เมนู

ผู้ขยัน หรือ ฯลฯ วาโยธาตุ แม้ฉันใด.
อธิบายว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (โยคี) เหมือนคนฆ่าโค ความ
หมายรู้ว่าสัตว์ เหมือนความหมายรู้ว่า แม่โค อิริยาบถ 4 เหมือนทาง
ใหญ่ 4 แพร่ง การพิจารณาเห็น (กาย) โดยเป็นธาตุ เหมือนนาย
โคฆาตก์ผู้นั่งแบ่ง (เนื้อ) ออกเป็นส่วน ๆ. นี้คือการพรรณนาความ
ตามพระบาลีในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วนกถาว่าด้วยกรรมฐาน ได้ให้
พิสดารไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
บทว่า อิติ อชฺณตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาล อยู่อย่างนี้ คือ
โดยการกำหนดธาตุ 4 คำต่อจากนี้ไปมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
เพราะว่าในธาตุมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดธาตุ 4 เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว.
บัณฑิตพึงทราบช่องทางแห่งธรรมเครื่องนำออก (จากทุกข์)
ตามที่ได้อธิบายความประกอบมาอย่างนี้แล. คำที่เหลือ เช่นกับคำก่อน
นั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ธาตุมนสิการบรรพ

นวสีวถิกาบรรพ


[138] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจการมนสิการถึงธาตุอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วย

นวสีวถิกาบรรพ (ข้อธรรมที่ว่าด้วยป่าช้า 9) จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปุน
จปรํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย ได้แก่ ยถา
ปสฺเสยฺย (แปลว่า พึงเห็นฉันใด).
บทว่า สรีรํ ได้แก่ร่างกายของคนที่ตายแล้ว
บทว่า สีวถิกาย ฉฑฺฑิตํ ความว่า ที่เขาทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า
ร่างของคนที่ตายแล้ววันเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกาหมตะ.
ร่างกายของคนที่ตายแล้ว 2 วัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทวีหมตะ.
ร่างกายของคนที่ตายแล้ว 3 วัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตีหมตะ.
ศพที่พองลมเหมือนสูบ ชื่อ อุทธุมาตกะ (ขึ้นพอง ) เพราะ
ขึ้นพอง โดยอืดขึ้นไปตามลำดับหลังจากสิ้นชีวิตแล้ว.
สีช้ำดำเขียว เขาเรียกว่า วินีละ. วินีลกะก็คือวินีละนั้นเอง
อีกอย่างหนึ่ง ศพที่มีสีเขียวปั๊ด น่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ. คำว่า วินีลกะ นี้ เป็นชื่อของซากศพที่
มีสีแดง ในที่ที่มีเนื้อนูน มีสีขาวในที่ที่หนองคั่งอยู่ แต่โดยมากมีสีเขียว
ในที่ที่มีสีเขียว ก็เหมือนคลุมด้วยผ้าสีเขียว.
อีกอย่างหนึ่ง หนองที่ไหลออกจากปากแผลทั้ง 9 แห่ง แม้ในที่
ที่แตกปริแล้ว ชื่อว่า วิปุพพะ. วิปุพพะก็คือวิปุพพกะนั่นเอง. อีก
อย่างหนึ่ง หนองที่ช้ำน่าเกลียด เพราะปฏิกูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิปุพพกะ. ศพที่กลายเป็นช้ำหนอง คือถึงภาวะอย่างนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า วิปุพพกชาตะ.
บทว่า โส อิมเมว กายํ ความว่า ภิกษุนั้น น้อมกายของตน

นี้เข้าไป (เปรียบเทียบ) กับกายนั้นด้วยญาณ.
บทว่า อุปสํหรติ แปลว่า น้อมนำเข้าไป.
น้อมนำเข้าไปอย่างไร ?
น้อมนำเข้าไปอย่างนี้ว่า ถึงกายนี้ก็เถอะ เป็นธรรมดาอย่างนี้
มีสภาพอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะมีธรรม 3 อย่างเหล่านี้ คือ อายุ
ไออุ่น วิญญาณ
กายนี้จึงทนต่อ (การผลัดเปลี่ยน อิริยาบถ) มียืนและ
เดินเป็นต้นได้ แต่เพราะไม่มีธรรม 3 เหล่านี้ ร่างกายแม้นี้จึงมีอย่างนี้
เป็นธรรมดา คือมีสภาพเป็นของเน่าเปื่อยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า เอวํภาวี ความว่า (กายนี้) จักเป็นอย่างนี้เหมือนกัน
คือ จักเป็นประเภท (ต่าง ๆ) มีเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้น.
บทว่า เอวํ อนตีโต ความว่า ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ คือ
ความเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้นไปได้
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาลอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ
ด้วยการกำหนดร่างกายมีเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้น.
บทว่า ขชฺชมานํ ความว่า ร่างกายที่ถูกสัตว์ทั้งหลายมีกากับแร้ง
เป็นต้น จิกกิน โดยจับอยู่ที่อวัยวะมีท้องเป็นต้น แล้วจิกเอาเนื้อท้อง
เนื้อริมฝีปาก (และ) กระบอกตาเป็นต้น ออกมา (กิน).
บทว่า สมํสโลหิตํ ความว่า ร่างกายที่ประกอบไปด้วยเนื้อและ

เลือดอันเหลือเศษติดอยู่.
บทว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ ความว่า ถึงเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว
เลือดก็ยังไม่แห้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเลือดนั้น จึงตรัสว่า
โลหิตมกฺขิตํ ดังนี้.
บทว่า อญฺเญน ได้แก่โดยทิสาภาคอื่น.
บทว่า หตฺถฏฺฐิกํ ความว่า กระดูกมือทั้ง 64 ชิ้น กระจัดกระจาย
ไปต่างทิศต่างทางกัน. แม้ในกระดูกเท้าเป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้.
บทว่า เตโรวสฺสิกานิ ได้แก่ (กระดูก) ค้างปี.
บทว่า ปูตีนิ ความว่า กระดูกที่อยู่ในที่กลางแจ้ง เมื่อต้องลมแดด
และฝนจึงผุ กระดูกค้างปียังไม่ผุ แต่กระดูกที่ฝังอยู่ภายในดิน ย่อมอยู่
ได้นานกว่า.
บทว่า จุณฺณกชาตานิ ได้แก่แหลกละเอียดกระจัดกระจายไป.
ในทุกบท บัณฑิตพึงแต่งถ้อยคำประกอบความด้วยอำนาจแห่งกาย
ที่ถูกกากับแร้งจิกกินเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วว่า โส อิมเม ดังนี้
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาลอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
คือด้วยการกำหนดกายมีกายที่ถูกแร้งกาเป็นต้น จิกกินเป็นอาทิ จนกระทั่ง
ถึงเป็นของแหลกละเอียดเป็นผุยผง.

ป่าช้า 9


ก็ป่าช้า 9 พึงประมวลไว้ในที่ตรงนี้ (คือ) :-
ป่าช้าทั้งหมดที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอกาหมตํ วา (ซาก