เมนู

พระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช กับ พระนางมหามายาเทวี
(และ) เป็นพระกนิษฐภาดาของพระเจ้าพี่ราหุล อันธรรมดาว่าเจ้าได้
เป็นชินบุตรเห็นปานนี้ จะมามัวเกียจคร้านอยู่ ไม่สมควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้แม้พิจารณาถึงความยิ่งใหญ่
ของเพื่อนสพรหมจารีอย่างนี้ว่า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และ
พระอสีติมหาสาวก แทงตลอดโลกุตตรธรรม ด้วยความเพียรโดยแท้
เจ้าจักดำเนินไปตามทางของเพื่อนสพรหมจารีเหล่านั้น หรือจักไม่ดำเนิน
ตาม.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้หลีกเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
สลัดทิ้งความเพียรทางกายและทางจิต ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือม อึดอัด
เพราะกินเหยื่อจนเต็มท้อง แก่ภิกษุผู้คบหาบุคคลผู้มีตนตั้งมั่น ปรารภ
ความเพียร ทั้งแก่ภิกษุผู้มีจิตน้อม โน้ม นำไป เพื่อให้เกิดความเพียร
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น.
ก็เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (แห่งวิริยสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยพระอรหัตตมรรค.

การเกิดขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์


ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และการทำให้มากในธรรม นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เพื่อให้ปีติสัม-
โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือเป็นไปเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่

ในพระพุทธพจน์นั้น ปีตินั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติ-
สัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจ ที่ให้ปีติสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น ชื่อว่าการ
ทำไว้ในใจโดยแยบคาย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ คือ พุทธานุสสติ 1 ธัมมา-
นุสสติ 1 สังฆานุสสติ 1 สีลานุสสติ 1 จาคานุสสติ 1 และเทวตา-
นุสสติ 1 อุปสมานุสสติ 1 การหลีกเว้นบุคคลผู้เป็นโทษ 1 การคบหา
บุคคลผู้เป็นคุณ 1 การพิจารณาถึงพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใส 1 ความเป็นผู้น้อมไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น 1.
ย่อมเป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์.
อธิบายว่า สำหรับภิกษุผู้แม้หมั่นระลึกถึงพระพุทธคุณ ปีติ-
สัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วร่างจนถึงอุปจารสมาธิ. สำหรับภิกษุ
ผู้หมั่นระลึกถึงพระธรรมคุณ พระสังฆคุณก็ดี ผู้พิจารณาถึงจตุปาริสุทธิ-
ศีล
ที่รักษาไว้ไม่ขาด ตลอดกาลนานก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมเกิด
ขึ้นได้.
แม้สำหรับคฤหัสถ์ ผู้พิจารณาถึงศีล 10 ศีล 5 ก็ดี ผู้ถวาย
โภชนะอันประณีต แก่ท่านผู้เป็นสพรหมจารี ในคราวเกิดทุพภิกขภัย
เป็นต้น แล้วพิจารณาถึงการบริจาค (ของตน) ว่า เราได้ถวายอย่างนี้
ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้.
อนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ผู้พิจารณาถึงทาน ที่ถวายแก่ท่านผู้มีศีล ใน
การเช่นนี้ก็ดี ผู้พิจารณาเห็นว่าเทวดาประกอบด้วยคุณเหล่าใด จึงถึง
ความเป็นเทวดา คุณเหล่านั้น มีอยู่ในตนก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด
ขึ้นได้.

สำหรับภิกษุผู้พิจารณาเห็นกิเลสที่ข่มได้แล้วด้วยสมาบัติว่า (กิเลส
เหล่านี้) ไม่ฟุ้งขึ้น เป็นเวลา 60 ปีบ้าง 70 ปีบ้างก็ดี ผู้
หลีกเว้นบุคคลผู้เศร้าหมองอันปรากฏชัดด้วยการไม่กระทำโดยความเคารพ
ในเมื่อได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นโพธิ์ และเห็นพระเถระ ผู้ชื่อว่าเป็นเช่น
กับฝุ่นละออง (ที่จับเกาะ) บนหลังคา เพราะไม่มีความเลื่อมใสและ
ความรักในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี ผู้คบหาบุคคลผู้ผ่องใส
มีจิตอันอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นก็ดี ผู้พิจารณาถึงพระสูตรอันก่อให้เกิดความเลื่อมใส แสดงคุณ
ของพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อให้เกิดปีติ ใน
อิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นได้.
ก็เมื่อปีติสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (แห่งปีติสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดขึ้นของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ การทำในใจโดยแยบคาย และการทำให้มาก
ในกายปัสสัทธินั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 7 ประการ คือ การบริโภคโภชนะอัน
ประณีต 1 การเสพสุขตามฤดู 1 การเสพสุขตามอิริยาบถ 1 ความ
เป็นผู้มีมัชฌัตตัปปโยคะ 1 การหลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับกระส่าย 1