เมนู

มณฑป

เรื่องพระมหานาคเถระ


ได้ทราบว่า แม้พระเถระรูปนั้น เมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร ได้
อธิษฐานจงกรมอย่างเดียว สิ้นเวลา 7 ปี ว่าเราจักบูชาความเพียรอัน
ยิ่งใหญ่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นปฐมก่อน ได้บำเพ็ญคตปัจจา-
คติกวัตร
อีก 16 ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต ท่านมีจิตประกอบด้วยพระ-
กรรมฐานนั่นเอง ยกเท้าขึ้น ถอยกลับในขณะยก (เท้า) ขึ้นโดยจิต
ปราศจาก (กรรมฐาน) เดินไปใกล้บ้าน ยืนห่มผ้า ณ ที่ที่ชวนให้คน
สงสัยว่า แม่วัวหรือพระกันแน่ ? ใช้น้ำจากที่ระหว่างต้นไทรล้างบาตร
แล้วก็อมน้ำไว้. เพราะเหตุไร ? เพราะท่านคิดว่า ขอเราอย่าได้ทอดทิ้ง
กรรมฐาน แม้ด้วยเหตุที่พูดกะคนที่มาถวายภิกษาหรือมนสิการว่า ขอจง
มีอายุยืนเถิด. แต่ (ถ้า) ถูกถามถึงวันว่า วันนี้เป็นวันอะไรครับ หรือ
ถามจำนวนภิกษุถามปัญหา ก็จะกลืนน้ำแล้วจึงบอก ถึงหากไม่มีผู้ถามถึง
วันเป็นต้น เวลาออกไปก็จะบ้วนน้ำออก (จากปาก) ที่ประตูบ้านแล้ว
จึงไป เหมือนภิกษุ 50 รูป ที่จำพรรษาที่กลัมพติตถวิหาร.

เรื่องพระ 50 รูป


ได้ทราบว่า ในวันอาสาฬหปุณณมี (กลางเดือน 8) ท่านเหล่า
นั้นได้ทำกติกาวัตรกันไว้ว่า ถ้าพวกเรายังไม่บรรลุอรหัตแล้ว จะไม่พูด
คุยกัน. และเมื่อจะเข้าบ้านบิณฑบาต ( แต่ละรูป ) ก็อมน้ำแล้ว จึงเข้าไป
เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ. คนทั้งหลาย
เห็นรอยบ้วนน้ำ ณ ที่นั้นแล้ว ก็รู้ว่า วันนี้พระมารูปเดียว วันนี้มา 2 รูป

จึงคิดกันอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พูดเฉพาะกับพวกเราหรืออย่างไร ? หรือ
แม้แต่พวกกันเองก็ไม่พูด ? ถ้าหากท่านไม่พูดกัน ท่านจักวิวาทกันเป็น
แน่ มาเถิด เราทั้งหลายจักให้ท่านขอขมากัน ทุกคนจึงพากันไปวัด ไม่
ได้เห็นพระภิกษุในที่แห่งเดียวกันถึง 2 รูป ในจำนวนพระ 50 รูป.
ต่อมาบรรดาคนทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มีตาดีก็จะพูดว่า พ่อคุณเอ๋ย คน
ทะเลาะกัน จะไม่มีโอกาสเช่นนี้ ลานเจดีย์ ลานโพธิ์ ก็กวาดเรียบร้อย
ไม้กวาด ก็เก็บไว้ดี น้ำฉันน้ำใช้ ก็จัดไว้เรียบร้อย. ต่อจากนั้น เขา
เหล่านั้นก็พากันกลับ. ในภายในพรรษานั้นเอง พระภิกษุแม้เหล่านั้น ก็
บรรลุอรหัต ในวันมหาปวารณา จึงปวารณากันด้วยวิสุทธิปวารณา.
ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานนั้นเอง ยกเท้าขึ้น ( เดินไป) ถึง
ใกล้บ้านแล้วอมน้ำไว้ พิจารณาดูทางหลายสาย ที่ไม่มีผู้คนทะเลาะกัน
ไม่มีนักเลงสุรา และนักเลงการพนันเป็นต้น หรือไม่มีช้างดุ ม้าดุ เป็นต้น
แล้ว เดินไปทางนั้น เหมือนท่านมหานาคเถระ ชาวกาลวัลลิมณฑป
และเหมือนกับภิกษุผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ดังที่พรรณนามานี้.
เธอเมื่อจะไปบิณฑบาตในบ้านนั้น ก็จะไม่เดินเร็ว เหมือนคนรีบร้อน.
เพราะว่าไม่มีธุดงค์อะไร ที่มีชื่อว่าเป็นธุดงค์สำหรับผู้เดินบิณฑบาตเร็ว.
แต่ว่าเดินไม่โคลงกายเหมือนเกวียนบรรทุกน้ำเต็ม (ไป) ถึงพื้นที่ราบ
เรียบ. และเข้าไปตามลำดับเรือน (ยืน) คอยเวลาพอสมควร เพื่อสังเกต
ดูว่าเขาประสงค์จะถวาย (ตักบาตร) หรือไม่ประสงค์จะถวาย รับภิกษา
แล้ว (อยู่) ในบ้านหรือนอกบ้าน หรือมายังวิหารนั่นเอง นั่งในโอกาส
ที่สมควรตามสบายแล้ว มนสิการกรรมฐาน กำหนดปฏิกูลสัญญาในอาหาร
พิจารณาโดยเปรียบเทียบกับน้ำมันหยอดเพลา ผ้าพันแผล และเนื้อบุตร

นำอาหารที่ประกอบด้วยองค์ 8 มา ไม่ใช่ฉันเพื่อจะเล่น ไม่ใช่ฉันเพื่อจะ
ตกแต่ง ไม่ใช่ฉัน เพื่อจะประดับประดา และฉันแล้ว จัดเรื่องเกี่ยวกับน้ำ
(ดื่ม, ล้าง) เสร็จแล้ว ระงับความลำบากที่เกิดจากอาหาร (เมาข้าวสุก)
สักครู่หนึ่งแล้ว จึงมนสิการกรรมฐานนั่นแหละ ในเวลาหลังฉันเหมือน
กับเวลาเวลาก่อนฉัน และในเวลาปัจฉิมยามเหมือนกับเวลาปฐมยาม.
ภิกษุรูปนี้ เรียกได้ว่า ทั้งนำไปและนำกลับ.
ก็เธอเมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร กล่าวคือการนำไปและนำกลับ
นี้ ถ้าหากมีอุปนิสัยสมบูรณ์ไซร้ ก็จะบรรลุอรหัตในปฐมยามนั่นเอง ถ้า
หากไม่บรรลุในปฐมยาม ต่อไปก็จะบรรลุในมัชฌิมยาม ถ้าหากในมัช-
ฌิมยามไม่บรรลุไซร้ ต่อไปก็จะบรรลุในมรณสมัย ถ้าหากในมรณสมัย
ไม่บรรลุไซร้ ต่อไปก็จะเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ถ้าหากเป็นเทพบุตร
แล้วก็ยังไม่บรรลุไซร้ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ จะเกิดขึ้นแล้ว
ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ ถ้าไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณไซร้ ต่อไป
จะเป็นผู้รู้โดยเร็ว (ขิปปาภิญญาบุคคล ) ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย
เหมือนพระพาหิยทารุจีริยเถระ จะมีปัญญามาก เหมือนพระ
สารีบุตรเถระ
จะมีฤทธิ์มาก เหมือนพระโมคคัลลานเถระ จะเป็นผู้บอก
ธุดงค์เหมือนพระมหากัสสปเถระ จะเป็นผู้มีทิพยจักษุเหมือนพระอนุ-
รุทธเถระ
จะเป็นพระวินัยธรเหมือนพระอุบาลีเถระ จะเป็นพระธรรม-
กถึกเหมือนพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นประจำเหมือน
พระเรวตเถระ จะเป็นพหูสูตรเหมือนพระอานนทเถระ หรือจะเป็นผู้ใคร่
การศึกษาเหมือนพระราหุลเถระพุทธบุตร ดังนี้.
ภิกษุผู้นำไปและนำกลับใน 4 วาระนี้ จะมีโคจรสัมปชัญญะ ถึง

ยอด (วิปัสสนา) ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้.

4. อสัมโมหสัมปชัญญะ


ส่วนการไม่หลงลืม ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่าอสัม-
โมหสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ
นั้น พึงทราบอย่างนี้. ภิกษุใน
พระศาสนานี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้า หรือถอยกลับ จะไม่ลืมเหมือนอันธ-
ปุถุชน (หลง) ไปว่า อัตตาก้าวไปข้างหน้า อัตตาให้เกิดการก้าวไป
ข้างหน้า หรือว่าเราก้าวไปข้างหน้า เราให้เกิดการก้าวไปข้างหน้า ใน
การก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น เมื่อเกิดความคิด (จิต) ขึ้นว่า เราจะไม่
หลงลืมก้าวไปข้างหน้า วาโยธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อให้เกิดวิญญัติ
ขึ้น จะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงนั้นนั่นเอง. โครงกระดูกที่สมมติว่ากายนี้
จะก้าวไปข้างหน้าตามอำนาจของการแผ่ขยายแห่งวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยา
จิตด้วยประการอย่างนี้ เมื่อโครงกระดูกนั้นนั่นแหละก้าวไปข้างหน้า ใน
การยกเท้าแต่ละข้างขึ้น ธาตุ 2 ชนิด คือ ปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ
จะหย่อนจะอ่อนลง. ธาตุอีก 2 อย่าง นอกจากนี้ (เตโชธาตุ) จะมี
กำลังมากยิ่งขึ้น. ในการย่างเท้าไป และการสืบเท้าไป เตโชธาตุ วาโย-
ธาตุ
(ที่เป็นไปแล้ว) ในการเหวี่ยง (เท้า) ออกไปจะหย่อน จะอ่อนลง.
ธาตุอีก 2 อย่าง นอกจากนี้ ( ปฐม, อาโป ) จะมีกำลังมากยิ่งขึ้น. ใน
การเหยียบและการยัน รูปธรรมและอรูปธรรม ที่ใช้ในการยก (เท้า)
ขึ้นนั้น ก็เป็นเช่นนั้น ไม่ถึงการย่างเท้าไปที่ที่ใช้ในการย่างเท้าไปก็ทำนอง
เดียวกัน ไม่ถึงการสืบเท้าไป ที่ใช้ในการสืบเท้าไป ก็ไม่ถึงการเหวี่ยง
(เท้า) ออกไป ที่ใช้ในการเหวี่ยง (เท้า) ออกไป ก็ไม่ถึงการเหยียบ
ที่ใช้ในการเหยียบ ก็ไม่ถึงการยัน. ข้อทุกข้อ (และ ที่ต่อทุกแห่ง