เมนู

อริยสัจในอิริยาบถ


แต่ในอิริยาปถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถทั้ง 4 เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเก่าที่เป็นสมุฏฐานของสติ เป็นสมุทัยสัจ การไม่เป็นไปแห่งสติ
กับตัณหาทั้ง 2 อย่างนั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ที่
ละสมุทัย ที่มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
พระโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว จะ
บรรลุความดับ (นิพพาน). ถ้อยคำดังที่พรรณนามานี้ เป็นช่องทาง
การนำออก (จากทุกข์) จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ 4
รูปหนึ่ง ดังนี้แล.
จบ อิริยาปถบรรพ

พิจารณาดูกายโดยสัมปชัญญะ 4


[135] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณา
เห็นกายในกายโดยอิริยาบถอย่างนี้แล้ว. บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดย
สัมปชัญญะ 4 จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้.
ก่อนอื่น บรรดาคำเหล่านั้น ในคำว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้
การเดินไปพระองค์ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ การเดินกลับตรัสเรียกว่า
ปฏิกกันตะ. แม้ทั้ง 2 อย่างนั้น ได้ในอิริยาบถทั้ง 4.
(จะว่า) ในการเดินก่อน เมื่อโยกกายไปข้างหน้า ก็ชื่อว่าก้าวไป.
เมื่อเอนกลับก็ชื่อว่าถอยกลับ. แม้ในการยืน ผู้ยืนนั้นแหละ เมื่อโยกกาย

ไปข้างหน้า ก็ชื่อว่าก้าวไป เมื่อเอนตัวมาข้างหลัง ก็ชื่อว่าถอยกลับ.
ในการนั่ง ผู้นั่งนั่งเอง เมื่อโน้มตัวด้านหน้าไป เฉพาะหน้าอาสนะ
ชื่อว่าก้าวไป เมื่อโยกร่างกายด้านหลังไปทางหลัง ชื่อว่าถอยกลับ. แม้
ในการนอนก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบกิจทุกอย่าง
ด้วยสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เป็นปกติ หรือเป็นผู้ทำความรู้สึกตัว
นั่นแหละเป็นปกติ เพราะว่า เธอทำความรู้สึกตัวอยู่ทีเดียว ในการก้าว.
ไปข้างหน้าเป็นต้น ไม่ว่าในอิริยาบถไหน ๆ ก็ไม่เว้นสัมปชัญญะ.

สัมปชัญญะ 4


สัมปชัญญะ ในคำว่า สมฺปชานการี นั้นมี 4 อย่างคือ สาตถก-
สัมปชัญญะ 1 สัปปายสัมปชัญญะ 1 โคจรสัมปชัญญะ 1 อสัม-
โมหสัมปชัญญะ 1.

1. สาตถกสัมปชัญญะ


บรรดาสัมปชัญญะทั้ง 4 อย่างนั้น การไม่ไปตามอำนาจความคิด
ที่เกิดขึ้นทีเดียว ในเมื่อคิดจะก้าวไป กำหนดผลได้ผลเสีย (ก่อน) ว่า
การไปที่นี้ จะมีประโยชน์แก่เรา หรือไม่มี แล้วถือเอาแต่ประโยชน์
ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ.
ก็บรรดาอัตถะและอนัตถะ (ผลได้ผลเสีย) ทั้ง 2 อย่างนั้น ความ
เจริญทางธรรมด้วยได้เห็นพระเจดีย์ ได้เห็นต้นโพธิ์ ได้เห็นพระสงฆ์
ได้เห็นพระเถระ และได้เห็นอสุภารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่า อัตถะ. เพราะว่า
แม้ได้เห็นพระเจดีย์แล้ว ยังปีติให้เกิด มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ขึ้นได้