เมนู

4 - 5 คำ (แต่เธอก็อดเสีย) แล้วดื่มน้ำแทน เป็นประจำก็ดี กามฉันทะ
อันเธอย่อมละได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
(เหลืออีก) 4 - 5 คำจะอิ่ม พระโยคาวจรอย่าฉัน
ควรดื่มน้ำแทน (เพราะว่า) เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอ
จะอยู่อย่างสำราญ สำหรับภิกษุผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.

แม้เมื่อพระโยคาวจรคบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในอสุภภาวนา เช่น
พระติสสเถระผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน กามฉันทะอันเธอย่อมละได้ เธอย่อม
ละกามฉันทะได้ แม้ด้วยการสนทนาถึงที่เป็นสัปปายะอันอาศัยอสุภะ 10
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ. ก็พระโยคาวจร
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม 6 ประการนี้ ย่อมจะเกิด
ขึ้นไม่ได้อีกต่อไปด้วยอรหัตตมรรค.

อธิบายปฏิฆนิมิต


อนึ่ง เพราะการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิต พยาบาท
ย่อมเกิดขึ้นได้. ในปฏิฆะนิมิตนั้น ได้แก่ปฏิฆนิมิตที่เป็นปฏิฆะบ้าง
ปฏิฆนิมิตที่มีปฏิฆะเป็นอารมณ์บ้าง. การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
มีลักษณะอย่างเดียวกันในทุกแห่งแล. เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ใน
ใจโดยไม่แยบคายนั้นให้เป็นไปในนิมิตนั้นมากครั้งเข้า พยาบาทย่อมเกิด
ขึ้นได้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่ ปฏิฆนิมิตการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และกระทำมากครั้ง ใน
ปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น

ได้บ้าง ให้พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วไพบูลย์ยิงขึ้นบ้าง. ก็การละพยาบาทนั้น
ย่อมมีได้ด้วยการทำเมตตาเจโตวิมุติไว้ในใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโต-
วิมุตินั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมตตาย่อมควรทั้งอัปปนาสมาธิ
ทั้งอุปจารสมาธิ เมื่อตรัสว่า เจโตวิมุติย่อมควรเฉพาะอัปปนาอย่างเดียว
การทำ (เมตตาเจโตวิมุติ) ไว้ในใจโดยแยบคาย มีลักษณะดังกล่าวมา
แล้วแล เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ให้เป็นไป
ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น มากครั้งเข้า เธอก็ย่อมละพยาบาทได้.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
เมตตาเจโตวิมุติ การทำไว้ในใจโดยแยบคายและการทำให้มากในเมตตา
เจโตวิมุตินั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ไม่ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
บ้าง ให้ละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ละพยาบาทด้วยธรรม 6 ประการ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ
การเรียนเมตตานิมิต 1 การบำเพ็ญเมตตาภาวนา 1 การพิจารณาว่า
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน 1 ความเป็นผู้มากด้วยการพิจารณา 1
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร 1 การสนทนาถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ 1.

อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรแม้เรียนเมตตาอยู่ ด้วยอำนาจการแผ่
ไปโดยเจาะจงทิศ และไม่เจาะจงทิศ อย่างใดอย่างหนึ่ง พยาบาทอันเธอ
ย่อมละได้.
แม้เมื่อพระโยคาวจรเจริญเมตตา โดยแผ่ไปสู่ทิศโดยเจาะจง พยาบาท