เมนู

สำหรับภิกษุผู้พิจารณาเห็นกิเลสที่ข่มได้แล้วด้วยสมาบัติว่า (กิเลส
เหล่านี้) ไม่ฟุ้งขึ้น เป็นเวลา 60 ปีบ้าง 70 ปีบ้างก็ดี ผู้
หลีกเว้นบุคคลผู้เศร้าหมองอันปรากฏชัดด้วยการไม่กระทำโดยความเคารพ
ในเมื่อได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นโพธิ์ และเห็นพระเถระ ผู้ชื่อว่าเป็นเช่น
กับฝุ่นละออง (ที่จับเกาะ) บนหลังคา เพราะไม่มีความเลื่อมใสและ
ความรักในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี ผู้คบหาบุคคลผู้ผ่องใส
มีจิตอันอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นก็ดี ผู้พิจารณาถึงพระสูตรอันก่อให้เกิดความเลื่อมใส แสดงคุณ
ของพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อให้เกิดปีติ ใน
อิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นได้.
ก็เมื่อปีติสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (แห่งปีติสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดขึ้นของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ การทำในใจโดยแยบคาย และการทำให้มาก
ในกายปัสสัทธินั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 7 ประการ คือ การบริโภคโภชนะอัน
ประณีต 1 การเสพสุขตามฤดู 1 การเสพสุขตามอิริยาบถ 1 ความ
เป็นผู้มีมัชฌัตตัปปโยคะ 1 การหลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับกระส่าย 1

การคบหาบุคคลผู้มีกายสงบ 1 ความเป็นผู้น้อมไปในปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
อธิบายว่า สำหรับภิกษุผู้บริโภคโภชนะ ที่เป็นสัปปายะ มีรส
กลมกล่อม ประณีตก็ดี ผู้เสพฤดู ที่เป็นสัปปายะในบรรดาฤดูหนาว
และร้อน และอิริยาบถ ที่เป็นสัปปายะในบรรดาอิริยาบถยืนเป็นต้นก็ดี
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น.
ส่วนภิกษุใดมีลักษณะนิสัยเป็นมหาบุรุษย่อมอดทนต่อฤดูและอิริยาบถ
ทั้งปวงได้ทีเดียว คำนี้ท่านไม่ได้กล่าวหมายเอาภิกษุนั้น.
สำหรับภิกษุใด มีฤดูและอิริยาบถที่เป็นสภาค (ที่เป็นสัปปายะ)
และวิสภาค ( อสัปปายะ) ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นนั่นแล ผู้แม้
เว้นฤดู และอิริยาบถ ที่เป็นวิสภาคเสีย แล้วเสพฤดูและอิริยาบถที่เป็น
สภาค.
การพิจารณาเห็นว่า ตน และบุคคลอื่น มีกรรมเป็นของตน
ท่านเรียกว่า มัชฌัตตัปปโยคะ ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะมัชฌัตตัปป-
โยคะนี้.
สำหรับภิกษุผู้หลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับกระส่าย ผู้เที่ยวเบียด-
เบียนบุคคลอื่นอยู่ตลอดเวลา ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ผู้คบหา
บุคคลผู้มีกายสงบ ผู้สำรวมมือและเท้าก็ดี ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไปเพื่อ
ให้เกิดปัสสัทธิในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนและนั่งเป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิย่อม
เกิดขึ้นได้.
ก็เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ย่อมมีด้วยอรหัตตมรรค).

การเกิดขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่สมถนิมิต ที่เป็นอัพยัคคนิมิต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ
การทำให้มากในสมถนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ( ปัจจัย) ให้สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น
สมถนิมิตเป็นสมถะด้วย ชื่อว่าเป็นอัพยัคคนิมิต เพราะหมายความว่า
ไม่ฟุ้งซ่านด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ คือการทำวัตถุให้สะอาด
หมดจด 1 การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ 1
ความเป็นผู้ฉลาดรั้นนิมิต 1 การยกจิตในสมัย
(ที่ควรยก) 1 การ
ข่มจิตในสมัย
(ที่ควรข่ม) 1 การทำจิตให้ร่าเริงในสมัย (ที่ควรทำ
จิตให้ร่าเริง ) 1 การเพ่งดูจิตเฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดู) 1
การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ 1 การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็น
สมาธิ 1 การพิจารณาฌานและวิโมกข์ 1 ความเป็นผู้น้อมไปใน
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม 11 ประการนั้น การทำวัตถุให้สะอาดหมดจด และ
การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว.
ความเป็นผู้ฉลาดในการเรียน กสิณนิมิต ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในนิมิต.