เมนู

ศพที่ตายได้แล้ว 1 วัน) บ้าง 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) เป็นต้นว่า กาเกหิ วา ขชฺชมานํ ( ซาก
ศพที่ถูกพวกกาจิกกิน) บ้าง 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อฏฺฐิกสขงฺลิกํ สมํสโลหิตํ นหารุสมฺพนฺธํ
(ซากศพที่มีแต่ร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือดติดอยู่ ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด) 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ นหารุสมฺพนฺธํ (ซาก
ศพที่ไม่มีเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด) 1.
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อปคตมํสโลหิตํ นหารุสมฺพนฺธํ (ซาก
ศพที่ไม่มีเนื้อและเลือดติดอยู่ แต่ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด ) 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) เป็นต้นว่า อฏฺฐิกานิ อปคตสมฺพนฺธนานิ
(กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นร้อยรัด) 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อฏฺฐิกานิ เสตานิ สงฺขวณฺณปฏิภาคานิ
(กระดูกขาวดังสีสังข์) 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า ปุญฺชกิตานิ เตโรวสฺสิกานิ (กระดูก
ที่รวมอยู่เป็นกอง ค้างปี) 1,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า ปูตีนิ จุณฺณกชาตานิ (กระดูกผุแหลก
เป็นผุยผง) 1,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงบ่าช้า 9 อย่างไว้ในที่นี้แล้ว
เมื่อจะจบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงตรัสว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ดังนี้ .

อริยสัจในนวสีวถิกา


สติเป็นเครื่องกำหนดป่าช้า 9 ในนวสีวถิกาบรรพนั้น เป็นทุกขสัจ

ตัณหาเก่าที่เป็นตัวการให้เกิดสตินั้น เป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่ง
ทุกขสัจและสมุทยสัจ ทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจ. อริยมรรคที่เป็นตัวการ
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ เป็นมัคคสัจ.
พระโยคาวจร ย่อมก้าวบรรลุถึงนิพพานด้วยอำนาจสัจจะ 4 ดัง
พรรณนามานี้ สรุปว่านี้เป็นทางแห่งธรรมเครื่องนำออก จนถึงพระอรหัต
ของภิกษุผู้กำหนดป่าช้า 9 แล.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
ก็กายานุปัสสนา 14 บรรพ คือ อานาปานบรรพ 1 อิริยาปถ-
บรรพ
1 จตุสัมปชัญญบรรพ 1 ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 ธาตุ-
มนสิการบรรพ
1 นวสีวถิกาบรรพ 9 เป็นอันจบลงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.
บรรดาบรรพเหล่านั้น เฉพาะ 2 บรรพนี้คือ อานาปานบรรพ 1
ปฏิกูลมนสิการบรรพ 1 เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุ
อัปปนาสมาธิ) ส่วนที่เหลือทั้ง 12 บรรพ เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน
(กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุอุปจารสมาธิ) เท่านั้น เพราะตรัสป่าช้าทั้งหลายไว้
ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนาแล.
จบ กายานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา


[139] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ด้วยวิธี 14 อย่างดังพรรณนามานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา
ด้วยวิธี 9 อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.