เมนู

ตัณหาเก่าที่เป็นตัวการให้เกิดสตินั้น เป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่ง
ทุกขสัจและสมุทยสัจ ทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจ. อริยมรรคที่เป็นตัวการ
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ เป็นมัคคสัจ.
พระโยคาวจร ย่อมก้าวบรรลุถึงนิพพานด้วยอำนาจสัจจะ 4 ดัง
พรรณนามานี้ สรุปว่านี้เป็นทางแห่งธรรมเครื่องนำออก จนถึงพระอรหัต
ของภิกษุผู้กำหนดป่าช้า 9 แล.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
ก็กายานุปัสสนา 14 บรรพ คือ อานาปานบรรพ 1 อิริยาปถ-
บรรพ
1 จตุสัมปชัญญบรรพ 1 ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 ธาตุ-
มนสิการบรรพ
1 นวสีวถิกาบรรพ 9 เป็นอันจบลงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.
บรรดาบรรพเหล่านั้น เฉพาะ 2 บรรพนี้คือ อานาปานบรรพ 1
ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุ
อัปปนาสมาธิ) ส่วนที่เหลือทั้ง 12 บรรพ เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน
(กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุอุปจารสมาธิ) เท่านั้น เพราะตรัสป่าช้าทั้งหลายไว้
ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนาแล.
จบ กายานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา


[139] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ด้วยวิธี 14 อย่างดังพรรณนามานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา
ด้วยวิธี 9 อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.

ความรู้ที่ไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ เวทนํ มีอธิบายว่า พระโยคาวจร
เมื่อเสวยสุขเวทนาที่เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต ย่อมรู้ชัดว่า
เรากำลังเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนั้น แม้เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่
เมื่อเสวยความสุขในเวลาดื่มน้ำมันเป็นต้น ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขก็จริง
ถึงกระนั้น คำนี้ พระองค์ก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้อย่างนี้ เพราะว่า
ความรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิไม่ได้ ถอนสัตตสัญญาไม่ได้ ไม่เป็น
กัมมัฏฐาน หรือไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา.

ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา


ส่วนการรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนสัตตสัญญาได้
เป็นทั้งกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสติปัฏฐานภาวนา. ก็ความรู้นี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาการเสวยโดยการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเสวย การ
เสวยของใคร เพราะเหตุไรจึงเสวย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก เวทยติ (ใครเสวย) ความว่า
ไม่ใช่ใคร คือสัตว์หรือบุคคลเสวย.
บทว่า กสฺส เวทนา (การเสวยของใคร) ความว่า ไม่ใช่การ
เสวยของใคร คือของสัตว์หรือบุคคล.
บทว่า กึ การณา เวทนา (เพราะเหตุไรจึงเสวย) ความว่า
ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ เขาจึงมีการเสวย.
เพราะเหตุนั้น เขารู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ