เมนู

อธิบายพระอริยบุคคล


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระเสขะใน
วัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้น ดังพรรณนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ความเป็นไปของพระขีณาสพ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขเว
ภิกฺขุ อรหํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า โยปิ มีการประมวลมา
เป็นอรรถ. ด้วย ปิ ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในที่นี้
ย่อมได้ความเสมอกันโดยส่วนทั้ง 2. อธิบายว่า พระเสขะ ชื่อว่า เป็นผู้
เสมอด้วยพระขีณาสพ เพราะความเป็นอริยบุคคล ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงได้ความเสมอกันโดยบุคคล. ส่วนความเป็นผู้เสมอกันโดยทางอารมณ์
ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า อรหํ ความว่า ผู้มีกิเลสอยู่ไกล อธิบายว่า ผู้มีกิเลสห่างไกล
คือมีกิเลสอันท่านละได้แล้ว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นอรหันต์ได้อย่างไร คือ อกุศลธรรม
ทั้งหลาย อันลามก เศร้าหมอง อันเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ มีความ
เร่าร้อน มีผลเป็นทุกข์ เพื่อชาติ ชรา และมรณะ ต่อไปของท่านผู้
ห่างไกลจากกิเลสย่อมไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นพระอรหันต์
อย่างนี้แล.

บทว่า ขีณาสโว มีวินิจฉัยว่า อาสวะมี 4 คือ กามาสวะ
ภาวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะทั้ง 4 เหล่านี้ ของพระอรหันต์
สิ้นแล้ว คือท่านละได้ ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีก

อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์นั้น ท่านจึง
เรียกว่า พระขีณาสพ.
บทว่า วุสิตวา ความว่า พระอรหันต์นั้นอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว
ในธรรมเครื่องอยู่ของครูบ้าง ในธรรมเครื่องอยู่คืออริยมรรคบ้าง ใน
ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ 10 ประการบ้าง พระอรหันต์นั้น อยู่แล้ว
คืออยู่จบแล้ว ได้แก่มีธรรมเครื่องอยู่อันจบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว
ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่จบแล้ว.
บทว่า กตกรณีโย ความว่า พระเสขะทั้ง 7 จนกระทั่งกัลยาณ-
ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 กิจที่จะพึงทำทุกอย่าง
พระขีณาสพทำแล้ว ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่จะพึงทำอันยิ่งของพระขีณาสพ
นั้น เพื่อการบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมไม่มีฉะนั้น พระอรหันต์
นั้น จึงชื่อว่าผู้มีกิจที่จะต้องทำอันทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว. สมจริงดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การสั่งสมกิจที่ต้องทำอันทำเรียบร้อยแล้ว ของภิกษุ
ผู้มีจิตสงบ หลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้น ย่อมไม่มี
(และ) กิจที่พึงทำอีกก็ไม่มี ดังนี้.

ในบทว่า โอหิตภาโร มีวินิจฉัยว่า ภาระมี 3 คือ ขันธภาระ
กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ ภาระ 3 เหล่านี้ พระอรหันต์นั้น ปลงลงแล้ว
ยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว ด้วยเหตุนี้นั้น พระอรหันต์นั้น
ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว.
บทว่า อนุปตฺตสทตฺโถ ความว่า ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว
อธิบายว่า ตามบรรลุประโยชน์อันเป็นของตน. อักษร แปลงเป็น

อักษร. ก็พระอรหัตพึงทราบว่า ประโยชน์ของตน. จริงอยู่ พระ
อรหัตนั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์ของตน คือประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า
เกี่ยวเนื่องกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะอรรถว่า เป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งของตน.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน มีวินิจฉัยว่า สังโยชน์ 10 คือ
กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ
อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ
เพราะสังโยชน์เหล่านี้ ย่อมผูก คือตามผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ อีก
อย่างหนึ่ง ย่อมเชื่อมภพไว้ด้วยภพ สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเหล่านี้
ของพระอรหันต์ สิ้นรอบแล้ว อันท่านละได้แล้ว อันท่านเผาแล้วด้วย
ไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระขีณาสพนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพอันสิ้นรอบแล้ว.
บทว่า สมฺมทญฺญา ในบทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต นี้ ความว่า
เพราะรู้โดยชอบ. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า
เพราะรู้ คือทราบ ได้แก่พิจารณา ตรวจตรา เปิดเผย กระทำให้แจ้ง
ซึ่งอรรถแห่งขันธ์ว่าเป็นขันธ์ อรรถแห่งอายตนะว่าเป็นอายตนะ อรรถ
แห่งธาตุว่าเป็นธาตุ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นการบีบคั้น อรรถแห่งสมุทัยว่า
เป็นบ่อเกิดทุกข์ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นความสงบ อรรถแห่งมรรคว่า
เป็นทัสสนะ มีประเภทอย่างนี้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ โดยชอบ
คือตามความเป็นจริง.
บทว่า วิมุตฺโต มีวินิจฉัยว่า วิมุติมี 2 อย่าง คือ ความหลุดพ้น
แห่งจิต 1 พระนิพพาน 1 พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วแม้ด้วย

ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะความมีจิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้ง
ปวง ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วแม้ในพระนิพพาน เพราะความที่ท่านมีจิต
น้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์ท่านจึงเรียกว่า ผู้หลุด
พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
บทว่า ปริญฺญาตนฺตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด)
นั้นอันพระอรหันต์กำหนดรู้แล้วด้วยปริญญาทั้ง 3 ฉะนั้น พระอรหันต์
นั้นจึงไม่สำคัญที่ตั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระอรหันต์ย่อมไม่
สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนวาระ 3 เป็นต้นว่า ขยา ราคสฺส ดังนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในนิพพานวาระ วาระเหล่านั้น ก็ควรให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวี
เป็นต้น. ก็ปริญญาตวาระนี้ ก็ควรให้พิสดารแม้ในนิพพานวาระ. ก็
บัณฑิตเมื่อจะให้ความพิสดาร พึงประกอบคำว่า ปริญฺญาตนฺตสฺส ด้วย
ทุก ๆ บท แล้วพึงประกอบความอีกว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา
ดังนี้ ในบทนอกจากนั้นก็นัยนี้. ก็เทศนาท่านย่อไว้ว่า คำที่กล่าวแล้วใน
บทเดียว ก็เป็นอันกล่าวแล้วในทุก ๆ บทแท้.
ก็ในบทว่า ขยา ราคสฺส วีตราคฺตา นี้ ความว่า เพราะเหตุที่
นักบวชนอกศาสนาเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม (แต่) ไม่ใช่
เพราะหมดราคะ ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
ในกาม เพราะความสิ้นราคะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ขยา ราคสฺส วีตราคฺติตา ดังนี้. แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้.
เหมือนอย่างว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราตถาคตกล่าวว่า
ปริญฺญาตํ ตสฺส ดังนี้ ย่อมได้ความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่สำคัญ

วัตถุนั้นหรือความสำคัญนั้น เพราะท่านได้กำหนดรู้แล้วฉันใด แม้ในที่นี้
ก็ฉันนั้น พระอรหันต์นั้นบัณฑิตเห็นว่า ย่อมไม่สำคัญวัตถุนั้น หรือ
ย่อมไม่สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น เพราะท่านหมดราคะแล้ว.
ก็ในบรรดาวาระเหล่านั้น วาระนี้ว่า ปริญฺญาตํ ตสฺส นี้ ท่าน
กล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งมรรคภาวนา. วาระนอกนี้ พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งผล.
อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญด้วยเหตุ 2 ประการ
เพราะความที่วัตถุท่านกำหนดได้แล้ว และเพราะอกุศลมูลท่านถอนขึ้น
ได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงการกำหนดรู้วัตถุของ
พระอรหันต์นั้นด้วยวาระแห่งปริญญา และแสดงการถอนขึ้นซึ่งอกุศลมูล
ด้วยวาระนอกนี้ ฉะนี้แล.
ในบรรดาวาระเหล่านั้น พึงทราบความแปลกกันในวาระ 3 ข้อ
ข้างปลายดังต่อไปนี้. พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกำหนัดใน
วาระทั้ง 3 นั้นแล้ว พิจารณาเห็นทุกข์อยู่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอัปปณิ-
หิตวิโมกข์ ย่อมมีราคะปราศจากไป เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ. ท่าน
เห็นโทษในโทสะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้หลุดพ้น
แล้วด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้มีโทสะปราศไป เพราะความสิ้นโทสะ.
ท่านเห็นโทษในโมหะ พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาอยู่ หลุดพ้นแล้ว
ด้วยสุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
หากมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลคนเดียวย่อมหลุดพ้นด้วย
วิโมกข์ 3 (คราวเดียวกัน) ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรกล่าว 2 วาระ
ไว้.

พึงตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่.
เพราะเหตุไร?
เพราะว่ายังมิได้กำหนดแน่นอน.
ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แน่นอนว่า โยปิ โส
ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ
ดังนี้ แต่หาตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นด้วย
อัปปณิหิตวิโมกข์ หรือหลุดพ้นด้วยวิโมกข์นอกนี้ ดังนี้ไม่. ฉะนั้น สิ่ง
ใดย่อมสมควรแก่พระอรหันต์ สิ่งนั้นทั้งหมดควรกล่าวแท้ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน พระอรหันต์ทุกรูป เมื่อกิเลสมี
ราคะเป็นต้นสิ้นไป ท่านก็เรียกว่า ผู้มีราคะไปปราศ เพราะราคะสิ้นไป
เหตุที่ท่านกำหนดรู้วิปริณามทุกข์. ท่านเรียกว่าผู้ปราศจากโทสะ เพราะ
โทสะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้ทุกข์ในทุกข์ ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะ
เพราะโมหะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้สังขารทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่
ท่านกำหนดรู้อิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโทสะ เพราะโทสะสิ้นไป เหตุที่
ท่านกำหนดรู้อนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโมหะ เพราะโมหะสิ้นไป
เหตุที่ท่านกำหนดรู้มัชฌัตตารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่
ท่านถอนราคานุสัยในสุขเวทนาเสียได้ ชื่อว่าปราศจากโทสะและปราศจาก
โมหะ ท่านถอนปฏิฆานุสัยและโมหานุสัยในทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา
เสียได้ ฉะนี้แล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความต่าง
กันนั้น จึงตรัสว่า ขยา ราคสฺส วีตราตฺตา ฯเปฯ ขยา โมหสฺส
วีตโมหตฺตา
ดังนี้.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ 3-4-5-6 ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

อธิบายคำว่า ตถาคต


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพ
ในวัตถุธาตุทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความ
เป็นไปของพระองค์เอง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตถาคโตปิ ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ 8 อย่างคือ (1) เรียกว่า
ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (2) เรียกว่า ตถาคต
เพราะอรรถว่า เสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (3) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (4) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (5) เรียกว่า ตถาคต เพราะ
ทรงเห็นแท้จริง, (6) เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (7)
เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง, (8) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า
ครอบงำ.

ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนี้


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาแล้ว อย่างนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงถึงการขวนขวาย
เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือน
อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี 1 ทรงพระนามว่า
สิขี 1 ทรงพระนามว่า เวสสภู 1 ทรงพระนามว่า กกุสันธะ 1 ทรง