรรมกรณ์ คือ ปากราหู. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้นก็เปิดปาก
ด้วยขอเหล็ก ตามประทีปภายในปาก หรือเจาะปากด้วยเหล็กแหลม จนถึง
จอนหูทั้งสองข้าง. เลือดไหลออกเต็มปาก. บทว่า โชติมาลกํ ได้แก่
พันสรีระทั้งสิ้นด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟ. บทว่า หตฺถปชฺโชติกํ ได้แก่
พันมือทั้งสองข้างด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้ว ตามประทีปให้โพลง. บทว่าเอรกว-
ตฺติกํ
ได้แก่ กรรมกรณ์ คือนุ่งหนังช้าง. เมื่อทำกรรมกรณ์นั้นตัดแผ่นหนัง
ตั้งแต่คอขึ้นไปวางไว้ที่จอนผม ลำดับนั้น ก็ผูกมันด้วยเชือกทั้งหลายแล้วดึงไป
เขาเหยียบแล้วเหยียบอีกซึ่งแผ่นหนังของตน ก็ล้มลง. บทว่า จีรกวาสินํ
ได้แก่ กรรมกรณ์ คือนุ่งสาหร่าย. เมื่อทำกรรมกรณ์นั้นก็ลอกแผ่นหนังเหมือน
อย่างนั้นให้จดสะเอว ลอกตั้งแต่แต่สะเอวจดข้อเท้าทั้งสองข้าง สรีระล่างกับข้างบน
เป็นเหมือนผ้านุ่งที่ทำด้วยเปลือกปอ. บทว่า เอเณยฺยกํ ได้แก่ กรรมกรณ์
คือ ยืนกวาง. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้น ก็มัดลวดเหล็กที่ข้อศอก และเข่า
ทั้งสองข้างแล้ว ก็ตอกเหล็กแหลมทั้งหลาย. เขายืนอยู่ในแผ่นดิน ด้วยเหล็ก-
แหลม 4 อัน ลำดับนั้น ก็แวดล้อมเขา ก่อเพลิงเป็นเหมือนกวางล้อมไฟ
สมดังที่ท่านกล่าวไว้แม้ในที่มาแล้วอย่างนี้ว่า เขาถอดเหล็กแหลมตามเวลาอัน
สมควรนั้น ตอกไว้กับกระดูกสะเอว 4 แห่ง นั้นเทียว ขึ้นชื่อว่า การกระทำ

ที่เห็นปานนี้ไม่มี. บทว่า พฬิสมํสิกํ ได้แก่ ตีด้วยเบ็ดมีขอทั้งสองข้างแล้ว
กระชากหนัง เนื้อและเอ็น. บทว่า กหาปณกํ ได้แก่ ควักสรีระทั้งสิ้นให้
ตกออกไปทีละประมาณกหาปณะ ตั้งแต่สะเอวด้วยมีดคมกริบทุบตี. บทว่า
ขาราปฏิจฺฉกํ ได้แก่ ตีสรีระในที่นั้น ๆ ด้วยอาวุธทั้งหลาย ลาดน้ำด่าง
ขัดด้วยแปรง หนึ่งเนื้อ และเอ็น ก็ไหลออก คงเหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น.
บทว่า ปลิฆปริวตฺตกํ ได้แก่ ให้นอนข้างเดียวแล้ว ตอกหลาวเหล็กแหลม
ในช่องหูทำให้ติดกับดิน ลำดับนั้น จึงจับเท้าของเขาแล้ววนเวียน. บทว่า
ปลาลปีฐกํ ได้แก่ ผู้ทำกรรมกรณ์ที่ฉลาด แล่ผิวหนังออกทุบกระดูกทั้งหลาย
ด้วยลูกหินบดแล้ว จับผมทั้งหลายยกขึ้น คงมีแต่กองเนื้อเท่านั้น ลำดับนั้น
ก็รวบผมของเขาเท่านั้น จับบีดทำเหมือนเกลียวฟาง. บทว่า สุนเขหิ ได้แก่
ยังสุนัขทั้งหลายที่หิวจัดเพราะไม่ให้อาหาร 2- 3วัน ให้พึงกัดกิน สุนัขเหล่านั้น
ก็ทำให้เหลือโครงกระดูกครู่เดียวเท่านั้น. บทว่า สมฺปรายิโก ความว่า เป็น
วิบากในสัมปรายภพในอัตตภาพที่สอง.
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ คือนิพพาน. จริงอยู่ ฉันทราคะ
ในกามทั้งหลายย่อมถูกกำจัดและถูกละได้ เพราะอาศัยนิพพาน เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ คือ นิพพาน. บทว่า
สามํ วา กาเม ปริชานิสฺสนฺติ ความว่า พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กาม
ทั้งหลายด้วยตนเอง ด้วยปริญญา 3. บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อความเป็น
อย่างที่ผู้ปฎิบัติ. บทว่า ยถาปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติแล้วด้วยปฏิปทาใด.
บทว่า ขตฺติยกญฺญา วา เป็นต้น ตรัสแล้วเพื่อทรงแสดงสตรีที่เกิดแล้วใน
ฐานะที่ได้วัตถุทั้งหลายมีผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น ซึ่งมีปฎิสนธิอันกุศล
ไม่น้อย คือ ไพบูลย์ให้รับแล้ว. บทว่า ปณฺณรสวสฺสุทฺเทสิกา คือ มีวัย
15 ปี. แม้ในบทที่สองก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ถามว่า ทำไมจึงทรงถือระยะวัย.

ตอบว่า เพื่อทรงแสดงสมบัติคือผิวพรรณ เพราะอายตนะ คือผิวพรรณของ
ของสตรีแม้เกิดในตระกูลทุกข์ยาก ย่อมค่อย ๆ งดงามเปล่งปลั่ง ในกาลหนึ่ง
ส่วนอายตนะคือผิวพรรณของบุรุษทั้งหลาย ย่อมงดงามเปล่งปลั่งในเวลามีอายุ
ได้ 20 ปี หรือ 25 ปี. ทรงแสดงสมบัติ คือ สรีระ อันปราศจากโทษ 6
ประการ ด้วยบททั้งหลายมีว่า ไม่สูงนัก เป็นต้น. บทว่า วณฺณนิภา คือ
มีวรรณะนั้นเทียว. บทว่า ชิณฺณํ คือ แก่เพราะชรา. บทว่า โคปานสิวงฺกํ
ได้แก่ มีซี่โครงคดเหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺคํ ได้แก่ ร่างคดงอ.
ทรงแสดงความที่ร่างกายนั้นคด ด้วยบทแม้นี้นั้นเทียว. บทว่า ทณฺฑปรายนํ
คือ อาศัยไม้เท้า ได้แก่ มีไม้เท้าเป็นที่สอง. บทว่า ปเวธมานํ ได้แก่
ตัวสั่น. บทว่า อาตุรํ ได้แก่ เดือดร้อนเพราะชรา. บทว่า ขณฺฑทนฺตํ
คือ มีฟันหลุด เพราะความเป็นคนแก่. บทว่า ปลิตเกสํ ได้แก่ มีผมหงอก.
บทว่า วิลูนํ ได้แก่ ผมโกร๋นดุจผมที่ถูกถอนเอาไปฉะนั้น. บทว่า ขลิตสิรํ
คือ ศีรษะล้านมาก. บทว่า วิลนํ ได้แก่ หนังเหี่ยวอันเกิดพร้อมแล้ว. บทว่า
ติลกาหตคตฺตํ คือ มีร่างกายเกลื่อนกล่นด้วยตกกระสีขาวและสีดำ. บทว่า
อาพาธิกํ ได้แก่ มีพยาธิ. บทว่า ทุกฺขิตํ คือ ถึงแล้วซึ่งทุกข์. บทว่า
พาฬฺหคิลานํ ได้แก่ มีความป่วยไข้อันมีประมาณยิ่ง. บทว่า สีวถิกาย
ฉฑฺฑิตํ
คือ ให้ตกแล้วในป่าช้าผีดิบ. บทที่เหลือได้กล่าวแล้วในสติปัฏฐาน
นั้นเทียว. นิพพานนั้นเทียว ชื่อว่า ฉันทราควินัยแม้ในที่นี้. บทว่า เนว
ตสฺมึ สมเย อตฺตพฺยาพาธาย
ความว่า ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิด เพื่อ
ประโยชน์แห่งทุกข์แม้ของตน. บทว่า อพฺยาปชฺฌํเยว ได้แก่ ไม่มีความทุกข์
นั้นเทียว. บทว่า ยํปิ ภิกฺขเว เวทนา อนิจฺจา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเวทนาไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น อาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ เป็นโทษ
แห่งเวทนา. การสลัดออกไป มีประการดังกล่าวแล้วนั้นเทียวแล.
จบอรรถกถามหาทุกขักขันธสูตรที่ 3

4. จูฬทุกขักขันธสูตร


[209] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ. ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า
โสภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น
โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้
ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า
ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี
โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว.
[210] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล
ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรม
ก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว. ดูก่อนมหานาม
ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว. ท่านก็ไม่พึงอยู่ครอง
เรือน ไม่พึงบริโภคกาม. แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดใน
ภายใน ฉะนั้น ท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม.
[211] ดูก่อนมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดย
ชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. แต่อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม