เมนู

ตนะที่ตรัสไว้แล้วในรูปขันธ์ แห่งอายตนะในบรรดาอรูปายตนะทั้งหลาย
ที่ตรัสไว้ในวิญญาณขันธ์ แห่งธรรมายตนะ ที่ตรัสไว้ในขันธ์ที่เหลือว่า
เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิด. ไม่ควรหมายถึงโลกุตตรธรรม. คำต่อ
แต่นี้ไป มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

อริยสัจในอายตนะ


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดอายตนะ ในอายตนบรรพนี้ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วทราบมุขคือข้อปฏิบัติที่
เป็นเหตุนำออก (จากทุกข์) แห่งภิกษุผู้กำหนดถืออายตนะเป็นอารมณ์.
คำที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกันแล.
จบ อายตนะบรรพ

โพชฌงคบรรพ


[144] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนา โดย
อายตนะที่เป็นไปในภายในและภายนอกอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกโดยโพชฌงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โพชฺฌงฺเคสุ ได้แก่องค์แห่งบุคคลผู้
ข้องอยู่ในการตรัสรู้.
บทว่า สนฺตํ ได้แก่มีอยู่โดยการกลับได้.
บทว่า สติสมฺโพชฺณงฺคํ ได้แก่องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้
กล่าวคือสติ.

ความหมายของสัมโพธิ


อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้พร้อมสรรพในธรรมทั้ง 7 นี้ จำเดิม
แต่ปรารภวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 7 นั้นจึงชื่อว่า สัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้น. ตื่น คือลุกขึ้นจากกิเลสนิทรา หรือ
แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยธรรมสามัคคี 7 ประการใด มีสติเป็นต้น
ธรรมสามัคคีนั้น ชื่อว่า สัมโพธิ. ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งสัมโพธิธรรมหรือสัมโพธิธรรมสามัคคีนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สัมโพชฌงค์ กล่าวคือสติ. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็พึงทราบ
อรรถพจน์โดยนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อสนฺตํ ความว่า ไม่มีโดยการไม่กลับได้. ก็ในบททั้งหลาย
มีอาทิว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การเกิดของสติสัมโพชฌงค์


อันดับแรก สติสัมโพชฌงค์ จะมีการขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ การกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย และการกระทำให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
(ปัจจัย) ย่อมเป็นไป เพื่อให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง
เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้วบ้าง. เมื่อสตินั้นมีอยู่นั่นเอง ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังกล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่อ
พระโยคาวจรยังโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปในธรรมเหล่านั้นบ่อยครั้งเข้า
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.