เมนู

ผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารบ้าง ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อ
ให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนและนั่งเป็นต้น
บ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อม
ทราบชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วย
อรหัตตมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรนั้นกำหนด
โพชฌงค์ 7 ของตน หรือของบุคคลอื่นอย่างนี้แล้ว คือ กำหนด
โพชฌงค์ของตนตามกาล หรือโพชฌงค์ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้
ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้. ส่วนความเกิดขึ้น
และความดับไปในโพชฌงคบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจการเกิดและ
การดับของสัมโพชฌงค์ทั้งหลาย. คำอื่นจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.

อริยสัจในโพชฌงค์


ด้วยว่า ในโพชฌงคบรรพนี้ สติที่กำหนดโพชฌงค์ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดโพชฌงค์ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ
เป็นเช่น (กับที่กล่าวมาแล้ว) นั้นเหมือนกัน.
จบ โพชฌงคบรรพ

สัจจบรรพ


ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา ด้วยอำนาจโพฌงค์ 7 อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจสัจจะ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ปุน จปรํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาถูตํ ปชานาติ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมทราบชัดธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ยกเว้นตัณหา
ตามสภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ก็แลย่อมทราบชัดตัณหาเก่าที่เป็นตัวการณ์
ให้ทุกข์นั้นแลเกิด คือตั้งขึ้นตามสภาพเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย ย่อม
ทราบชัดพระนิพพาน คือความไม่เป็นไปของทุกข์และตัณหาทั้ง 2 ตาม
สภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ ย่อมทราบชัดอริยมรรคอันเป็นตัว
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำนิโรธให้แจ้ง ตามสภาพที่เป็นจริงว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยอริยสัจที่เหลือ ได้อธิบายให้
พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ 4
ของตนหรือของบุคคลอื่นแล้ว คือกำหนดสัจจะทั้ง 4 ของตนตามกาล หรือ
ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
ส่วนความเกิดขึ้นและความดับไปในจตุสัจจบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิดและความดับของสัจจะทั้ง 4 ตามสภาพที่เป็นจริง. คำอื่นจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

อริยสัจในอริยสัจ


ด้วยว่า ในจตุสัจจบรรพนี้ สติเครื่องกำหนดสัจจะ 4 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดสัจจะ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือเป็นเช่น