เมนู

แก้จิตตานุปัสสนา


[140] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสติปัฏฐาน คือ เวทนานุ-
ปัสสนา โดยอาการ 9 อย่าง ๆ นี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนาโดย
อาการ 16 อย่าง จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สราคํ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ
8 อย่าง.
บทว่า วีตราคํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะและอัพยากตจิตะ ก็จิต
ที่ปราศจากราคะนี้ ในจิตตานุปัสสนานี้ ไม่ได้หมายถึงโลกุตตรจิตแม้
ในบทหนึ่ง เพราะการพิจารณาไม่ใช่เป็นการประชุมธรรม (ส่วน)
อกุศลจิต 4 ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโทสํ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง.
บทว่า วีตโทสํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
อกุศลจิต 10 ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโมหํ ได้แก่อกุศลจิต 2 ดวง คือ อกุศลจิตที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา 1 ดวง อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ 1 ดวง.
ก็เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทุกดวง ฉะนั้นอกุศลจิตทั้งหมด
แม้นั้น จึงเหมาะ (ที่จะจัดเข้า) ในจิตตานุปัสสนานี้ โดยแท้ทีเดียว.
จริงอยู่ ในจิตที่เป็นคู่กันนี้แหละ ท่านจัดอกุศลจิต 12 ดวง เข้าไว้แล้วแล.
บทว่า วีตโมหํ ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
บทว่า สงฺขิตฺตํ ได้แก่จิตที่ตกไปตามถีนมิทธะ, ก็จิตที่ตกไปตาม
ถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่.

บทว่า วิกฺขิตฺตํ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ก็จิตที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะนั้น ชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน.
บทว่า มหคฺคตํ ได้แก่รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต.
บทว่า อมหคฺคตํ ได้แก่กามาวจรจิต.
บทว่า สอุตฺตรํ ได้แก่กามาวจรจิต.
บทว่า อนุตฺตรํ ได้แก่รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต.
อนึ่ง ในบททั้ง 2 ว่า สอุติตรํ อนุตฺตรํ นั้น สอุตตรจิต ได้แก่
รูปาวจรจิต อนุตตรจิต ได้แก่อรูปาวจรจิตนั่นเอง.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่จิตที่มีอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาหิตํ ได้แก่จิตที่ไม่มีสมาธิทั้ง 2.
บทว่า วิมุตฺตํ ได้แก่จิตที่หลุดพ้นแล้ว ด้วยตทังควิมุติ และ
วิกขัมภนวิมุติ.
บทว่า อวิมุตฺตํ ได้แก่จิตที่ไม่มีวิมุติทั้ง 2.
ส่วน สมุจเฉทวิมุติ ปฏิปัสสัทธิวิมุติ และนิสสรณวิมุติ ไม่มี
โอกาส (ไม่ได้พูดถึง) ในจิตตานุปัสสนานี้เลย.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร เมื่อกำหนด
จิตที่เป็นไปอยู่ทุกขณะ ด้วยการกำหนดจิต มีสราคจิตเป็นต้นอยู่อย่างนี้
ชื่อว่า มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตของตน หรือในจิตของผู้อื่นอยู่ (บ้าง)
ชื่อว่า มีปกติตามเห็นจิตในจิตของตน ตามกาล หรือในจิตของบุคคล
อื่นตามกาลอยู่ (บ้าง).
ส่วนในบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี (มีปกติตามเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไป ) นี้ควรขยายความเกิดและความดับของ

วิญญาณออกเป็นอย่างละ 5 อาการ อย่างนี้ คือ เพราะอวิชชาเถิด
วิญญาณจึงเกิดเป็นต้น. คำนี้อกจากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อริยสัจในจิตตานุปัสสนา


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดจิตในจิตตานุปัสสนานี้ เป็นทุกขสัจอย่างเดียว
บัณฑิตพึงทราบมุขแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้กำหนดจิต ตาม
ที่ได้อธิบายนาอย่างนี้แล. คำที่เหลือ (มีความหมาย) เช่น (กับที่กล่าว
มา) นั้นแล.
จบ จิตตานุปัสสนา

แก้ธรรมานุปัสสนา


[141] ครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยอาการ 16 อย่าง
ดังพรรณนามานี้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมานุปัสสนาโดยอาการ 5
อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปล้วน ๆ
ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดนานล้วน ๆ ด้วยเวทนานุปัสสนา และ
จิตตานุปัสสนา บัดนี้ เพื่อจะต้องการกำหนดรวมกันทั้งรูปและนาม จึง
ตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะการกำหนดรูปขันธ์
ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสเฉพาะการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา
ตรัสเฉพาะการกำหนดวิญญาณขันธ์ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัส
การกำหนดวิญญาณขันธ์ และสังขารขันธ์บ้าง จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น.