เมนู

ธรรมในธรรมทั้งหลายของตน หรือในธรรมทั้งหลายของผู้อื่น คือในธรรม
ทั้งหลายของตนตามกาล (ที่เหมาะสม) หรือของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะ
สม) ด้วยการกำหนดเห็นนิวรณ์ 5 อย่างนี้อยู่.
แต่ในนิวรณบรรพนี้ พระโยคาวจรควรนำความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมออกไปด้วยอโยนิโสมนสิการ หรือโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตเป็นต้น
โดยนัยที่ตรัสไว้แล้วในนิวรณ์ 5. ข้อความต่อจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล.

อริยสัจในนิวรณ์


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดนิวรณ์ ในนิวรณบรรพนี้ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงประกอบความดังที่พรรณหามานี้ แล้วทราบมุข
แห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กำหนดนิวรณ์เป็นอารมณ์
ข้อความที่เหลือก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแล.
จบ นิวรณบรรพ

ขันธบรรพ


[142] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนาโดย
นิวรณ์ 5 อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยเบญจขันธ์ จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ปุน จปรํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ ความว่า กอง
แห่งอุปาทาน ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ อธิบายว่า กลุ่มแห่งธรรมคือกองแห่ง
ธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ชื่อว่าธัมมราสี ความสังเขปในเบญจขันธ์

นี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารเรื่องขันธ์กล่าวไว้แล้วในคันภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ รูปํ ความว่า รู้รูปโดยสภาวะว่า นี้รูป รูปเท่านี้
รูปอื่นจากนี้ไม่มี. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ความสังเขปใน
คำนี้มีเท่านี้. ส่วนโดยพิสดาร รูปเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้วในเรื่องขันธ์
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแหละ.
บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดแห่งรูปโดย
อาการ 5 โดยมีอวิชชาเป็นที่เกิดเป็นต้นอย่างนี้.
บทว่า อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม ความว่า ความดับแห่งรูป โดย
อาการ 5 โดยมีความดับแห่งอวิชชาเป็นต้นอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้ ส่วนความพิสดารกล่าวไว้
แล้วในเรื่องอุทยัพพยญาณ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย ไม่ว่าของตนหรือของคนอื่น ไม่ว่าตามกาลของตนหรือคนอื่น
ด้วยการกำหนดเบญจขันธ์เป็นอารมณ์อย่างนี้อยู่. ก็ในคำนี้สมุทยธรรม
และวยธรรม พึงยกขึ้นพิจารณาลักษณะ 50 ที่ท่านกล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย
มีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด. ต่อจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.

อริยสัจในเบญจขันธ์


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดขันธ์เป็นอารมณ์ ในขันธบรรพนี้ เป็น
ทุกขสัจอย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วพึงทราบมุขคือ
ข้อปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดถือขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่