เมนู

เหลือ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
จบ ขันธบรรพ

อายตนบรรพ


[143] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนาโดย
เบญจขันธ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอายตนะ จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ปุน จปรํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ
ได้แก่อายตนะภายใน 6 เหล่านี้คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
(และ) อายตนะภายนอก 6 เหล่านั้นคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์.

บทว่า จกฺขุํ จ ปชานาติ ได้แก่รู้จักขุปสาท โดยลักษณะแห่งกิจ
ตามความเป็นจริง.
บทว่า รูเป จ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรูปที่มีสมุฏฐาน 4 อย่าง
ภายนอกด้วย โดยลักษณะแห่งกิจตามความเป็นจริง.
ข้อว่า ยญฺจ ตทุภยํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชาติ สญฺโญชนํ ความว่า
ก็เพราะอาศัยอายตนะทั้ง 2 อย่าง คือทั้งตาด้วย ทั้งรูปด้วยสังโยชน์ 10 อย่าง
คือ กามราคสังโยชน์, ปฏิฆะ, มานะ, ทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพต-
ปรามาส, ภวราคะ, อิสสา, มัจฉริยะ
และอวิชชา สังโยชน์อันใด
ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดสังโยชน์นั้น โดยลักษณะตามความเป็นจริงด้วย.

การเกิดของสังโยชน์


ถามว่า ก็สังโยชน์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
แก้ว่า จะกล่าวในจักษุทวารก่อน เมื่อเธอชอบใจเพลิดเพลินยินดี
อิฏฐารมณ์ที่มาสู่คลอง (จักษุ) ด้วยอำนาจแห่งความพอใจในอิฏฐารมณ์
กามราคสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อโกรธในเพราะอนิฏฐารมณ์ ปฏิฆสังโยชน์
จะเกิดขึ้น. เมื่อสำคัญว่า นอกจากเราแล้วไม่มีใครอื่นจะสามารถสำแดง
อารมณ์1นี้ให้แจ่มแจ้งได้ มานสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อยึดถือว่า รูปารมณ์นี้2
เที่ยง ยั่งยืน ทิฏฐิสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อสงสัยว่า รูปารมณ์นี้2 เป็น
สัตว์หรือหนอ หรือเป็นของสัตว์ วิจิกิจฉาสังโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อ
ปรารถนาภพว่า ภพ ( การเกิด ) นี้มิใช่3จะหาได้ง่าย ในสัมปัตติภพเลย
ภวราคสังโยชน์4 จะเกิดขึ้น, เมื่อยึดมั่นศีลและพรตว่า เราสมาทานศีล
และพรตแบบนี้แล้วอาจจะได้ (บรรลุคุณวิเศษ) ต่อไป สีลัพพต-
ปรามาสสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อริษยาว่า ไฉนหนอ คนอื่น ๆ จึงจะไม่
ได้รูปารมณ์นี้ อิสสาสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อตระหนี่รูปารมณ์อันตนได้
แล้วต่อผู้อื่น มัจฉริยสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อไม่รู้ โดยไม่รู้ธรรมที่เกิด
ขึ้นพร้อมกับธรรมเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแหละ อวิชชาสังโยชน์จะเกิดขึ้นได้.
บทว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า สังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง
นั้น ที่ยังไม่ได้เกิด จะเกิดขึ้นด้วยเหตุ คือด้วยการไม่ฟุ้งขึ้นอันใด เธอ
รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
1. ปาฐะว่า เอกํ ฉบับพม่าเป็น เอตํ แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า เอวํ ฉบับพม่าเป็น เอตํ แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า สมฺปตฺติภเว อตฺตโน พม่าเป็น สมฺปตฺติภเว วน โต แปลตามฉบับพม่า.
4. ปาฐะว่า ภวสํโยชน์ ฉบับพม่เป็น ภวราคสํโยชนํ แปลตามฉบับพม่า.