เมนู

ว่าไม่นำไป และไม่นำกลับ.

ภิกษุทั้งนำไปนำกลับ


ส่วนภิกษุนี้ใด ที่ท่านกล่าวว่า นำไปด้วย นำกลับด้วย ภิกษุนั้น
พึงทราบได้ด้วยคตปัจจาคติวัตรของผู้เดินกลับไปกลับมา. เพราะว่า
กุลบุตรทั้งหลายผู้มุ่งประโยชน์ บวชในศาสนาแล้ว เมื่อจะอยู่โดยลำพัง
10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 50 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง อยู่โดยทำกติกาวัตรกัน
ไว้ว่า ท่านครับ ท่านทั้งหลายไม่ใช่บวชหลบหนี ไม่ใช่บวชหลบภัย ไม่
ใช่บวชเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้
เพราะฉะนั้น ในขณะเดินนั่นแหละ ท่านทั้งหลายจงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นใน
เวลาเดิน ในขณะยืน ก็ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลายืน ในขณะนั่ง ก็จง
ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลานั่ง ในขณะนอนนั่นแหละ ก็จงข่มกิเลสที่เกิด
ขึ้นในเวลานอน. ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาวัตรกันไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อ
ไปภิกขาจารก็เดินไปมนสิการกรรมฐานไป ตามสัญญานั้น ถ้าหากกิเลส
เกิดขึ้นแก่ใคร ในขณะเดิน ในระหว่างครึ่งอุสุภะ หนึ่งอุสุภะ ครึ่งคาวุต
หรือหนึ่งคาวุต มีก้อนหินอยู่ ภิกษุนั้นจะข่มกิเลสนั้นในที่นั้นเอง เมื่อ
ไม่อาจ (ข่มได้) อย่างนั้น ก็จะหยุดยืน. ถัดนั้นภิกษุ (รูปอื่น ) แม้
ตามหลังเธอมาก็จะหยุดยืนตาม เธอจะเตือนตนเองว่า ภิกษุนี้รู้วิตกที่เกิด
แก่เจ้าแล้ว ข้อนี้ไม่สมควรแก่เจ้า แล้วเจริญวิปัสสนาก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ
ที่นั้นนั่นเอง ในคำว่า เมื่อไม่อาจอย่างนั้น เธอก็จะนั่ง ถัดนั้น แม้ภิกษุ
ผู้มาข้างหลัง เธอก็จะนั่งตาม ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. ถึงไม่สามารถก้าว
ลงสู่อริยภูมิได้ ก็จะข่มกิเลสนั้นไว้ เดินมนสิการกรรมฐานไปทีเดียว ไม่

ยกเท้าขึ้นทั้งที่มีจิตพรากจากกรรมฐาน ถ้ายก (โดยที่มีจิตพรากจาก
กรรมฐาน) ก็จะกลับไปยังที่เดิมนั้นเอง เหมือนมหาปุสสเทวเถระ ชาว
อาลินทกะ.

เรื่องพระมหาปุสสเทวเถระ


เล่ากันมาว่า ท่านได้บำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร1 (วัตรของผู้เดิน
กลับไปกลับมา) อยู่ที่เดียวเป็นเวลา 19 พรรษา. ได้ยินว่า แม้คน
ทั้งหลายกำลังไถ กำลังหว่าน กำลังนวด ทำงานกันอยู่ เห็นพระเถระ
เดินอย่างนั้น จึงสนทนากันว่า พระเถระรูปนี้ เดินกลับไปกลับมา คง
จะหลงทางหรือไม่ก็คงลืมอะไรกระมัง ? ท่านไม่คำนึงถึงคำพูดนั้น ทำ
สมณธรรมด้วยทั้งจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานนั้นแหละ ได้บรรลุอรหัต
ภายใน 20 พรรษา. ในวันที่ท่านได้บรรลุพระอรหัตนั่นเอง เทวดาที่สิ่ง
อยู่ที่ปลายทางจงกรมของท่าน ได้ยืนชูนิ้วแทนประทีป2 ถึงท้าวมหาราช
ทั้ง 4 ท้าวสักกะจอมเทพ และสหัมบดีพรหม ก็ได้พากันมายังที่ทำนุ
บำรุง (ท่าน). และท่านวนวาสีติสสมหาเถระ เห็นแสงสว่างนั้นแล้ว
ในวันที่ 2 จึงได้ถามท่านมหาปุสสเถระ ชาวอาลินทกะว่า เวลากลาง
คืน ที่สำนักของท่าน ได้มีแสงสว่าง แสงสว่างนั้นเป็นแสงสว่างอะไร ?
พระเถระเมื่อจะทำการกลบเกลื่อน จึงได้พูดคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดา
แสงสว่าง ก็คงเป็นแสงสว่างของประทีปบ้าง เป็นแสงสว่างของแล้วมณี
บ้าง ต่อมาท่านกำชับท่านวนวาสีติสสเถระไว้ว่า ท่านจงปกปิดไว้ รู้ว่า
ท่านรับคำแล้วจึงบอก. และเหมือนกับท่านมหานาคเถระ ชาวกาลวัลลิ-
1. ปาฐะว่า คตปจฺจาคตวตฺตํ ฉบับพม่าเป็น คตปจฺจาคติกวตฺตํ แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า กตฺวา พม่าเป็น อุชฺชาเลตฺวา แปลตามฉบับพม่า.