เมนู

ในเมื่อสุขและทุกข์หมดไป.
เปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนนายพรานเนื้อ ตามรอยเนื้อตัวที่กระโดดขึ้นพลาญหิน
ในระหว่างทาง แล้วหนีไปได้ (เขา) เห็นรอยเท้า ทั้งฟากนี้ ทั้งฟากโน้น
ของพลางหิน แม้จะไม่เห็น (รอยเท้า) ตรงกลาง (บนพลาญหิน)
ก็ทราบได้โดยนัยว่า เนื้อตัวที่ขึ้นทางฟากนี้ แล้วไปลงทางฟากโน้น
คงจะผ่านไปด้านนี้บนพลาญหินตรงกลาง ฉันใด ความเกิดขึ้น แห่ง
สุขเวทนา ก็ฉันนั้น จะปรากฏเหมือนรอยเท้า (ของเนื้อปรากฏ) ในที่
ที่มันจะขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา จะปรากฏเหมือนรอยเท้า
(ของเนื้อปรากฏ ) ในที่ ๆ มันลงแล้วฉะนั้น. อทุกขมสุขเวทนา
จะปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้ยึดถือโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา มีอาการ
เป็นกลาง โดยทิ้งความสำราญ และความไม่สำราญ ในเมื่อสุขและทุกข์
หายไป เหมือนการยึดถือโดยนัยว่า ผ่านไปตรงกลางนี้แหละ โดยขึ้น
ทางฟากข้างนี้ แล้วลงทางฟากข้างโน้นฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
แสดงสติปัฏฐาน โดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว ยังอรูปกัมมัฏฐานให้
บังเกิด ด้วยอำนาจแห่งเวทนาในภายหลัง.

เวทนาคืออรูปกัมมัฏฐานมีในพระสูตรหลายแห่ง


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงไว้อย่างนี้ เฉพาะในสติปัฏฐานสูตร
นี้แห่งเดียว ก็หามิได้ (แต่) ได้ทรงแสดงโดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อน
แล้วยังอรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง ในพระสูตร
หลายพระสูตรหลายแห่งอย่างนี้ คือ ในจุลลตัณหาสังขยสูตร ใน
มหาตัณหาสังขยสูตร ในจุลลเวทัลลสูตร ในมหาเวทัลลสูตร

ในรัฏฐปาลสูตร ในมาคัณฑิยสูตร ในธาตุวิภังคสูตร ในอาเนญช-
สัปปายสูตร
ในมหานิพพานสูตร ในสักกปัญูหสูตร ในมหาสติ-
ปัฏฐานสูตร
ในทีฆนิกาย ในจุลลนิทานสูตร ในรุกโขปมสูตร ใน
ปริวิมังสนสูตร และในเวทนาสังยุต ทั้งหมดในสังยุตตนิกาย และแม้
ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงโดยตรัสบอก
รูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว จึงทรงยังรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจ
แห่งเวทนาในภายหลัง เหมือนในพระสูตรเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น มีปริยายแห่งการรู้ชัด (เวทนา) แม้อีกอย่าง
หนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-

สุขเวทนาแปรปรวน


ข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ความว่า เพราะไม่มี
ทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา พระโยคาวจรเมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เรากำลังเสวยสุขเวทนา. เวทนาชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะทุกขเวทนาที่เคยเสวยมาก่อน ใน
บัดนี้ ไม่มีแล้ว และเพราะสุขเวทนานี้ก่อนแต่นี้ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรจึงเป็นอันรู้ชัด ในสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ด้วยคำว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ นั้น.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ว่า :-
ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่
ในสมัยนั้นจะไม่เสวยทุกขเวทนา จะไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ในสมัยนั้นเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ดูก่อนอัคคิเวสนะ
ในสมัยใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา