เมนู

สัมปชัญญะ นิวรณ์ และสัมโพชฌงค์ แต่จะเกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ.
ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ย่อมเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐาน
แม้เหล่านั้น (มีอิริยาบถเป็นต้น) เพราะว่า พระโยคาวจรนี้ย่อมกำหนด
อย่างนี้ว่า อิริยาบถ 4 ของเรา มี หรือไม่มี สัมปชัญญะ 4 ของเรา มี
หรือว่าไม่มี นิวรณ์ 5 ของเรา มี หรือว่าไม่มี โพชฌงค์7 ของเรามี
หรือว่าไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐานทุกข้อ.

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน


บทว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ
หรือภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม.
บทว่า เอวํ ภเวยฺย ความว่า พึงเจริญ (สติปัฏฐาน ) ไป
ตามลำดับแห่งภาวนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่แรก.
บทว่า ปาฏิกงฺขํ แปลว่า พึงหวัง. อธิบายว่า มีแน่แท้.
บทว่า อญฺญา ได้แก่พระอรหัตตผล.
บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า หรือ เมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ คือยังไม่สิ้นไป.
บทว่า อนาคามิคา ได้แก่ความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่ศาสนธรรมเป็นเครื่อง
นำออกด้วยอำนาจ (ระยะเวลา) 7 ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นเข้าไปอีก จึงตรัสคำว่า ติฏฺฐนฺตุ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นต้น และธรรมทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ
เวไนยบุคคลผู้ (มีสติปัญญา) ปานกลางเท่านั้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์