เมนู

วิสุทธิเทพ. พระราชา พระมเหสี และพระราชกุมาร ชื่อว่า สมมติเทพ.
เทพที่สูงกว่านั้น เริ่มตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราช ชื่อว่า อุปปัตติเทพ.
พระอรหัตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าท่าน
ประสงค์เอาอุปปัตติเทพ ก็อุปปัตติเทพเหล่านั้น จะเห็นว่าไม่แตกต่าง
กันก็หามิได้ คือเว้นมาร พร้อมบริษัท ในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
เสีย เทวดาชั้นกามาวจร 6 ชั้นที่เหลือ ท่านประสงค์เอาว่า เทพ ใน
ที่นี้. การพรรณนาเนื้อความทั้งหมดในข้อนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้
แล้วในภูตวาระนั่นแล.

ท้าวปชาบดีคือพญามาร


ก็ในบทว่า ปชาปติ นี้ มาร พึงทราบว่า ปชาบดี. แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า คำว่า ปชาปติ นี้ เป็นชื่อของท้าวมหาราชเป็นต้น ผู้
เป็นใหญ่กว่าเทวดาเหล่านั้น ๆ. คำนั้นท่านปฏิเสธไว้ในมหาอรรถกถาว่า
ไม่ถูก เพราะว่า มหาราชเป็นต้นเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วย เทว ศัพท์
นั่นเอง ส่วนพญามารนั่นแล ท่านประสงค์เอาว่า ปชาบดี ในที่นี้
โดยความเป็นใหญ่กว่า ปชา กล่าวคือหมู่สัตว์.
ถามว่า พญามารนั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน ? ตอบว่า ย่อมอยู่
ในเทวโลกชั้นปริมมิตวสวัตตี.
จริงอยู่ พญามารวสวัตตี ครองราชย์อยู่ในเทวโลกนั้น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า พญามารประทับครองความยิ่งใหญ่ในบริษัทของตน
ณ ส่วนหนึ่ง (ของเทวโลกนั้น) ดุจราชโอรสของพระราชาผู้เรืองนาม
ประทับอยู่ ณ ปลายแดนราชอาณาจักรฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ พึงทราบว่า
ท่านจัดเอาบริษัทมารเข้าไว้ด้วย มาร ศัพท์นั่นเอง. ส่วนในข้อนี้ ในนัย

แห่งการขยายความมีอธิบายดังนี้ ปุถุชนได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ซึ่งปชาบดี
ผู้มีผิวพรรณงาม มีอายุยืน มีความสุขมาก ย่อมใฝ่ฝันราชสมบัติด้วย
อำนาจแห่งตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งใจไว้เพื่อจะให้ส่งที่ตนยังไม่ได้โดย
นัยเป็นต้นว่า ทำไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งปชาบดี ชื่อว่า
ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา.
แต่เมื่อปุถุชนถึงความเป็นปชาบดีแล้ว ยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เรา
ย่อมเป็นใหญ่ เป็นอธิบดีกว่าปชาทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
ปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ.
แต่เมื่อปุถุชนสำคัญอยู่ว่า ปชาบดี เที่ยง ยั่งยืน หรือขาดสูญ พินาศ
หรือว่า ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร น้อมไปสู่ความประสบ
โชคดี โชคร้าย ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ 6 ชาตินั่นแล พึงทราบว่า
ชื่อว่า ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
แต่ในคำว่า ในปชาบดี นี้ ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิชนิด
หนึ่งนั่นแล ย่อมถูก. พึงทราบความเป็นไปแห่งความสำคัญนั้น อย่างนี้.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญว่า ธรรมเหล่าใด มีอยู่ในปชาบดี
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็น
ธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญว่า บาปย่อมไม่มีในปชาบดี กรรม
อันลามกทั้งหลาย ย่อมหาไม่ได้ในปชาบดีนั้น.
ในคำว่า ปชาปติโต นี้ ย่อมได้ความสำคัญแม้ทั้ง 3.
อย่างไร? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญข้อที่ตนหรือคน
อื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคารเกิดขึ้น หรือจากไปจากปชาบดี นี้เรียกว่า
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.

ก็เมื่อบุคคลนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญ
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความ
สำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะ.
ก็ในบทว่า ปชาปตึ เม นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาชนิดหนึ่งนั่นแล. และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึง
ทราบว่า ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า ของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า
ปชาบดีเป็นครูของเรา เป็นนายของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.

ความหมายของพรหม


ในบทนี้ว่า พฺรหฺมํ พฺรหฺมโต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ
อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคตก็ดี พราหมณ์ก็ดี
มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม.
จริงอยู่ ท้าวมหาพรหม ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยค
เป็นต้นว่า พรหม 1,000 2,000.
พระตถาคต ท่านก็เรียกว่า พรหม (ดัง). ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตนั่นแล.
พราหมณ์ ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า
พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุรอบคอบ
ผู้ถึงที่สุดแห่งโลก ผู้ก้าวล่วงภพทั้งปวง ผู้ไม่มีอาสวะ
ผู้ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ผู้กล่าวสัจจะ ผู้อันพรหม