เมนู

ด้วยประการดังนี้ เปลือกตา (หนังตา) ข้างล่าง ก็จะร่นลง
เบื้องล่าง เปลือกตา (หนังตา) ข้างบนก็จะเลิกขึ้นข้างบน โดยอำนาจ
การแผ่ขยายของวาโยธาตุ ที่เกิดแต่กิริยาของจิต. ไม่มีใครที่ชื่อว่าเปิด
(เปลือกตา) ด้วยเครื่องยนต์กลไก.
ต่อจากนั้นไป จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้นให้สำเร็จทัสสนกิจ (การ
เห็น) ก็ความรู้ตัว ดังที่พรรณนามานี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ
ในอธิการแห่งสัมปชัญญะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในเรื่องสัมปชัญญะนี้ พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญ-
ญะ
แม้ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นต้น) เป็นอาคัน-
ตุกะ
(เป็นแขก) และเป็นตาวกาลิก (เป็นไปชั่วคราว). ก่อนอื่น
ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจมูลปริญญา (ดังต่อไปนี้) :-
ภวังค์ (จิตอยู่ในภวังค์) 1 อาวัชชนะ (การระลึก
ถึงอารมณ์) 1 ทัสสนะ (การเห็นอารมณ์) 1
สัมปฏิจฉนะ (การรับเอาอารมณ์) 1 สันตีรณะ
(การพิจารณาอารมณ ) 1 โวฏฐัพพะ (การตัดสิน
อารมณ์) 1 ที่ 7 คือ ชวนะ 1.

หน้าที่ของจิตแต่ละขณะ


บรรดาจิตทั้ง 7 นั้น ภวังค์ ให้กิจคือเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ
สำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ ครั้นยังภวังค์นั้นให้หมุนกลับ แล้วจะ
ให้อาวัชชนกิจสำเร็จอยู่ เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับไป จักขุวิญญาณจะ
ให้ทัสสนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะทัสสนกิจนั้นดับไป วิปากมโนธาตุ

จะให้สัมปฏิจฉนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัมปฏิจฉนกิจนั้นดับไป มโน-
วิญญาณธาตุ
ที่เป็นวิบาก จะให้สันตีรณกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัน-
ตีรณกิจ
นั้นดับไป มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาจะให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จ
เป็นไป เพราะโวฏฐัพพนกิจนั้นดับไป ชวนะจะแล่นไป 7 ครั้ง บรรดา
ชวนะทั้ง 7 นั้น ถึงในชวนะแรก การแลตรง และการแลซ้ายแลขวา
ด้วยอำนาจความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลงว่า นี้เป็นหญิง
นี้เป็นชาย จะไม่มี ในชวนะที่ 2 ก็ดี ฯลฯ ในชวนะที่ 7 ก็ดี (ก็จะ
ไม่มี ). แต่เมื่อวิถีจิตเหล่านี้แตกดับเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจจิตดวงแรก
จนถึงจิตดวงสุดท้าย เหมือนทหารในสนามรบ การแลตรงและการแล
ซ้ายแลขวา ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย
ก็จะมี. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา ใน
อิริยาบถบรรพนี้ ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.
ก็เมื่อรูปปรากฏในจักษุทวารแล้ว ต่อจากภวังคจลนะ (ภวังค์
ไหว) ไป เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วดับไปด้วยอำนาจ
ทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุด ชวนะก็จะเกิดขึ้น ชวนะนั้นจะเป็นเหมือน
ชายที่เป็นแขกของวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน (มาเยี่ยมถึง)
ประตู คือตา (จักขุทวาร) ที่เท่ากับเป็นเรือน แม้เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะ
เป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลงในจักขุทวาร ที่เท่ากับเป็น
เรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ชวนะนั้นจะกำหนัด จะขัดเคือง จะลุ่มหลง
ก็ไม่ถูก เหมือนกับชายที่เป็นแขก เข้าไปขออะไรบางอย่างที่เรือนคนอื่น
เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่ง จะทำการบังคับ ก็ไม่ถูกฉะนั้น พึงทราบอสัม-
โมหสัมปชัญญะ
โดยเป็นเสมือนแขก ดังที่พรรณนามานี้.

อนึ่ง จิตมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด ที่เกิดขึ้น ในจักขุทวารเหล่านี้ จะ
แตกดับไปในที่นั้น ๆ นั่นแหละพร้อมกับสัมปยุตตธรรม จะไม่ประจวบ
กันเลย เพราะฉะนั้น จิตนอกนี้ จึงเป็นไปชั่วคราวเท่านั้น.
ในข้อนั้น ผู้ศึกษาควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ โดยความเป็น
ไปชั่วคราวอย่างนี้ว่า ในเรือนหลังเดียวกัน เมื่อคนตายกันหมดแล้ว คน
คนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งธรรมดาก็จะตายไปอีกในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่า
จะยังมีความร่าเริงในการฟ้อนและการร้องรำเป็นต้น ไม่ถูก ฉันใด
เมื่ออาวัชชนจิต เป็นต้น ที่สัมปยุตแล้วในทวารเดียวกัน แตกดับไป
ในที่นั้น ๆ นั่นเอง แม้ชวนจิตที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีการแตกดับไปเป็น
ธรรมดา ภายในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่าจะยังมีความร่าเริงอยู่ด้วยอำนาจ
ความกำหนด ความขัดเคือง และความลุ่มหลง ไม่ถูกแล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน.
เออก็ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะนี้ โดยการ
พิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ( ดังต่อไปนี้ ) :-
อธิบายว่า ในคำว่าขันธ์เป็นต้นนี้ ทั้งจักษุทั้งรูป ชื่อว่ารูปขันธ์
การเห็น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ การเสวยอารมณ์ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์
นั้น ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ความจำได้หมายรู้ ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ธรรมมี
ผัสสะเป็นต้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ ในเพราะขันธ์เหล่านี้มาประจวบกันเข้า
การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง และ
การแลซ้ายแลขวาปรากฏอยู่ด้วยอำนาจเบญจขันธ์นั้น ( แล้วจะมี ) ใคร
สักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลขวาเล่า.
อีกประการหนึ่ง จักษุ ชื่อว่าจักขวายตนะ รูป ชื่อว่ารูปายตนะ

การเห็น ชื่อว่ามนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น
ชื่อว่าธรรมายตนะ ในเพราะอายตนะ 4 เหล่านั้นมาประจวบกันอย่างนี้
นั่นแหละ การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง
และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจอายตนะ 4 อยู่นั้น แล้วจะมีใคร
สักคนมาแลทรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. อีกประการหนึ่ง จักษุ
ชื่อว่าจักขุธาตุ รูป ชื่อว่ารูปธาตุ การเห็น ชื่อว่าจักขุวิญญาณธาตุ
เวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักษุวิญญาณธาตุนั้น ชื่อว่าธรรมธาตุ ใน
เพราะธาตุ 8 เหล่านี้มาประจวบกันอย่างนี้ การแลตรง และการแลซ้าย
แลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจ
ธาตุ 4 อยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้าย
แลขวา.
อีกประการหนึ่ง จักษุเป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย
อาวัชชนะเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสัยปัจจัย นัตถิ-
ปัจจัย และวิคตปัจจัย อาโลกะ
(แสงสว่าง ) เป็นอุปนิสสยปัจจัย
เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตปัจจัย. ในเพราะปัจจัยเหล่านั้นประจวบกัน
อย่างนั้น การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง
และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจปัจจัยอยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคน
มาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. พึงทราบอสัมโมหสัมป-
ชัญญะ
แม้โดยการพิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ในการแลตรง
และแลซ้ายแลขวานี้ ดังที่พรรณนามานี้แล.
บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ในการคู้เข้าและเหยียดข้อพับ
(ศอก, เข่า) ออกไป.

บรรดาสัมปชัญญะทั้ง 4 นั้น การไม่ทำการคู้เข้าและการเหยียด
ออกไปด้วยอำนาจจิต (ความคิด) อย่างเดียว แต่พิเคราะห์ดูผลได้ผลเสีย
เพราะมีการคู้เข้าและเหยียดมือหรือเท้าออกไปเป็นปัจจัยแล้ว เลือกเอาแต่
ประโยชน์ ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ ในการคู้เข้าและเหยียดออกไปนั้น
พึงทราบการพิเคราะห์ถึงผลเสียอย่างนี้ว่า เมื่อเธอคู้มือหรือเท้าเข้ามาวางไว้
นาน ๆ หรือเหยียดมือหรือเท้าออกไปวางไว้นาน ๆ เวทนาจะเกิดขึ้นทุก ๆ
ครั้ง. จิตก็จะไม่ได้อารมณ์เลิศอันเดียว (ไม่เป็นสมาธิ) กรรมฐานก็จะล้ม
เหลว เธอจะไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ. แต่เมื่อคู้เข้าพอเหมาะเหยียดออกไป
พอดี เวทนาจะไม่เกิดขึ้น (เลย) จิตจะเป็นเอกัคคตา กรรมฐานก็จะ
ถึงความเจริญ เธอจะได้บรรลุคุณวิเศษ.
ส่วนการที่เมื่อปัจจัยแม้มีอยู่ พระโยคาวจรยังพิเคราะห์สถานที่ ๆ
เป็นสัปปายะและไม่เป็นสัปปายะ แล้วเลือกเอาสถานที่ ๆ เป็นสัปปายะ
ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะ มีนัยดังต่อไปนี้ :-
ทราบมาว่า ภิกษุหนุ่ม ๆ พากันสวดมนต์ที่ลานพระเจดีย์ใหญ่ เบื้อง
หลังของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุณีสาว ๆ กำลังฟังธรรมกัน. ในจำนวนภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณี แล้วได้
กลายเป็นคฤหัสถ์ไปเพราะเหตุนั้นนั่นเอง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งเมื่อเหยียดเท้า
ออกไป ได้เหยียดไปที่ไฟ ไฟไหม้เท้าถึงกระดูก. อีกรูปหนึ่ง
เหยียดไปที่จอมปลวก ท่านถูกงูพิษกัด. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ด้ามกลด
งูเห่าปี่แก้วกัดท่าน. เพราะฉะนั้น ( เมื่อจะเหยียดเท้า ) ก็อย่าเหยียด
ไปในที่ที่ไม่เป็นสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่ที่เป็นสัปปายะ. นี้เป็น

สัปปายสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้ ส่วนโคจรสัมปชัญญะ ควร
แสดงด้วยเรื่องพระมหาเถระ.

เรื่องพระมหาเถระ


เล่ากันมาว่า พระมหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อจะสนทนา
กับเหล่าอันเตวาสิก ได้กำมือเข้าแล้วแบออกอย่างเดิม (จากนั้น) จึงค่อยๆ
กำเข้าอีก เหล่าอันเตวาสิกได้เรียนถามท่านว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุไฉน
ใต้เท้าจึงกำมือเข้าอย่างเร็ว แล้วกลับแบไว้อย่างเดิม จากนั้นจึงค่อย ๆ
กำเข้าอีก. พระมหาเถระตอบว่า คุณ ตั้งแต่ผมเริ่มใส่ใจกรรมฐาน ผม
ไม่เคยละกรรมฐานแล้วกำมือเลย แต่บัดนี้ผมจะพูดกับพวกคุณ ได้ละ
กรรมฐานแล้วจึงกำมือ เพราะฉะนั้น ผมจึงได้แบมือออกไปตามเดิมแล้ว
ค่อย ๆ กำเข้าอีก. อันเตวาสิกทั้งหลายกราบเรียนว่า ดีแล้ว ขอรับ
ใต้เท้า ธรรนดาภิกษุควรจะเป็นแบบนี้. แม้ในอิริยาปถบรรพนี้ การไม่
ละกรรมฐาน พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ไม่มีอะไรในภายในที่ชื่อว่า อัตตา คู้เข้ามาหรือเหยียดออกไปอยู่.
แต่การคู้เข้าและเหยียดออก มีได้โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่
กิริยาจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว เหมือนการเคลื่อนไหวมือและเท้าของ
หุ่นโดยการชักด้วยเชือก เพราะฉะนั้น ก็การกำหนดรู้ (ดังที่กล่าวมานี้)
พึงทราบเถิดว่า ชื่อว่ามีอสัมโมหสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้.
การใช้ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวร โดยการนุ่งการห่ม1 การใช้บาตร
โดยการรักษาเป็นต้น ชื่อว่าธารณะ ในคำว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ
นี้. การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งและห่มแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต และประ-
1. ปาฐะว่า นิวาสนปารุปนวเสน น่าจะเป็นปารุปนวเสน ซึ่งแปลว่า ห่ม เพราะเป็นผ้าห่ม
ไม่ใช้ผ้านุ่ง, (ผู้แปล).