เมนู

ที่สวยงามคือด้วยรัศมีกายอันโสภา จึงสง่างามดังทองแท่ง เปล่งแสงประกาย
อันเขาเก็บไว้ในหีบทองแท่งทึบ. ด้วยการกำหนดเอาสุภกิณหพรหมเหล่านั้น
(เป็นเกณฑ์) เป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของตติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย.
ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่)
ปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม สุภกิณหพรหม.

อธิบายเวหัปผลพรหม


ในวาระว่าด้วยเวหัปผลพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะหมายความว่า มีผลอันไพบูลย์
ท่านกล่าวว่าได้แก่พรหมชั้นจตุตถฌาน. ส่วนการอธิบายขยายความประกอบ
ในวาระทั้ง 3 นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภูตวาระนั่นแล.

อธิบายอภิภูพรหม


ในวาระว่าด้วยอภิภู พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ที่ชื่อวา อภิภูเพราะหมายความว่า ครอบงำ ถามว่า ครอบงำซึ่ง
อะไร ? ตอบว่าครอบงำซึ่งอรูปขันธ์ 4. คำว่า อภิภู นั่นเป็นชื่อของ
อสัญญีภพ. เหล่าเทพ (พรหม) อสัญญีสัตว์สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัป-
ผลพรหม (แต่ว่าแยก) สถิตอยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง (และ) ท่านบังเกิด
(ตายจากโลกมนุษย์) ด้วยอิริยาบถใด ก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นนั่นแล
ตราบอายุขัยคล้ายภาพจิตกรรม ในที่นี้ท่านหมายถึงเวหัปผลพรหม และ
อสัญญีสัตว์แม้ทั้งหมดนั้นด้วยคำว่า อภิภู. อาจารย์บางพวกยกย่องพรหมผู้
เป็นใหญ่ในชั้นนั้น ๆ (ว่าอภิภู) โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหม 1,000

ชื่อว่า อภิภู. แต่พึงทราบว่า คำกล่าวของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ถูก
เพราะพรหมผู้เป็นใหญ่นั้น ท่านระบุถือเอาด้วยศัพท์ว่า "พรหม"
แล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในวาระนี้ พึงทราบนัยแห่งการอธิบายขยายความว่า ปุถุชน
ได้สดับแล้วว่า พรหม อภิภู มีวรรณะ (สวยงาม) มีอายุยืน ดังนี้
แล้วเกิดความยินดีพอใจในพรหมอภิภูนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภู
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งจิต (ปรารถนา)
เพื่อให้ได้ (เกิดในพรหมอภิภู) ที่ตนยังไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ทำไฉน-
หนอ เราจะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมอภิภู ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา, อนึ่ง เมื่อสำคัญตนว่าเลวกว่า
(พรหมอภิภู) หรือสำคัญว่าพรหมอภิภู ดีกว่าตน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจมานะ เมื่อยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า
พรหมอภิภู เที่ยง ยั่งยืน ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภูด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจทิฏฐิ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.
สุทธาวาสภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงเทวโลกโดยลำดับอย่างนี้
ครั้นทรงแสดงสัญญีภพด้วยคำว่า อภิภู บัดนี้ เพราะเหตุที่กถาว่าด้วยวัฏฏกัป
และเทวดา คือ พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาสผู้ดำรงอยู่ใน
ฝ่ายวิวัฏฏกัป หรือเพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น มีอายุตั้ง 2,000 - 3,000 กัลป
ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นแม้ตลอดอสงไขยกัลปในกาลนั้น ภูมินั้น ว่างเปล่า
ภพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะ (กาลที่) พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อุบัติ

เท่านั้น) ดุจที่ประทับแรมมีไว้สำหรับพระราชาฉะนั้น และด้วยเหตุ
นั้นนั่นแหละ ภูมินั้น ท่านจึงมิได้จัดเป็นวิญญาณฐิติ ทั้งมิได้จัดเป็น
สัตตาวาส แต่ความสำคัญเหล่านี้มีอยู่ทุกเมื่อ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภูมิ
ของความสำคัญเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ละชั้นสุทธาวาสแล้วตรัสคำเป็นต้นว่า อากาสานญฺจายตนํ ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาสานญฺจายตนํ ได้แก่ขันธ์ 4
ที่เป็นกุศลวิบาก และกิริยาอันเป็นไปในอากาสานัญจายตนภูมินั้น. และ
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในภูมินั้นนั่นแหละ เพราะเหตุว่า
กถานี้เป็นการกล่าวถึงกำหนดภพ. ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้
ก็ในบรรดาวาระ 4 วาระนั่นแล การขยายความพึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในอภิภูวาระ และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ในข้อนี้ ย่อมใช้
ได้แม้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปชาบดีวาระ.

แก้บท ทิฏฺฐํ สุนํ มุตํ วิญฺญาตํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงที่ตั้งของความสำคัญ โตย
ประเภทมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิเป็นตันนั้น แม้โดยพิสดารอย่าง
นี้แล้ว ดังนี้ เมื่อจะประมวลแสดงประเภทแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3
อันนับเนื่องในสักกายทิฐิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความสำคัญทั้งหมด ด้วยเหตุ
4 อย่าง มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นเป็นต้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺฐํ
ทิฏฺฐโต
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐํ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยมังส-
จักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง. คำว่า ทิฏฺฐํ นั้นเป็นชื่อของรูปายตนะ. บรรดา