เมนู

[207] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนเวทนา
ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนา
ทั้งหลายเสียได้ นี้เป็นการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลาย.

การกำหนดรู้เวทนา


[208] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
ไม่รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลายโดยความ
เป็นโทษและการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่
กล่าวมานี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วย
ตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้เวทนาทั้งหลาย
ได้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นคุณ โทษของ
เวทนาทั้งหลายโดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลายโดยความเป็น
การถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นแหละ จักรอบรู้
เวทนาทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติ
แล้ว จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ
ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ มหาทุกขักขันธสูตรที่ 3

อรรถกถามหาทุกขักขันธสูตร


มหาทุกขักขันธสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-
ในมหาทุกขักขันธสูตรนั้น ในวินัยปริยาย ชน 3 คน เรียกว่า
สัมพหุลา มากกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์. ในสุตตันตปริยาย ชน 3 คน คงเป็น
3 นั้นเทียว เกินกว่า 3 นั้น เรียกว่า สัมพหุลา. พึงทราบสัมพหุลาโดยสุต-
ตันตปริยายในสูตรนี้. บทว่า ปิณฺฑาย ปวิสึสุ ได้แก่เข้าไปแล้ว. ก็ภิกษุ
เหล่านั้น ไม่ได้เข้าไปแล้วก่อนด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าไป แต่เมื่อออกมาจึง
กล่าวว่า ปวิสึสุ. เหมือนอย่างใด. เหมือนอย่างบุรุษผู้ออกไปว่า เราจักไป
สู้บ้านแม้ไม่ถึงบ้านนั้น ครั้นเขากล่าวว่า บุรุษชื่อนี้ไปไหน เรียกว่า ไปสู่
บ้านแล้วฉันใด ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า ปริพฺพาชกานํ อาราโม
ความว่า มีอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในที่ไม่ไกลจากพระเชตวัน
หมายถึงอารามนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สมโณ อาวุโส ความว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ พระสมณโคดมพระศาสดาของพวกท่าน. บทว่า กามานํ ปริญฺญํ
ความว่าพระสมณโคดมทรงบัญญัติการละ คือการก้าวล่วงกามทั้งหลาย. แม้ใน
รูปเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนั้น พวกเดียรถีย์ผู้รู้ลัทธิของตน
พึงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงปฐมฌาน พึงบัญญัติความรอบ
รู้รูปทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงอรูปภพ พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนา เมื่อกล่าวถึง
อสัญญิภพ ก็พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนาทั้งหลาย. แต่เดียรถีย์เหล่านั้น
ย่อมไม่รู้ว่านี้ปฐมฌาน นี้รูปภพ นี้อรูปภพ เมื่อไม่อาจบัญญัติ จึงพูดว่า
พวกเราจะบัญญัติ ๆ อย่างเดียว. พระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้ง
หลาย ด้วยอนาคามิมรรค ทรงบัญญัติความรอบรู้รูปและเวทนาทั้งหลาย ด้วย