เมนู

การเกิดขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่สมถนิมิต ที่เป็นอัพยัคคนิมิต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ
การทำให้มากในสมถนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ( ปัจจัย) ให้สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น
สมถนิมิตเป็นสมถะด้วย ชื่อว่าเป็นอัพยัคคนิมิต เพราะหมายความว่า
ไม่ฟุ้งซ่านด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ คือการทำวัตถุให้สะอาด
หมดจด 1 การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ 1
ความเป็นผู้ฉลาดรั้นนิมิต 1 การยกจิตในสมัย
(ที่ควรยก) 1 การ
ข่มจิตในสมัย
(ที่ควรข่ม) 1 การทำจิตให้ร่าเริงในสมัย (ที่ควรทำ
จิตให้ร่าเริง ) 1 การเพ่งดูจิตเฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดู) 1
การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ 1 การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็น
สมาธิ 1 การพิจารณาฌานและวิโมกข์ 1 ความเป็นผู้น้อมไปใน
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม 11 ประการนั้น การทำวัตถุให้สะอาดหมดจด และ
การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว.
ความเป็นผู้ฉลาดในการเรียน กสิณนิมิต ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในนิมิต.