เมนู

ด้วยประการดังนี้ เปลือกตา (หนังตา) ข้างล่าง ก็จะร่นลง
เบื้องล่าง เปลือกตา (หนังตา) ข้างบนก็จะเลิกขึ้นข้างบน โดยอำนาจ
การแผ่ขยายของวาโยธาตุ ที่เกิดแต่กิริยาของจิต. ไม่มีใครที่ชื่อว่าเปิด
(เปลือกตา) ด้วยเครื่องยนต์กลไก.
ต่อจากนั้นไป จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้นให้สำเร็จทัสสนกิจ (การ
เห็น) ก็ความรู้ตัว ดังที่พรรณนามานี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ
ในอธิการแห่งสัมปชัญญะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในเรื่องสัมปชัญญะนี้ พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญ-
ญะ
แม้ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นต้น) เป็นอาคัน-
ตุกะ
(เป็นแขก) และเป็นตาวกาลิก (เป็นไปชั่วคราว). ก่อนอื่น
ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจมูลปริญญา (ดังต่อไปนี้) :-
ภวังค์ (จิตอยู่ในภวังค์) 1 อาวัชชนะ (การระลึก
ถึงอารมณ์) 1 ทัสสนะ (การเห็นอารมณ์) 1
สัมปฏิจฉนะ (การรับเอาอารมณ์) 1 สันตีรณะ
(การพิจารณาอารมณ ) 1 โวฏฐัพพะ (การตัดสิน
อารมณ์) 1 ที่ 7 คือ ชวนะ 1.

หน้าที่ของจิตแต่ละขณะ


บรรดาจิตทั้ง 7 นั้น ภวังค์ ให้กิจคือเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ
สำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ ครั้นยังภวังค์นั้นให้หมุนกลับ แล้วจะ
ให้อาวัชชนกิจสำเร็จอยู่ เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับไป จักขุวิญญาณจะ
ให้ทัสสนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะทัสสนกิจนั้นดับไป วิปากมโนธาตุ