เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการอารักขาเป็นเครื่อง
ปรากฏ. เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้.
การเว้นให้ห่างไกล ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทราม คือ ผู้มีปัญญาไม่
หยั่งลงในธรรมประเภทมีขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าการเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
การคบหาบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับที่กำหนดลักษณะ (ความเกิดความดับ) 50 ถ้วน ชื่อว่าการ
คบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้ง ที่เป็น
ไปแล้วในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง ชื่อว่าการพิจารณาความเป็นไปแห่ง
ญาณอันลึกซึ้ง. ความที่จิตโน้มน้อมและโอนไปเพื่อให้ธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ตั้งขึ้น ในอิริยาบถนั่ง และอิริยามถนอมเป็นต้น ชื่อว่าความ
น้อมจิตไปในธันมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. เธอรู้ชัดว่า ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ จะมีการให้ภาวนาบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

การเกิดของวิริยสัมโพชฌงค์


วิริยสัมโพชฌงค์มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
อารัพภธตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และการกระทำให้มากในอารัพภธาตุเป็นต้นนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย )
จะเป็นไปเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิริยสัม-
โพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ คือการพิจารณาเห็นภัยใน
อบาย 1 การเห็นอานิสงส์ 1 การพิจารณาเห็นทางดำเนินไป 1 การ
ประพฤติอ่อนน้อมต่อบิณฑบาต 1 การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่
โดยความเป็นทายาท 1 การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่ของพระ
ศาสดา 1 การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่โดยชาติ 1 การพิจารณา
เห็นควานเป็นใหญ่โดยเป็นเพื่อนสพรหมจารี 1 การเว้นบุคคลผู้เกียจ-
คร้าน 1 การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร 1 ความเป็นผู้มีจิตน้อม
ไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น 1
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งวิริยสัม-
โพชฌงค์.
ในธรรม 1 ประการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เราไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ในเวลาเสวยทุกข์อย่าง
ใหญ่หลวง จำเดิมแต่ต้องกรรมกรณ์ด้วยเครื่องจองจำครบ 5 ประการใน
นรกทั้งหลายก็ดี ในเวลาถูกจับด้วยเครื่องจับสัตว์น้ำ มีการทอดแห และ
ดักไซเป็นต้น และในเวลาที่ลากเกวียนเป็นต้นไป ของสัตว์ผู้ถูกบังคับ
ด้วยการแทงด้วยปฏัก และตีด้วยเรียวหนามเป็นต้น ในกำเนิดเดียรัจฉาน
ก็ดี ในเวลาอาดูรด้วยความหิว ความกระหาย เป็นเวลาหลายพันปีบ้าง
พุทธันดรหนึ่งบ้าง ในวิสัยแห่งเปรตก็ดี. ในเวลาเสวยทุกข์ มีลมและ
แดดเป็นต้น ด้วยอัตภาพที่มีเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น (สูง) ประมาณ
60 ศอก และ 80 ศอก ในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกะก็ดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เวลานี้นั่นแหละเป็นเวลาที่เธอจะบำเพ็ญความเพียร1 แม้เมื่อ
1. ปาฐะว่า กาโลติ เอวํ ฉบับพม่าเป็น กาโล วิริยกรณายาติ เอวํ แปลตามฉบับพม่า.

เธอพิจารณาเห็นภัยในอบายดังที่พรรณนามานี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็จะเกิด
ขึ้น.
วิริยสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้น แม้แก่ผู้เห็นอานิสงส์ ( ของความ
เพียร) อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านไม่อาจจะได้ นวโลกุตตรธรรม คน
ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงอาจได้ นี้เป็นอานิสงส์ของวิริยะ.
วิริยสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาเห็นทางดำเนินอย่างนี้
ว่า เธอพึงเดินทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหา
สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ได้เสด็จดำเนินไปและเดินไปแล้ว และ
ทางนั้นคนเกียจคร้านไม่อาจจะดำเนินไปได้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความยำเกรง
ซึ่งบิณฑบาต เหมือนที่เกิดขึ้นแก่พระมหามิตตเถระอย่างนี้ว่า เหล่าชนผู้
บำรุงท่านด้วยปัจจัย มีบิณฑบาตเป็นต้นเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติของท่านเลย
ไม่ใช่ทาสกรรมกรของท่านทั้งเขาไม่ได้ให้บิณฑบาตเป็นต้นอันประณีต แก่
ท่านด้วยคิดว่า พวกเราจักดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยท่าน โดยที่แท้เขาหวังว่า
สักการะของตนจะมีผลมาก จึงพากันถวาย แม้พระศาสดา ก็มิได้ทรง
เห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ ฉันปัจจัยเหล่านี้แล้ว จักเป็นผู้มีกายมั่นคงมาก
อยู่อย่างสบาย ได้ทรงอนุญาตไว้แก่ท่าน โดยที่แท้ทรงอนุญาตปัจจัย
เหล่านั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ภิกษุนี้เมื่อบริโภคปัจจัยเหล่านี้ จัก
บำเพ็ญสมณธรรมแล้วพ้นจากทุกข์ บัดนี้ เธอเกียจคร้านอยู่ จักไม่
ยำเกรงบิณฑบาตนั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ความยำเกรงบิณฑบาตจะมีแก่
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น.

เรื่องพระมหามิตตเถระ


ได้ทราบว่า พระเถระ อาศัยอยู่ในที่ชื่อว่า กัสสกเลณะ และ
มหาอุบาสิกาคนหนึ่ง ในโคจรคาม ของพระเถระนั้น ได้ปฏิบัติพระเถระ
อย่างลูกชาย. วันหนึ่ง นางเมื่อจะเข้าป่าได้บอกลูกสาวว่า แม่หนู ข้าวเก่า
อยู่ในที่โน้น น้ำนมอยู่ที่โน้น เนยใสอยู่ที่โน้น น้ำอ้อยอยู่ที่โน้น ใน
เวลาที่คุณมิตร พี่ชายของเจ้ามา เจ้าจงหุงข้าวถวายพร้อมกับ นม
เนยใส และน้ำอ้อย เจ้าก็ควรกินด้วย ส่วนแม่ เมื่อวานกินข้าวตังกับ
น้ำผักดอง.
ลูกสาวถามว่า กลางวันแม่จะกินอะไรเล่าแม่ ?
เจ้าจงเอาข้าวป่น (ปลายข้าว) ต้มให้เป็นข้าวยาคูเปรี้ยว เติมผักดอง
ลงไป ตั้งไว้เถิดลูก แม่บอก.
พระเถระห่มจีวร แล้วนำบาตรออก ได้ยินเสียงนั้นแล้วกล่าวสอน
ตนว่า ได้ยินว่า มหาอุบาสิกาบริโภคข้าวดังกับน้ำผักดอง แม้ตอน
กลางวัน จักต้องบริโภคข้าวยาคูเติมน้ำผักดองอีก. แม่บอก (ให้หุง)
ข้าวเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่เจ้า ก็แลนางไม่ได้ปรารถนา นา สวน
ภัตร ผ้า เพราะอาศัยเธอ แต่ปรารถนาสมบัติ 3 จึงถวาย เจ้าจัก
สามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่เธอ หรือว่าจักไม่สามารถ ก็แลบิณฑบาต
นี้ อันเจ้าผู้ยังมีราคะ โทสะ และโมหะ ไม่สามารถจะรับได้ จึงเก็บ
บาตรเข้าถุง ปล่อยเงื่อนงำไว้ กลับไปยังกัสสกเลณะตามเดิม เก็บ
บาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้บนราวจีวร คิดว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต
แล้ว จักไม่ออกไป นั่งบำเพ็ญเพียรแล้ว ท่านไม่ประมาท เป็นพระ
เก็บตัวอยู่อย่างไม่ประมาทตลอดกาลนาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต