เมนู

เสขบุคคล


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของปุถุชนซึ่งมี
ธรรมคือสักกายทิฏฐิทั้งหมดเป็นมูลในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้นดังพรรณนา
มาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงความเป็นไปของพระเสขบุคคลในวัตถุธาตุ
เหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขุ เสโข ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า โย เป็นคำขึ้นต้น. คำว่า โส เป็นคำแสดง
ไข. ปิ อักษร มีการประมวลมาเป็นอรรถ ดุจในประโยคว่า ธรรมแม้นี้
ไม่เที่ยง ดังนี้.
ก็ด้วย ปิ ศัพท์นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคล โดยความเสมอกัน
ทางอารมณ์ หาได้ประมวลมาโดยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่ แต่โดย
กำหนดอย่างต่ำ ได้แก่บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในที่นี้มุ่งเอาบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฐิ ความเสมอกันของบุคคลทั้ง 2 นั้นไม่มี แต่อารมณ์ของบุคคล
พวกแร (ผู้มีทิฏฐิวิบัติ) เป็นอย่างไร อารมณ์ของคนพวกหลังเหล่านี้
(ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคลโดยความเสมอกันแห่งอารมณ์ หา
ได้ประมวลมาด้วยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระเสขบุคคลที่จะพึง
กล่าว ในบัดนี้ ด้วยทำทั้งสิ้นนี้ว่า โยปิ โส. บทว่า ภิกฺขเว ภิกฺขู
นี้ มีนัยดังกล่าวนั้นแล.
บทว่า เสกฺโข ความว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ตอบว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะได้เสขธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่