เมนู

ในรัฏฐปาลสูตร ในมาคัณฑิยสูตร ในธาตุวิภังคสูตร ในอาเนญช-
สัปปายสูตร
ในมหานิพพานสูตร ในสักกปัญูหสูตร ในมหาสติ-
ปัฏฐานสูตร
ในทีฆนิกาย ในจุลลนิทานสูตร ในรุกโขปมสูตร ใน
ปริวิมังสนสูตร และในเวทนาสังยุต ทั้งหมดในสังยุตตนิกาย และแม้
ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงโดยตรัสบอก
รูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว จึงทรงยังรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจ
แห่งเวทนาในภายหลัง เหมือนในพระสูตรเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น มีปริยายแห่งการรู้ชัด (เวทนา) แม้อีกอย่าง
หนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-

สุขเวทนาแปรปรวน


ข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ความว่า เพราะไม่มี
ทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา พระโยคาวจรเมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เรากำลังเสวยสุขเวทนา. เวทนาชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะทุกขเวทนาที่เคยเสวยมาก่อน ใน
บัดนี้ ไม่มีแล้ว และเพราะสุขเวทนานี้ก่อนแต่นี้ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรจึงเป็นอันรู้ชัด ในสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ด้วยคำว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ นั้น.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ว่า :-
ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่
ในสมัยนั้นจะไม่เสวยทุกขเวทนา จะไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ในสมัยนั้นเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ดูก่อนอัคคิเวสนะ
ในสมัยใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา

อยู่ ในสมัยนั้นจะไม่เสวยสุขเวทนาเลย ในสมัยนั้นเสวยแต่
อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียว ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้สุข-
เวทนาเอง ก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายความกำหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา
แม้ทุกขเวทนาเอง ฯลฯ ดูก่อนอัคคิเวสนะ ถึงอทุกขมสุข-
เวทนาเองก็ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อน
อัคคิเวสนะ พระอริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในสุขเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในทุกขเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อม
คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น
แล้ว ก็รู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัด ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจที่ควร
ทำอย่างอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มี.
ในคำว่า สามิสํ วา สุขํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
โสมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)
6 อย่าง เจือด้วยอามิสคือ เบญจกามคุณ ชื่อว่า สามิสสุขเวทนา.
โสมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เนกขัมมะ 6 อย่าง ชื่อว่า
นิรามิสสุขเวทนา.
โทมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)
6 อย่าง ชื่อว่า สามิสทุกขเวทนา โทมนัสสเวทนา ที่อาศัย (เกิดมา
จาก) เนกขัมมะ 6 อย่าง ชื่อว่า นิรามิสทุกขเวทนา.
อุเบกขาเวทนาที่อาศัย (เกิดนาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)

6 อย่าง ชื่อว่า สามิสอทุกขมสุขเวทนา.
อุเบกขาเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เนกขัมมะ 6 อย่าง ชื่อว่า
นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา การจำแนกเวทนาเหล่านั้น มาชัดแล้วใน
พระบาลี ในอุปุริปัณณาสก์.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของคนหรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่น คือ
ในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล หรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่นตาม
กาลอยู่.
ก็ในบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ พึงทราบความว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของเวทนาทั้งหลาย ด้วย
อาการ 5 มีอาทิคือ เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด ชื่อว่า มีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือมีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ คือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายตามกาลหรือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่. คำนอกเหนือจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นเอง.

อริยสัจในเวทนา


ก็สติเป็นเครื่องกำหนดเวทนาในเวทนานุปัสสนา นี้เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้กำหนด
เวทนาเพราะอธิบายประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ เป็นเช่น
(คำที่กล่าวมาแล้ว) นั้นแล.
จบ เวทนานุปัสสนา