เมนู

ที่สามเณรนั้นได้แล้วบรรลุแล้ว. อสุภารมณ์เดียว ได้เกิดประโยชน์แก่คน
2 คน ดังที่พรรณนามานี้.
ก็อสุภารมณ์นี้ แม้จะมีประโยชน์ดังที่พรรณนามานี้ (แต่) อสุภา-
รมณ์
คือหญิง ก็เป็นอสัปปายะของชาย และอสุภารมณ์คือชาย ก็เป็น
อสัปปายะของหญิง. อสุภารมณ์ที่เป็นสภาคกันเท่านั้น จึงจะเป็นสัปปายะ
เพราฉะนั้น การกำหนดสัปปายะอย่างนั้น ชื่อว่า สัปปายะสัมปชัญญะ.

3. โคจรสัมปชัญญะ


แต่การเรียนเอา โคจระ กล่าวคือกรรมฐาน ซึ่งเป็นที่ชอบใจ
ของตน ในจำนวนกรรมฐาน 38 ประการ แล้วรับเอากรรมฐานนั้น
เดินไปในที่โคจรเพื่อภิกขาจาร ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ สำหรับผู้มี
สัปปายะที่มีประโยชน์ที่กำหนดแล้วอย่างนี้.
เพื่อความแจ่มชัดแห่งโคจรสัมปชัญญะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบ
สัมปชัญญะ 4 หมวด ดังต่อไปนี้ คือ ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ นำไป
ไม่นำกลับ ลางรูปไม่นำไป ไม่นำกลับ ลางรูปทั้งนำไปไม่นำกลับ.

ภิกษุนำไปนำกลับ


บรรดาภิกษุทั้ง 4 รูปนั้น ภิกษุรูปใด ชำระจิตให้ผ่องใสจาก
นิวรณธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดทั้งวัน ตลอดปฐมยามแห่ง
ราตรีก็เช่นนั้น ในมัชฌิมยามจำวัด แม้ในปัจฉิมยามก็ให้เวลาผ่านไปด้วย
การนั่ง การจงกรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ ลาน
โพธิ์พฤกษ์ จะรดน้ำต้นโพธิ์ จะตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ สมาทาน ปฏิบัติวัตร

ในคัมภีร์ขันธกะ1ทุกอย่าง มีอาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรเป็นต้น เธอ
ทำธุระเกี่ยวกับร่างกายแล้ว เข้าไปยังที่นั่งที่นอน และนั่งขัดสมาธิ 2-3
ท่า พอให้อบอุ่นแล้วปฏิบัติธรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือเอา
บาตรและจีวรออกไปจากเสนาสนะ มนสิการกรรมฐานอยู่ ด้วยหัวข้อ
กรรมฐานนั่นเอง เดินไปสู่ลานเจดีย์แล้ว ถ้ามีกรรมฐานมีพุทธานุสสติ
เป็นอารมณ์ไซร้ ก็อย่าทิ้งกรรมฐานนั้นเสีย เข้าไปยังลานพระเจดีย์. ถ้า
มีกรรมฐานอย่างอื่นไซร้ ควรพักกรรมฐานนั้นไว้ เหมือนกับเอามือจับ
สิ่งของวางไว้ที่เชิงบันได แล้วกำหนดเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ขึ้น
ไปยังลานพระเจดีย์ (ถ้า) เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ควรทำประทักษิณ 3 ครั้ง
แล้วไหว้ทั้ง 4 ด้าน (ถ้า) เป็นเจดีย์องค์เล็ก ควรทำปทักษิณาอย่างนั้น
เหมือนกัน แล้วไหว้ทั้ง 8 ด้าน. ครั้นไหว้พระเจดีย์เสร็จ ไปถึงลาน
โพธิ์แล้ว ควรวันทาต้นโพธิ์แสดงความยำเกรง เหมือนอยู่ต่อพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า. เธอไหว้พระเจดีย์และต้นโพธิ์อย่างนี้แล้ว ไปยังที่
ที่ตนพักกรรมฐานไว้ รับเอากรรมฐานที่พักไว้ (เก็บไว้ชั่วคราว) เหมือน
กับเอามือจับเอาสิ่งของที่ตนเก็บไว้ฉะนั้น แล้วห่มจีวรในที่ใกล้บ้าน โดย
มีกรรมฐานเป็นสำคัญนั้นเลง เข้าบ้านไปเพื่อบิณฑบาต.
ครั้นคนทั้งหลายเห็นท่านแล้ว บอกกันว่า พระคุณเจ้าของเรามา
แล้ว พากันต้อนรับท่าน รับเอาบาตรแล้วให้นั่งบนศาลาโรงฉัน หรือ
บนเรือน ถวายข้าวยาคู ล้างเท้าทาด้วยน้ำมันให้จนกว่าจะเสร็จภัตตกิจ
พากันนั่งข้างหน้า บ้างก็ถามปัญหา บ้างก็ต้องการจะฟังธรรม แต่ถ้า
เขาจะให้กล่าว (ธรรมกถา) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า
1. ปาฐะ เป็น ขนฺธกวตฺตาทีนิ แต่ฉบับพม่าเป็น ขนฺธกวตฺตานิ จึงแปลตามฉบับพม่า.

ธรรมกถา ควรแสดงทีเดียว เพื่อสงเคราะห์ประชาชน. เพราะขึ้นชื่อว่า
ธรรมกถา จะเหนือไปจากกรรมฐานไม่มี เพราะฉะนั้น ครั้นท่านแสดง
ธรรมโดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญนั่นเอง ฉันอาหารโดยมีกรรมฐานเป็น
สำคัญนั่นเอง ทำอนุโมทนาแล้ว เมื่อเขาให้กลับ ก็ให้ตามคนเขาไป
แล้ว กลับ ณ ที่นั้นนั่นเอง แล้วจึงเดินทางต่อไป. ครั้นสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มผู้ออกไปก่อน ฉันเสร็จแล้ว เห็นท่านจึงพากันไปต้อนรับ รับ
บาตรและจีวรของท่าน.
ได้ทราบว่าภิกษุรุ่นเก่าดูหน้าเห็นว่า ไม่ใช่อุปัชฌาจารย์ของคนแล้ว
ทำ (อาคันตุกะ) วัตรอยู่ แต่ทำตามกำหนดที่มาเผชิญเข้าเท่านั้น. ภิกษุ
เหล่านั้นจะถามท่านว่า คนเหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน1 เกี่ยวข้องกันทาง
โยมผู้หญิงหรือทางฝ่ายโยมผู้ชาย ?
ท่านจะตอบว่า พวกคุณเห็นอะไรจึงถาม ?
สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นเรียนว่า คนเหล่านี้มีความรักความ
นับถือมาก2 ในเพราะใต้เท้า.
คุณครับ สิ่งใด ที่แม้แต่โยมผู้หญิง โยมผู้ชาย (ของผม ) ก็ทำ
ได้ยาก คนเหล่านั้นทำสิ่งนั้นให้ผม แม้บาตรและจีวรของผม ก็เป็นของ
คนเหล่านั้นเหมือนกัน (ถวาย) ด้วยอานุภาพของคนเหล่านั้น เมื่อมีภัย
ผมก็ไม่รู้จักภัยเลย เมื่อมีความหิว ผมก็ไม่รู้จักหิว ขึ้นชื่อว่า เหล่าชน
ผู้มีอุปการะแก่ผมเช่นนี้จะไม่มี เธอพูดถึงคุณของคนเหล่านั้นอยู่อย่างนี้
เดินไป ภิกษุนี้ท่านเรียกว่า ชื่อว่านำไป ไม่นำกลับ.
1. ฉบับพม่ามี ตุมฺหากํ แปลตามฉบับพม่า.
2. ในระหว่างนี้ ฉบับพม่ามีศัพท์ว่า เปมํ จึงแปลตามฉบับพม่า.

ภิกษุไม่นำไปไม่นำกลับ


แต่ว่า จะป่วยกล่าวไปไย เมื่อภิกษุใด ทำวัตรปฏิบัติมีประการดัง
ที่กล่าวมาแล้ว เดชที่เกิดแต่กรรม จะสำแดงออก จะปล่อยวางอนุปา-
ทินนกสังขาร
ยึดอุปาทินนกสังขาร เหงื่อจะไหลออกจากร่างกาย จะ
ไม่ขึ้นสู่วิถีทางของกรรมฐาน. จะป่วยกล่าวไปไย ถึงภิกษุนั้นจะถือเอา
บาตรและจีวร จะรีบไปไหว้พระเจดีย์ เข้าบ้าน เพื่อข้าวยาคูและภิกษา
ในเวลาที่โคทั้งหลายออกไป (หากิน) นั่นเอง ได้ข้าวยาคูแล้ว ไปยัง
อาสนศาลา (หอฉัน) แล้วดื่ม. ภายหลังด้วยเหตุเพียงการดื่มข้าวยาคู.
2-3 อึกของท่านเท่านั้น เดช (ความร้อน) ที่เกิดแต่กรรมจะปล่อยวาง
อุปาทินนกสังขาร ยึดอนุปาทินนกสังขาร. เธอจะดับความกระวนกระ-
วายที่เกิดแต่เตโชธาตุ เหมือนอาบน้ำร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูโดยมีกรรม-
ฐานเป็นสำคัญ ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว มนสิการกรรมฐานในระหว่าง
ภัต เที่ยวไปบิณฑบาตในที่ที่เหลือ ฉันอาหารโดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญ
ตั้งแต่นั้นไปจะรับเอากรรมฐานที่ปรากฏขึ้นติดต่อกันไป แล้วเดินไป ภิกษุ
นี้เรียกว่าไม่นำไป แต่นำกลับ. ก็ขึ้นชื่อว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ดื่มข้าวยาคู
ปรารภวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา เช่นนี้นับ
จำนวนไม่ถ้วน. ในเกาะสีหลนั่นเอง บนอาสนศาลา อาสนะสำหรับนั่ง
ดื่มข้าวยาคูก็ไม่มี ภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูแล้ว บรรลุอรหัต ก็ไม่มี. แต่ภิกษุใด
เป็นผู้อยู่อย่างประมาทเป็นปกติ ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรทุกอย่าง มีจิต
ผูกพันอยู่กับเจโตขีลธรรม 5 ประการ ไม่ทำสัญญาไว้บ้างว่า ขึ้นชื่อว่า
กรรมฐานมีอยู่ เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาตเที่ยวคลุกคลีด้วยการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ที่ไม่เหมาะสม และฉันแล้ว (มีบาตร) เปล่าออกไป ภิกษุนี้เรียก