เมนู

ความรู้ที่ไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ เวทนํ มีอธิบายว่า พระโยคาวจร
เมื่อเสวยสุขเวทนาที่เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต ย่อมรู้ชัดว่า
เรากำลังเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนั้น แม้เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่
เมื่อเสวยความสุขในเวลาดื่มน้ำมันเป็นต้น ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขก็จริง
ถึงกระนั้น คำนี้ พระองค์ก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้อย่างนี้ เพราะว่า
ความรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิไม่ได้ ถอนสัตตสัญญาไม่ได้ ไม่เป็น
กัมมัฏฐาน หรือไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา.

ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา


ส่วนการรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนสัตตสัญญาได้
เป็นทั้งกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสติปัฏฐานภาวนา. ก็ความรู้นี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาการเสวยโดยการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเสวย การ
เสวยของใคร เพราะเหตุไรจึงเสวย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก เวทยติ (ใครเสวย) ความว่า
ไม่ใช่ใคร คือสัตว์หรือบุคคลเสวย.
บทว่า กสฺส เวทนา (การเสวยของใคร) ความว่า ไม่ใช่การ
เสวยของใคร คือของสัตว์หรือบุคคล.
บทว่า กึ การณา เวทนา (เพราะเหตุไรจึงเสวย) ความว่า
ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ เขาจึงมีการเสวย.
เพราะเหตุนั้น เขารู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ

วัตถุแห่งความสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็นอารมณ์. แต่เพราะหมายเอาความ
เป็นไปแห่งเวทนานั้น. คำว่า อหํ เวทยามิ ( เราเสวยเวทนา) จึงเป็น
เพียงโวหารเท่านั้น.
พระโยคาวจรนั้น เมื่อกำหนดอยู่ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ
วัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า เธอรู้ชัดว่า เรากำลัง
เสวยสุขเวทนา. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ที่จิตตลดาบรรพตฉะนั้น

เรื่องพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง


ได้ยินว่า พระเถระในเวลาที่ท่านไม่สบาย ถอนหายใจพลาง นอน
กลิ้งไปมาอยู่.
ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งถามท่านว่า ท่านขอรับ ที่ตรงไหนของท่านที่
โรคเสียดแทง ?
พระเถระตอบว่า คุณ ชื่อว่าที่ซึ่งโรคเสียดเฉพาะแห่งไม่มี เวทนา
ต่างหากเสวย โดยกระทำวัตถุให้เป็นอารมณ์.
ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านควรจะยับยั้งไว้ดังแต่เวลา
ที่รู้ มิใช่หรือ ท่านขอรับ ?
พระเถระตอบว่า ผมกำลังยับยั้ง คุณ.
ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ การยับยั้งไว้เป็นของประเสริฐ.
พระเถระได้ยับยั้งไว้แล้ว.
ลำดับนั้นลมเสียดแทงถึงหัวใจ. ไส้ใหญ่ได้ออกมากองอยู่บนเตียง
พระเถระได้ชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูว่า ยับยั้งไว้ขนาดนี้ สมควรหรือยัง คุณ.
ภิกษุหนุ่มนิ่ง. พระเถระประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วได้บรรลุพระ